หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาหนูวงษ์ สตสหสฺสเนตฺโต (แสนตา)
 
เข้าชม : ๑๖๗๖๗ ครั้ง
ความประมาทในสังคมไทย : ศึกษากรณีเทศบาลเมืองเมืองพล จังหวัดขอนแก่น(๒๕๔๙)
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาหนูวงษ์ สตสหสฺสเนตฺโต (แสนตา) ข้อมูลวันที่ : ๒๒/๐๗/๒๐๑๐
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูศรีปริยัติสุนทร
  พระมหาบาง เขมานนฺโท
  ดร.ประยูร แสงใส
วันสำเร็จการศึกษา : เมษายน / ๒๕๔๙.
 
บทคัดย่อ

                     วิทยานิพนธ์นี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาความประมาทและลักษณะของคนประมาทในสังคมไทย ตาม
หลักพระพุทธศาสนา โดยศึกษากรณีเทศบาลเมืองเมืองพล จังหวัดขอนแก่น วิทยานิพนธ์นี้เป็นการวิจัยเชิง
คุณภาพซึ่งเน้นวิจัยทางเอกสารและรวบรวมข้อมูลในพื้นที่การวิจัย การวิจัยนี้ แบ่งออกเป็น ๕ บท ดังต่อไปนี้


บทที่ ๑ บทนำ ซึ่งเกี่ยวข้องกับความสำคัญของปัญหา วัตถุประสงค์ และขอบเขตของการวิจัย
คำจำกัดความของศัพท์ที่ใช้ในการวิจัย วิธีดำเนินการวิจัยและประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย


บทที่ ๒ ความประมาทตามนัยทางพระพุทธศาสนา บทนี้อธิบายความหมายและประเภทของ
ความประมาท (ปมาท) ตามหลักพระพุทธศาสนา ซึ่งได้จากพระไตรปิฎก อรรถกถา
ฎีกา และหนังสืออ้างอิงอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเป็นต้น.


บทที่ ๓ ความประมาทที่ปรากฏในสังคมไทยปัจจุบัน บทนี้ได้เน้นถึงการศึกษาความประมาทใน
สังคมไทย โดยศึกษากรณีเทศบาลเมืองเมืองพล จังหวัดขอนแก่น


บทที่ ๔ วิธีการแก้ไขความประมาทในสังคมไทยปัจจุบันตามแนวของพระพุทธศาสนา ในบทนี้ได้
อธิบายวิธีการต่างๆ เพื่อละความประมาท ตามหลักพระพุทธศาสนา เช่น การเว้นสิ่ง
ที่เป็นที่ตั้งแห่งความประมาท และการเจริญสติเพื่อละความประมาท.


บทที่ ๕ สรุปผลการศึกษา อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ ในการวิจัยต่อไป

              ผลจากการศึกษาวิจัยข้างต้นนั้นพบว่า สังคมไทยปัจจุบันนั้นเต็มไปด้วยความประมาท ดังที่ปรากฏ
ชัดโดยสภาพของสังคมปัจจุบัน ในสังคมไทยปัจจุบันมีปัญหาทางสังคมจำนวนมากที่เป็นผลมาจากความ
ประมาทและฐานที่ตั้งหรือเหตุแห่งความประมาทที่มีแพร่หลายอยู่ทุกหนทุกแห่ง สิ่งเหล่านี้เป็นเครื่องแสดงออก
ซึ่งความประมาทในสังคมไทยปัจจุบันเพื่อแก้ปัญหาทางในสังคมที่เกิดมาจากความประมาทนั้นพระพุทธศาสนา
ได้เสนอวิธีการที่มีประสิทธิภาพไว้ภายใต้ระบบของ ศีล สมาธิ และปัญญา เมื่อได้มีการเจริญศีล สมาธิ
และปัญญาแล้ว ปัญหาทางสังคมทั้งหมดก็จะหมดไป และผลที่ตามมาสังคมก็จะอยู่ในสภาพแห่งความสงบ
สุขและสันติภาพ.

 

 

Download : 254932.pdf

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕