หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระอภิชาติ ธมฺมเตโช (สมบูรณ์)
 
เข้าชม : ๑๖๗๕๖ ครั้ง
ศึกษาการพิจารณาอารมณ์ที่เป็นวิปัสสนูปกิเลสในการเจริญวิปัสสนาภาวนา
ชื่อผู้วิจัย : พระอภิชาติ ธมฺมเตโช (สมบูรณ์) ข้อมูลวันที่ : ๒๖/๐๔/๒๐๑๗
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(วิปัสนาภาวนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระศรีสุทธิเวที
  จรูญ วรรณกสิณานนท์
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๘
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

             วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ เพื่อศึกษาอารมณ์วิปัสสนาในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท เพื่อศึกษาวิปัสสนูปกิเลส เพื่อศึกษาการพิจารณาอารมณ์ที่เป็นวิปัสสนูปกิเลสในการเจริญวิปัสสนา โดยศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา คัมภีร์ปกรณวิเสสวิสุทธิมรรคเอกสารทางวิชาการ และตำราอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง แล้วนำมาเรียบเรียง บรรยายเชิงพรรณนา จากการศึกษาพบว่า

             อารมณ์วิปัสสนากรรมฐาน หมายถึง สิ่งมากระทบในการเจริญวิปัสสนากรรมฐานซึ่งได้แก่ รูปกับนาม รูป คือ สิ่งที่รู้อะไรไม่ได้ หรือสิ่งที่ถูกรู้ เช่น คนที่ตายแล้ว โต๊ะ เก้าอี้ ภูเขา เป็นต้น นาม คือ สิ่งที่รู้อารมณ์มีความสามารถรู้สิ่งต่างๆ นามเป็นธรรมชาติที่น้อมไปสู่อารมณ์ นามจึงเป็นผู้รู้ในการศึกษาอารมณ์ที่เป็นวิปัสสนากรรมฐาน คือ ขันธ์ ๕ อายตน ๑๒ ธาตุ ๑๘ อินทรีย์ ๒๒ อริยสัจ ๔ และปฏิจจสมุปบาท ๑๒  วิปัสสนูปกิเลส คือ สภาวะที่ทำให้วิปัสสนามัวหมอง หรือสภาพน่าชื่นชม ซึ่งเกิดแก่ผู้เจริญวิปัสสนาทำให้วิปัสสนาญาณหยุดชงักมีดังนี้ เช่น โอภาส ปีติ ญาณ ปัสสัทธิ อธิโมกข์ สุข ปักคาหะ
อุปัฏฐาน อุเบกขา นิกันติ

          การปฏิบัติเพื่อให้เกิดปัญญารู้แจ้งรูปนามตามความเป็นจริง ในความเป็นอนิจจังทุกขัง อนัตตา ปรากฏในรูปของอริยสัจ ๔ ซึ่งพระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ในสติปัฏฐานสูตร จำแนกเป็น
กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน และธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน เป็นหลักปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์

 ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕