หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระสุรชาติ ฉนฺทสีโล (ปั๋นเกี๋ยง)
 
เข้าชม : ๑๖๗๖๕ ครั้ง
ศึกษาหลักธรรมและแนวทางการเจริญปธานิยังคธรรม ในสังขารูปปัตติสูตร
ชื่อผู้วิจัย : พระสุรชาติ ฉนฺทสีโล (ปั๋นเกี๋ยง) ข้อมูลวันที่ : ๒๐/๐๔/๒๐๑๗
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(วิปัสนาภาวนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระศรีสุทธิเวที
  จรูญ วรรณกสิณานนท์
  -
วันสำเร็จการศึกษา : 2558
 
บทคัดย่อ

                                                         บทคัดย่อ

    วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ เพื่อศึกษาเนื้อหาหลักธรรมใน
สังขารูปปัตติสูตร เพื่อศึกษาแนวทางการเจริญสมถะและวิปัสสนาในสังขารูปปัตติสูตร และเพื่อศึกษาแนวทางการเจริญปธานิยังคธรรม ๕ ประการในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา โดยการศึกษาข้อมูลจากคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท คือพระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา และคัมภีร์ที่เกี่ยวข้อง เช่น คัมภีร์วิสุทธิมรรค เป็นต้น  
    จากการศึกษาพบว่า สังขารูปปัตติสูตร ซึ่งเป็นพระสูตรที่พระสังคีติกาจารย์ ประมวลไว้ในคัมภีร์มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ อนุปทวรรค ต่อจาก มหาจัตตารีสกสูตร อานาปานัสสติสูตร และกายคตาสติสูตร โดยมีหลักธรรมที่เป็นสาระสำคัญที่ทรงแสดงไว้ใน สังขารูปปัตติสูตร คือ
ทรงแสดงการเกิดขึ้นแห่งสังขาร คือการตั้งจิตอธิษฐานให้ไปเกิดในภพต่าง ๆ ตามที่เขาอธิษฐาน
    การเจริญวิปัสสนาภาวนาในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท มีแนวทางการเจริญ
๒ แบบ คือ ๑. แบบสมถะภาวนา คือการฝึกอบรมจิตให้เกิดความสงบ ผลที่ได้จากสมถะ คือ
ฌานสมาบัติ และอภิญญา เพื่อใช้เป็นบาทฐานวิปัสสนา ๒. แบบวิปัสสนาภาวนา คือการเจริญวิปัสสนาโดยอาศัยอารมณ์วิปัสสนาล้วน มีอารมณ์ ๖ เรียกว่า วิปัสสนาภูมิ คือ ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ อินทรีย์ ๒๒ อริยสัจ ๔ และปฏิจจสมุปบาท ๑๒ โดยสรุปได้แก่ รูป–นาม ซึ่งเป็นแดนเกิดของปัญญา ด้วยกระบวนการปฏิบัติตามหลักสติปัฏฐาน ๔ คือ สติเข้าไปตั้งมั่นในกาย เวทนา จิต และธรรม
    จากการศึกษาแนวทางการเจริญปธานิยังคธรรม ๕ ประการในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา พบว่า ปธานิยังคธรรม ๕ มีปรากฏไว้อย่างชัดเจน คือ องค์แห่งความเพียร ๕ ประการ คือ
๑. ความศรัทธาในพระพุทธเจ้า ๒. เป็นผู้มีโรคน้อย ๓. เป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา ๔. ทำความเพียรในกุศลธรรมและละอกุศลธรรม ๕. เป็นผู้มีปัญญา รู้ความเกิดและดับของรูป–นาม

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕