หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » นายสมเพลิน ชนะพจน์
 
เข้าชม : ๑๖๗๖๘ ครั้ง
การศึกษาเรื่องช้างในวรรณคดีพระพุทธศาสนา(๒๕๔๙)
ชื่อผู้วิจัย : นายสมเพลิน ชนะพจน์ ข้อมูลวันที่ : ๒๓/๐๘/๒๐๑๐
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาสมจินต์ สมฺมาปญฺโญ
  พระมหาสุทัศน์ ติสฺสรวาที
  นายไกรวุฒิ มโนรัตน์
วันสำเร็จการศึกษา : ๕ เมษายน ๒๕๔๙
 
บทคัดย่อ

     วิทยานิพนธ์นี้ มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาเรื่องช้างในวรรณคดีพระพุทธศาสนาโดยแยกออกเป็น ๓ ส่วน คือ (๑) ความหมายของช้าง ประเภท ลักษณะและประวัติของช้าง (๒) ความเกี่ยวข้องของช้างกับพระพุทธศาสนา และ (๓) อิทธิพลของช้างในวรรณคดีพระพุทธศาสนาที่มีต่อสังคมไทยจากการศึกษาเรื่องช้างในวรรณคดีพระพุทธศาสนา ทำให้ผู้วิจัยได้ข้อค้นพบที่ถือว่าเป็นสาระสำคัญของงานวิจัยเรื่องนี้ ดังต่อไปนี้

๑. ในวรรณคดีพระพุทธศาสนา ช้างเป็นสัตว์สี่เท้า (จตุบาท) เกิดในครรภ์อาศัยอยู่ในติรัจฉานภูมิ แบ่งตามตระกูลช้างมี ๑๐ ประเภท แต่ละประเภทมีลักษณะทางกายภาพเฉพาะตัว ทางสัตววิทยา ช้างเป็นสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนม มีงา มีงวงมีสี่เท้า กินพืชเป็นอาหาร รูปร่างใหญ่โตกว่าสัตว์บกชนิดอื่นๆ ปัจจุบันช้างมี ๒ชนิด ได้แก่ ช้างอินเดียและช้างแอฟริกา ช้างไทยอยู่ในวงศ์เดียวกันกับช้างอินเดียหรือช้างเอเชีย

๒. ช้างมีความสัมพันธ์กับหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาดังต่อไปนี้ คือทาน ความไม่ประมาท ความอดทน มงคล ๑๐๘ ประการในรอยพระพุทธบาทพุทธชัยมงคลคาถา และบทบัญญัติแห่งวินัยสงฆ์ในด้านบุคคลนั้น ช้างมีส่วนสัมพันธ์ต่อพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าพระโพธิสัตว์ พระพุทธสาวก พระภิกษุ และเป็นหนึ่งในแก้ว ๗ ประการ
อันเป็นเครื่องหมายของพระเจ้าจักรพรรดิ

๓. ช้างในวรรณคดีพระพุทธศาสนามีอิทธิพลต่อสังคมไทยในด้านวัฒนธรรมประเพณี ศิลปกรรมไทย การศึกษา และเศรษฐกิจ มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันในสังคมไทยร่วมสมัยนั้น ช้างเผือกเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติไทย และมีวันช้างไทยซึ่งตรงกับวันที่ ๑๓ เดือนมีนาคมของทุกปี
Download : 254920.pdf

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕