หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระสุคา โชติญาโณ (สาย)
 
เข้าชม : ๒๐๐๑๐ ครั้ง
การจัดการเรื่องโลกธรรม ๘ ของพระเถระในประเทศกัมพูชา
ชื่อผู้วิจัย : พระสุคา โชติญาโณ (สาย) ข้อมูลวันที่ : ๐๒/๐๘/๒๐๑๗
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พีรพงษ์ มาลา
  พระมหาธนรัฐ รฏฺฐเมโธ
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒o มีนาคม ๒๕๕๘
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

             วิทยานิพนธ์เรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาโลกธรรม ๘ ในพระพุทธศาสนาเถรวาท ๒) เพื่อศึกษาหลักปฏิบัติของสาวกต่อโลกธรรม ๘ ในพระพุทธศาสนาเถรวาท  ๓) เพื่อศึกษาวิเคราะห์วิธีการเข้าไปเกี่ยวข้องกับโลกธรรม ๘ ตามทัศนะของพระเถระในประเทศกัมพูชา ผลจากการวิจัยพบว่า

             โลกธรรม ๘ ในพระพุทธศาสนาเถรวาท มีความหมายและลักษณะ คือธรรมที่มีประจำโลกเป็นธรรมดาของโลก ธรรมที่ครอบงำสัตว์โลกและสัตว์โลกก็เป็นไปตามอำนาจ เรื่องของโลกที่มีอยู่ประจำชีวิต สังคมและโลกของมนุษย์ เป็นความจริงที่ทุกคนต้องประสบจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ไม่ว่าจะชอบหรือไม่ชอบก็ตามมี ๘ อย่าง คือมีลาภ ไม่มีลาภ มียศ ไม่มียศ นินทา สรรเสริญ สุข ทุกข์ ซึ่งมีความหมายตรงข้ามกัน คือฝ่ายอิฏฐารมณ์ อารมณ์ที่น่าปรารถนา และฝ่ายอนิฏฐารมณ์อารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนา

          หลักปฏิบัติของสาวกต่อโลกธรรม ๘ ในพระพุทธศาสนาเถรวาท คือ ควรทำความเข้าใจรู้เท่าทัน ไม่เข้าไปยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นตัวเราและใช้สติปัญญาพิจารณาให้รู้ตามความเป็นจริงว่าสิ่งนี้ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ไม่ใช่ตัวเราของเรา เมื่อพระสาวกพิจารณาเช่นนี้แล้ว โลกธรรม ๘ ก็ไม่สามารถครอบงำจิตใจของพระสาวกได้ เพราะสติปัญญาคอยเป็นเกราะป้องกันไม่ให้โลกธรรมย่ำยีได้ จึงพิจารณาให้เห็นตามความเป็นจริงรู้เห็นว่าเป็นสัจธรรมว่า สิ่งเหล่านี้ไม่เที่ยง ไม่คงทน ไม่นานก็แปรผันไป ไม่ว่าจะมาในรูปแบบที่น่ายนิดีและไม่น่ายนิดีอันมีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตสำหรับพระสาวกเป็นอย่างมาก สำหรับหลักในการปฏิบัติต่อโลกธรรม ๘ นั้นพระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้อย่างเด่นชัดว่า เป็นหลักของพระธรรมวินัย ไว้ให้พระสาวกได้ยึดถือประพฤติปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ซึ่งเป็นการปฏิบัติไปสู่ความดับทุกข์โดยสิ้นเชิงกล่าวคือ การปฏิบัติตามหลักธรรม มีธัมมัญญุตา ความรู้จักธรรม รู้หลัก รู้จักเหตุ คือ รู้หลักความเป็นจริงและอัตถัญญุตา ความรู้จักอรรถ รู้ความมุ่งหมายคือ รู้ความหมายรู้ประโยชน์ที่ประสงค์ รู้จักผลที่จะเกิดขึ้นสืบเนื่องจากการกระทำหรือความเป็นไปตามหลักธรรม

             วิธีการเข้าไปเกี่ยวข้องกับโลกธรรม ๘ ตามทัศนะของพระเถระในประเทศกัมพูชา ทั้ง ๕ ท่าน ด้านความหมายของโลกธรรมไม่แตกต่างกัน มีความแตกต่างกันเพียงรูปศัพท์และวิธีการลักษณะ ของโลกธรรมตามทัศนะของสมเด็จพระธัมมลิขิต (ลวี แอม) กล่าวว่า มีลักษณะตามที่ท่านกล่าวไว้ว่า ชีวิตเราทุกคนย่อมประสบกับโลกธรรม  ๘ อย่างนี้ คือธรรมประจำโลก คือได้ลาภ เสื่อมลาภ ได้ยศ เสื่อมยศ สรรเสริญ นินทา สุข ทุกข์ อนิฏฐารมณ์ ๔ ประการ ข้างฝ่ายความไม่น่าปรารถนา ไม่น่าชอบใจ คือ การที่เสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทา ทุกข์ และถูกกำจัดทิ้งโดยอนาคามิมรรค อิฏฐารมณ์ ๔ ประการ ข้างฝ่ายความน่าปรารถนา น่าชอบใจ ๔ ประการ คือ ได้ลาภ ได้ยศ สรรเสริญ สุข ถูกกำจัดทิ้ง โดยอรหัตมรรค คือ ให้ใช้กฎเกณฑ์ในการตัดสินใจใช้สติปัญญาพิจารณาเพื่อกำจัดทิ้งตามระดับเป็นทางปฏิบัติเพื่อบรรลุผล เป็นต้น และด้านหลักปฏิบัติให้ได้ทราบชัดในหลายแง่มุมที่ต่างกันบ้างคล้ายกันบ้างแต่มีเป้าหมายเดียวกัน คือ ความพ้นทุกข์

ดาวน์โหลด

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕