หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » Ven. Sakal Keody
 
เข้าชม : ๑๖๕๘๘ ครั้ง
การศึกษาเปรียบเทียบประเพณีการบวชในประเทศไทยกับประเทศกัมพูชา
ชื่อผู้วิจัย : Ven. Sakal Keody ข้อมูลวันที่ : ๐๑/๐๕/๒๐๑๗
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูโฆสิตพุทธิศาสตร์
  แสวง นิลนามะ
  พระครูโฆสิตพุทธิศาสตร์
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๘
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ  (๑) เพื่อศึกษาประเพณีการบวชในประเทศไทย (๒) เพื่อศึกษาประเพณีการบวชในประเทศกัมพูชา (๓) เพื่อเปรียบเทียบประเพณีการบวชในความเหมือนและความต่างระหว่างประเทศทั้งสอง การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงเอกสาร

ผลการวิจัย พบว่า ความเชื่อเกี่ยวกับการบวชทั้งของไทยและกัมพูชาตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน มีความสำคัญโดยมีกษัตริย์เป็นแบบอย่าง ก่อนจะเสด็จครองราชย์ต้องผนวชก่อนเช่นเดียวกัน  ที่แตกต่างกันก็คือประเทศกัมพูชาได้มีพระโอรสบวชเรียนได้นำนิกายเถรวาทสู่ประเทศทำให้มีการเปลี่ยนแปลงนิกายมหายานเป็นเถรวาท การบวชแทนคุณพ่อแม่ถือว่าลูกกตัญญูและการบวชก่อนแต่งของคนโบราณถือว่าเป็นความสำคัญยิ่งเช่นเดียวกันที่ต่างกันตรงที่ว่าถ้าคนยังไม่บวชเขาเรียกกันว่าคนดิบ ถ้าบวชเรียกว่าคนสุก

ในทัศนะของชาวไทยพุทธ ถ้ามีลูกชายเมื่อมีอายุครบ๒๐สมบูรณ์หรือมากกว่านั้นส่วนมากพ่อแม่จะให้ลูกบวชเป็นพระระยะเวลาในการบวชนั้น๗วันบ้าง๑๐วันบ้างครึ่งเดือนหรือเดือนหนึ่งหรือมากว่านั้นก็สามเดือนตามที่ตนลางานมาได้ ตามกำหนดเวลาหรือมากกว่านั้นตามกำลังศรัทธาของตน เพราะว่าการบวชมีอานิสงส์มาก  เป็นการแสวงหาความจริงของชีวิต  แสวงหาแก่นแท้ของชีวิตมาสร้างบุญบารมีให้ตนและแผ่บุญของตนให้ปวงชนและสรรพสัตว์ทั้งหลายทั้งที่เป็นศัตรูและมิตร  ทั้งมีสุขและทุกข์  ให้คนเหล่านั้นได้รับความสุขยิ่งๆ ขึ้นไป บุญบารมีเหล่านี้ จะส่งผลตนได้พบความสุขที่แท้จริง  กล่าวคือความดับแห่งการยึดมั่นถือมั่นว่าเรา ว่าเป็นของเรา ความอยากมีอยากเป็น ไม่อยากมีไม่อยากเป็น เมื่อจิตใจได้ปล่อยวาง นั่นคือพระนิพพาน

ในทัศนะของชาวกัมพูชา  โดยความพื้นฐานแล้วการบวชนิยมนำเด็กชายไปฝากไว้กับวัดเพื่อให้พระอบรมสั่งสอนถึงคราวก็บวชเณรเมื่ออายุครบ ๒๐ หรือไม่มากกว่านั้นก็บวชพระไม่มีการกำหนดระยะเวลาในการบวชแล้วแต่ศรัทธา แต่ถ้าบวชหน้าไฟได้เพียง ๗ วัน ถ้ามากกว่านั้นต้องสึกบวชใหม่ เพราะว่าการบวชในทางพุทธศาสนานั้นต้องมีกุฎหมายรองรับโดยมีการอนุญาตจากกุฎหมายบ้านเมืองเสียก่อนจึงจะบวชได้ การบวชคือการแสวงหาความรู้เพื่อเอาตัวรอดในการอยู่ร่วมกันในสังคมที่ดีมีศีลธรรมและเป็นการสร้างบุญบารมีให้แก่ตัวเองและครอบครัว  โดยมีความเชื่อว่า  เมื่อลูกหลานได้บวชแล้วพ่อแม่จะมีความสุข  และเป็นการช่วยพ่อแม่และญาติพี่น้องไม่ให้ตกนรก       เมื่อบั้นปลายชีวิตจะต้องไปเสวยทรัพย์สมบัติอันเป็นทิพย์ในสวรรค์ชั้นฟ้า ตามกำลังของบุญที่ตนได้สร้างมา  และมีความเชื่อว่าการบวชทำให้ชีวิตได้พบแสงสว่างจากพระรัตนตรัย ทำให้ยกระดับชีวิตให้ดีขึ้นจากความมืดไปสู่ความสว่าง  อย่างไรก็ตามเป้าหมายหลักของการบวชนั้นก็คือแสวงหาที่สุดแห่งทุกข์ความดับเย็นแห่งอมตะกล่าวคือพระนิพพาน

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕