หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » ชำนาญ ปัญญาเสาร์
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๓ ครั้ง
การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันไฟป่าตามหลักอปริหานิยธรรม ในเขตตำบลทาสบเส้า อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน(รัฐประศาสนศาสตร์)
ชื่อผู้วิจัย : ชำนาญ ปัญญาเสาร์ ข้อมูลวันที่ : ๑๙/๐๙/๒๐๑๗
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  นิกร ยาอินตา
  ไพเราะ สุวภาพ
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๐ มีนาคม ๒๕๕๙
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

 

การวิจัยเรื่อง “การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันไฟป่าตามหลักอปริหานิยธรรมในเขตตำบลทาสบเส้า อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน” มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันไฟป่าตามหลักอปริหานิยธรรมในเขตตำบลทาสบเส้า อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน 2) เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันไฟป่าตามหลัก         อปริหานิยธรรม ในเขตตำบลทาสบเส้า อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล     3) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันไฟป่าตามหลักอปริหานิยธรรม ในเขตตำบลทาสบเส้า อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน และ4) เพื่อศึกษาแนวทาง     การพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันไฟป่าตามหลักอปริหานิยธรรม ในเขตตำบล   ทาสบเส้า อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน ซึ่งเป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิธี (Mixed Methods Research) ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตตำบลทาสบเส้า อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีของ Taro Yamane ที่ระดับความเชื่อมั่น ๙๕% จำนวนตัวอย่างที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล จำนวน ๓๘๕ ตัวอย่าง

ผลการวิจัยพบว่า

๑. ระดับการมีส่วนร่วมในการป้องกันไฟป่าตามหลักอปริหานิยธรรม ค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน และเมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการให้เกียรติ และคุ้มครองสิทธิสตรี มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ด้านการอารักขา คุ้มครอง ปกป้อง อันชอบธรรม ด้านการส่งเสริม   และรักษาวัฒนธรรมประเพณีอันดีงาม ด้านการเชื่อฟังผู้บังคับบัญชา ด้านการพร้อมเพียงกันประชุม ด้านการประชุมเป็นนิตย์ ส่วนค่าเฉลี่ยต่ำสุดได้แก่ ด้านการไม่บัญญัติ หรือไม่ล้มเลิกข้อบัญญัติตามอำเภอใจ พบว่า องค์กรการป้องกันไฟป่า ไม่บัญญัติระเบียบกฎเกณฑ์การป้องกันไฟป่า โดยไม่คำนึงถึงความถูกต้อง ดังนั้น องค์การป้องกันไฟป่าต้องไม่บัญญัติ หรือล้มเลิกข้อบัญญัติตามความพอใจของตนเองหรือพรรคพวกของกลุ่มตน เพราะย่อมนำมาซึ่งความไม่ไว้วางใจต่อกัน จะก่อเกิดความแตกแยก ขาดความสามัคคี ขาดความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน และจะส่งผลกระทบต่อการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการป้องกันไฟป่าในที่สุด

๒. ผลการการเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันไฟป่าตามหลัก        อปริหานิยธรรม ในเขตตำบลทาสบเส้า อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล    อันได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ และประสบการณ์แก้ปัญหาไฟป่าร่วมกับชุมชน พบว่า เมื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันไฟป่าตามหลักอปริหานิยธรรม      โดยภาพรวม จำแนกตาม อาชีพ และรายได้ ไม่มีความแตกต่างกัน แต่เพศ อายุ ระดับการศึกษา   และประสบการณ์แก้ปัญหาไฟป่าร่วมกับชุมชน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๑

๓. ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันไฟป่าตามหลักอปริหานิยธรรม ในเขตตำบลทาสบเส้า อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน พบว่า ในด้านการประชุมเป็นนิตย์ เกี่ยวกับไม่สามารถเข้าร่วมประชุม เพราะติดภารกิจในหน้าที่การงาน ด้านการพร้อมเพียงกันประชุม เกี่ยวกับเข้าประชุมไม่พร้อมเพียงกัน ด้านการไม่บัญญัติ หรือไม่ล้มเลิกข้อบัญญัติตามอำเภอใจ เกี่ยวกับขาดการรวบรวมข้อมูลเพื่อใช้ในการศึกษา ด้านการเชื่อฟังผู้บังคับบัญชา เกี่ยวกับคำสั่งไม่ชัดเจน ด้านการให้เกียรติ และคุ้มครองสิทธิสตรี เกี่ยวกับบทบาทการมีส่วนร่วมในป้องกันไฟป่าของสตรีมีน้อยกว่าบุรุษเพราะติดภารกิจในชีวิตประจำวัน ด้านการส่งเสริม และรักษาวัฒนธรรมประเพณีอันดีงาม เกี่ยวกับขาดงบประมาณสนับสนุนในการทำกิจกรรมต่างๆ ด้านการอารักขา คุ้มครอง ปกป้อง อันชอบธรรม เกี่ยวกับประชาชนขาดความรู้เกี่ยวกับการป้องกันไฟป่า

๔. แนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันไฟป่าตามหลัก        อปริหานิยธรรม ในเขตตำบลทาสบเส้า อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน พบว่า ควรจัดการประชุมอย่างสม่ำเสมอและจัดประชุมในวันหยุด เพื่อให้ประชาชนได้เข้าร่วมประชุมอย่างพร้อมเพียงกัน และครบองค์ประชุม สามารถหาข้อยุติและลงมติด้านการบัญญัติกฎระเบียบต่างๆ ในที่ประชุมได้เป็นเอกฉันท์ หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องควรสนับสนุนงบประมาณเพื่อการดำเนินกิจกรรมการสิ่งเสริมและรักษาวัฒนธรรมประเพณีของท้องถิ่น เพื่อให้เกิดการอารักขา คุ้มครอง ปกป้องทรัพยากรธรรมชาติและสืบสานงานด้านพระพุทธศาสนา

ดาวน์โหลด

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕