หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระสมุห์สุทธิพงษ์ สิริวฑฺฒโน (อาวุธพันธ์)
 
เข้าชม : ๒๐๐๑๐ ครั้ง
ศึกษาแนวคิดเรื่องความตายในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท
ชื่อผู้วิจัย : พระสมุห์สุทธิพงษ์ สิริวฑฺฒโน (อาวุธพันธ์) ข้อมูลวันที่ : ๒๘/๐๔/๒๐๑๗
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาสุรชัย วราสโภ
  ณัทธีร์ ศรีดี
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๘
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

             วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ เพื่อศึกษาแนวคิดเรื่องความตาย ในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท เพื่อศึกษาหลักธรรมที่เกี่ยวข้องกับความตายในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท
และเพื่อศึกษาแนวทางการปฏิบัติต่อความตายในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท โดยการศึกษาข้อมูล
จากคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท ได้แก่ พระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา และคัมภีร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
เรียบเรียง บรรยาย ตรวจสอบ โดยอาจารย์ที่ปรึกษา และผู้เชี่ยวชาญ จากการศึกษาพบว่า

             จากการศึกษาแนวคิดเรื่องความตายในคัมภีร์พุทธศาสนา พบว่า คือการทอดทิ้งร่างกายไว้ ร่างกายแตกสลายไป ไม่มีการเคลื่อนไหว โดยอวัยวะทุกส่วนหยุดการทำงานหรือการขาดสิ้นชีวิตในภพหนึ่ง ๆ ไปสู่อีกภพหนึ่ง ๆ ซึ่งความตายแบ่งเป็น ๒ ประเภท ได้แก่ ๑) กาลมรณะ คือความตายตามกาล ๒) อกาลมรณะ คือความตายโดยกาลอันไม่สมควร ซึ่งความตาย เหล่านี้แบ่งเป็นความตายสมมติ ความตายชั่วขณะ และความตายเด็ดขาด โดยมีเหตุ คือตายเพราะสิ้นอายุตายเพราะสิ้นกรรม ตายเพราะสิ้นอายุและสิ้นกรรม ตายเพราะประสบอุบัติเหตุ ตายเพราะความเกิดเป็นปัจจัย ตายเพราะการกระทำ ตายโดยสภาพคือตายเอง ตายเพราะสิ้นอายุ และตายเพราะสิ้นบุญ  

             หลักธรรมที่เกี่ยวกับความตายในการศึกษาครั้งนี้ ได้ศึกษามรณัสสติ ซึ่งเป็นวิธีที่นำความตายมาพิจารณาให้เกิดประโยชน์ มรณัสสติ คือการระลึกถึงความตาย เป็นอุบายวิธีปฏิบัติที่นำความตายมาเป็นอารมณ์พิจารณาเนือง ๆ อุบายวิธีดังกล่าวนั้น ต้องมีหลักการปฏิบัติที่ถูกต้องดังที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนให้ภิกษุพิจารณาความตายดังนี้ว่า พึงเป็นอยู่ได้เพียงชั่วขณะ เคี้ยวกิน
คำข้าว ๑ คำ หรือพึงเป็นอยู่ได้เพียงชั่วขณะหายใจเข้า หายใจออกหรือหายใจออกหายใจเข้า
ภิกษุผู้พิจารณาเช่นนี้ชื่อว่า ผู้ไม่ประมาท หากเจริญมรณัสสติอย่างแรงกล้าก็จะทำให้สิ้นอาสวะได้

จากการศึกษาแนวทางการปฏิบัติต่อความตายในคัมภีร์นั้น พบว่า พระพุทธศาสนามีวิธีสอนให้บุคคลสลายความกลัวตายออกจากใจหลายวิธีด้วยกัน วิธีหนึ่งที่ได้ผลและสามารถนำมาใช้ปฏิบัติได้จริงในชีวิตประจำวัน ก็คือการระลึกถึงความตายที่ตนเองและบุคคลอื่นจะประสบอย่างแน่นอน การระลึกถึงความตายนี้ เรียกว่าการเจริญมรณัสสติ ถือว่าเป็นกัมมัฏฐานที่มีความสำคัญอย่างหนึ่งในพระพุทธศาสนา ที่พระพุทธองค์ได้ตรัสสอนแก่พุทธบริษัททั้งหลายในโอกาสต่าง ๆ ฉะนั้นเราต้องคำนึงถึงความตายอยู่เนืองนิตย์ ด้วยการพิจารณาเห็นชีวิตเหมือนกับน้ำค้างบนยอดหญ้าที่พอต้องแสงอาทิตย์แล้วก็พลันเหือดแห้งหายไป ให้พิจารณาเห็นชีวิตเหมือนกับโคที่ถูกนำไปสู่โรงฆ่าสัตว์ ยิ่งเดินเร็วเท่าใดก็ยิ่งใกล้ต่อความตายเท่านั้น เมื่อพิจารณาได้เช่นนี้ ก็ทำให้เป็นผู้ไม่ประมาทในชีวิต แล้วรีบขวนขวายทำคุณงามความดี ทำบุญกุศล เพื่อจะได้ไปเกิดในภพภูมิที่ดี เพราะมีหลักอยู่ว่า คนทำกรรมดีย่อมไปสู่สุคติภูมิ คนทำกรรมชั่วย่อมไปสู่ทุคติภูมิซึ่งในเรื่องหลักกรรมกับเรื่องพบภูมิมีความสัมพันธ์สอดคล้องกับคนเราอย่างแยกไม่ออก คนทำกรรมอันใดไว้ จะเป็นผู้รับผลของกรรมอันนั้น จะดีหรือชั่วก็ตาม กรรมดีย่อมส่งผลให้ได้รับความสุขกรรมชั่วย่อมส่งผลให้ได้รับความทุกข์ ไม่มีใครหลีกหนีกรรมได้ ควรยึดสิ่งที่ดี มีทาน ศีล ภาวนาเป็นอารมณ์ คนที่รักษาจิตให้ผ่องใสไว้ได้แล้ว ตายไปจะเกิดในสุคติ หากรักษาจิตไว้ไม่ได้ ก็ทำให้จิตใจเศร้าหมอง นึกถึงกรรมเล็กน้อยถึงทำความดีไว้มากกช่วยไม่ได้ ต้องไปเกิดในทุคติภูมิแน่นอน

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕