หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระพรสิทธิ์ เตชปญฺโญ (พรมพิมาย)
 
เข้าชม : ๑๖๗๖๓ ครั้ง
ศึกษาความเข้าใจเรื่องการเดินจงกรมในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาของอุบาสกอุบาสิกา วัดหทัยนเรศวร์ อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม
ชื่อผู้วิจัย : พระพรสิทธิ์ เตชปญฺโญ (พรมพิมาย) ข้อมูลวันที่ : ๑๖/๐๘/๒๐๑๗
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(วิปัสนาภาวนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระราชโมลี (มีชัย วีรปญฺโญ)
  ชัยชาญ ศรีหานู
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๘/มีนาคม/๒๕๕๘
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

                 วิทยานิพนธ์นี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความเข้าใจเรื่องการเดินจงกรมในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา และเพื่อศึกษาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ สำหรับการสร้างความเข้าใจเรื่องการเดินจงกรมในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาของอุบาสก อุบาสิกา วัดหทัยนเรศวร์ อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม กลุ่มตัวอย่างมีจำนวนทั้งสิ้น ๘๐ คน เป็นอุบาสิกาจำนวน ๖๐ คน (ร้อยละ ๗๕) และอุบาสกจำนวน ๒๐ คน (ร้อยละ ๒๕) เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .๙๘๑  การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) เพื่อการบรรยายข้อมูล ได้แก่ สถิติการแจกแจงความถี่ (Frequency) และค่าร้อยละ (Percentage) การวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) สำหรับการวิเคราะห์เปรียบเทียบตัวแปรที่ศึกษาใช้สถิติเชิงอนุมาน (Inferential Statistics) ได้แก่ สถิติการแจกแจงแบบทีชนิดที่เป็นอิสระจากกัน (t-test dependent) และการทดสอบความแปรปรวนร่วม (Analysis of Covariance : ANOVA) สำหรับข้อเสนอแนะใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการศึกษาพบว่า

 

             ความเข้าใจต่อการเดินจงกรมในภาพรวมและการกำหนดสติรู้ชัดในขณะกำหนดยืน  ยกส้น ยก ย่าง ลง ถูก กด และการกำหนดกลับ พบว่า อยู่ในระดับมาก และพบว่าการกำหนดยกส้นมีระดับความเข้าใจสูงที่สุด ส่วนการกำหนดกดนั้นพบว่าอยู่ในระดับต่ำที่สุด

             การเปรียบเทียบความเข้าใจเรื่องการเดินจงกรมในภาพรวม พบว่า อุบาสิกามีความเข้าใจในการเดินจงกรมที่สูงกว่าอุบาสก และพบว่าอุบาสกอุบาสิกาที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพและประสบการณ์ในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาต่างกัน มีความเข้าใจเรื่องการเดินจงกรมที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ ส่วนผู้มีอาชีพต่างกันพบว่ามีความเข้าใจเรื่องการเดินจงกรมที่ไม่แตกต่างกัน

             สำหรับอุปสรรคของความเข้าใจเรื่องการเดินจงกรม การกำหนดอาการเดิน และการกำหนดอาการกลับ พบว่าส่วนใหญ่ต้องการทราบวิธีกำหนดสติและขั้นตอนในการปฏิบัติ เพื่อให้สามารถยืนได้สงบนิ่ง และต้องการให้ลดเวลายืนเพื่อบรรเทาเวทนาจากการปวดหลัง ปวดเท้า และปวดข้อเท้า และเกิดการเกร็งตัว และมีข้อเสนอแนะให้มีสื่อประกอบการอธิบายหลักการและวิธีปฏิบัติเรื่องการถ่ายน้ำหนักตัวและเพื่อสร้างความเข้าใจ สามารถนำไปปฏิบัติในการยืน เดิน หันกลับ

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕