หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระธิติ ญาณเมธี (พิทะวงค์)
 
เข้าชม : ๒๐๐๑๑ ครั้ง
บทบาทของผู้นำท้องถิ่นที่มีต่อการส่งเสริมโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ตำบลเหมืองจี้ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน(สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์)
ชื่อผู้วิจัย : พระธิติ ญาณเมธี (พิทะวงค์) ข้อมูลวันที่ : ๒๘/๐๘/๒๐๑๗
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูภาวนาโสภิต
  เสน่ห์ ใจสิทธิ์
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๐ มีนาคม ๒๕๕๙
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

              การศึกษาวิจัยเรื่อง บทบาทของผู้นำท้องถิ่นที่มีต่อการส่งเสริมโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ตำบล เหมืองจี้ อำเภอเมืองลำพูน มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาวิจัย คือ ๑) เพื่อศึกษาบทบาทของผู้นำท้องถิ่นที่มีต่อการส่งเสริมโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ตำบลเหมืองจี้ อำเภอเมือง  จังหวัดลำพูน ) เพื่อศึกษาสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับบทบาทของผู้นำท้องถิ่นที่มีต่อการส่งเสริมโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ๓) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรค์และข้อเสนอแนะของผู้นำท้องถิ่นที่มีต่อการส่งเสริมโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ และ ๔) เพื่อศึกษาแนวทางของผู้นำท้องถิ่นที่มีต่อการส่งเสริมโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ การศึกษาวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Method Research) ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้นำท้องถิ่น ตำบลเหมืองจี้ อำเภอเมืองลำพูน จำนวน ๑๒๐ คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อทำการวิจัยทางสังคมศาสตร์ เพื่อหาค่าความถี่ ( Frequency ) และค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean)  และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และทำการทดสอบค่าความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลโดยการทดสอบค่าไคสแควร์ (Chi – Square Test)   () ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ส่วนข้อคำถามปลายเปิดที่แสดงปัญหาอุปสรรค                 และข้อเสนอแนะ ผู้วิจัยทำการจัดกลุ่มตามประเด็นที่กำหนดใช้ในแบบสอบถามปลายเปิด และการวิเคราะห์โดยใช้การแจกแจงความถี่ (Frequency) และข้อมูลจากการสัมภาษณ์ ผู้วิจัยทำการจัดกลุ่มข้อมูล (Data Grouping) สาระสำคัญของประเด็นการสัมภาษณ์ จากนั้นทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ( Content Analysis Technique)

           ผลการวิจัยพบว่า

           ๑. ระดับบทบาทในการส่งเสริมโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ตำบลเหมืองจี้ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย ๔.๑๘

               ๒. ผลการทดสอบสมมติฐานความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับบทบาทของผู้นำท้องถิ่นที่มีต่อการส่งเสริมโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ตำบลเหมืองจี้ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูนจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า อายุ วุฒิการศึกษา อาชีพ รายได้ มีความสัมพันธ์กับบทบาทการส่งเสริมโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ส่วนเพศ ไม่มีความสัมพันธ์กับบทบาทในการส่งเสริมโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕

               ๓. ปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาเกี่ยวกับบทบาทของผู้นำท้องถิ่นที่มีต่อการส่งเสริมโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ตำบลเหมืองจี้ อำเภอเมืองลำพูน พบว่า  ยังขาดความร่วมมือจากผู้นำและประชาชนในด้านต่างๆ ดังนี้ ด้านการเป็นแบบอย่างที่ดี พบว่า ผู้นำท้องถิ่นยังไม่เข้าถึงแก่นแท้ของโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ และไม่สามารถเป็นผู้นำประชาชนในการรักษาศีล ๕ ได้อย่างที่โครงการกำหนด และด้านการประชาสัมพันธ์ พบว่า ขาดการประชาสัมพันธ์บอกกล่าวอย่างต่อเนื่องและการกระจายข่าวสารสู่ประชาชนยังไม่ทั่วถึง ส่วนด้านการรณรงค์การมีส่วนร่วม พบว่า ขาดความร่วมมือจากผู้นำท้องถิ่นและประชาชนในชุมชน หรือให้ความร่วมมือน้อย และด้านการจัดกิจกรรมส่งเสริมที่ดี พบว่า บางชุมชนในตำบลมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ได้อย่างดี และได้รับความร่วมมือทั้งพระภิกษุและผู้นำท้องถิ่นในการดำเนินงาน

              ๔. แนวทางในการส่งเสริมโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕ ตำบลเหมืองจี้ อำเภอเมืองลำพูน พบว่า ผู้นำท้องถิ่นได้มีการส่งเสริมให้ประชาชนได้ยึดถือประพฤติปฏิบัติตามหลักของศีล ๕ และยึดมั่นในศีลธรรม เป็นสิ่งที่เราควรปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ เพื่อความเป็นสิริมงคลให้กับชีวิตของเราเอง ศีลทั้ง ๕ ข้อ เป็นพื้นฐานขอการปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ เพื่อเป็นการทบทวนและนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

ดาวน์โหลด

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕