หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาขวัญชัย วชิรญาโณ (โคตรชุม)
 
เข้าชม : ๑๖๗๗๕ ครั้ง
ศึกษาวิเคราะห์อวัจนภาษาเพื่อการสื่อสารและการเผยแผ่พุทธธรรม ศึกษาเฉพาะกรณี : คัมภีร์ทีฆนิกาย สุตตันตปิฎก(๒๕๔๙)
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาขวัญชัย วชิรญาโณ (โคตรชุม) ข้อมูลวันที่ : ๒๓/๐๘/๒๐๑๐
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(ธรรมนิเทศ)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาต่วน สิริธมฺโม
  รศ.บำรุง สุขพรรณ์
  รศ.กิติมา สุรสนธิ
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๔/๐๓/๒๕๔๙
 
บทคัดย่อ

     ผู้ศึกษาได้ทำการศึกษาวิจัยเรื่อง ศึกษาวิเคราะห์อวัจนภาษาเพื่อการสื่อสารและการเผยแผ่พุทธธรรม ศึกษาเฉพาะคัมภีร์ทีฆนิกาย สุตตันตปิฎก จากการศึกษา พบว่า อวัจนภาษา คือ ภาษาที่ไม่ใช่คำพูด เช่น การแสดงท่าทางต่าง ๆ เป็นต้น ซึ่งมนุษย์ใช้เพื่อการสื่อสารควบคู่กับภาษาพูดมาแต่โบราณ ในปัจจุบัน นักวิชาการได้แบ่งอวัจนภาษาที่มีความเกี่ยวพันธ์กับมนุษย์ เป็น ๗ ประเภทคือ

๑. เทศภาษา คือ การใช้พื้นที่และระยะห่างเพื่อการสื่อสาร
๒. กาลภาษา คือ การใช้เวลาเพื่อการสื่อสาร
๓. ภาษาท่าทาง คือ การแสดงกิริยาท่าทางต่าง ๆ เพื่อการสื่อสาร
๔. กายภาพภาษา คือ การใช้รูปร่างหน้าตาเพื่อการสื่อสาร
๕. สัมผัสภาษา คือ การใช้การสัมผัสทางกายเพื่อการสื่อสาร
๖. ปริภาษา คือ ลักษณะของเสียงที่ใช้ในการสื่อสาร
๗. วัตถุภาษา คือ การใช้วัตถุสิ่งของเพื่อการสื่อสาร

     อวัจนภาษาที่แสดงออกบางอย่างมีความคล้ายคลึงกัน บางอย่างมีความแตกต่างกัน ทั้งลักษณะของอวัจนภาษาและความหมาย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความแตกต่างกันของแต่ละสังคมวัฒนธรรมอวัจนภาษา สามารถบอกให้ทราบถึงลักษณะต่าง ๆ ของผู้แสดง เช่น สถานภาพ บุคลิกลักษณะภายนอก รวมถึงอารมณ์ความรู้สึกภายใน แม้กศึกษาศาสตร์ต่าง ๆ ในปัจจุบัน เช่น ประวัติศาสตร์ภูมิศาสตร์ มานุษยวิทยา สังคมศาสตร์ สรีรวิทยา พยาธิวิทยา แพทยศาสตร์ จิตวิทยา เราสามารถสืบค้นและศึกษาได้จากอวัจนภาษาของบุคคลในการสื่อสารเพื่อเผยแผ่ธรรมะของพระพุทธเจ้า ลักษณะของอวัจนภาษามีปรากฏแตกต่างกันไปตามแต่ความเหมาะสมกับผู้ฟัง อวัจนภาษาที่มีปรากฏมากคือ ภาษาท่าทาง อวัจนภาษาต่าง ๆ ที่ทรงแสดงทรงใช้เพื่อแทนคำพูดบ้าง เสริมคำพูดบ้าง เพื่อโน้มน้าวใจผู้ฟัง ให้เกิดความเลื่อมใสศรัทธา น้อมใจไปตามกระแสธรรมะที่พระองค์ทรงแสดง มีความสำคัญต่อการเผยแผ่ธรรมะในแง่เป็นกุศโลบายเพื่อเข้าหาผู้ฟัง ชักนำผู้ฟังเข้าสู่ความสนใจในเนื้อหาของธรรมะจะเห็นได้ว่า อวัจนภาษามีความสำคัญในการสื่อสารของมนุษย์มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ดังนั้น จึงควรมีการศึกษาและทำความเข้าใจให้ถ่องแท้ เพื่อประโยชน์แก่การสื่อสารและดำเนินชีวิตในสังคมได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ต่อไป

 

Download : 254919.pdf

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕