หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหานภัส ปทุมปุตฺโต (เมืองมูล)
 
เข้าชม : ๑๖๗๖๕ ครั้ง
การพัฒนาวัดต้นแบบในการจัดการอุทยานการศึกษาของวัดพรหมรังษี เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร(สาขาการจัดการเชิงพุทธ)
ชื่อผู้วิจัย : พระมหานภัส ปทุมปุตฺโต (เมืองมูล) ข้อมูลวันที่ : ๒๒/๑๑/๒๐๑๗
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูใบฎีกาอภิชาติ ธมฺมสุทฺโธ
  พัชราวลัย ศุภภะ
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๐ เมษายน ๒๕๖๐
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

         สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ คือ ๑) เพื่อศึกษาการพัฒนาวัดต้นแบบในการจัดการอุทยานการศึกษาของวัดพรหมรังษี เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร ๒) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลต่อการพัฒนาวัดต้นแบบในการจัดการอุทยาการศึกษาของวัดพรหมรังษี เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร    ๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการพัฒนาวัดต้นแบบในการจัดการอุทยานการศึกษาของวัดพรหมรังษี เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ประชาชนในเขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร จำนวน ๔๐๐ คน ใช้วิธีรูปแบบการวิจัยแบบผสานวิธี โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงสำรวจจากแบบสอบถาม และการวิจัยเชิงคุณภาพซึ่งประกอบด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญเพื่อสนับสนุนข้อมูลเชิงปริมาณ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐาน โดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และวิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ ใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา

 

         ผลการวิจัยพบว่า

 

         ๑. การพัฒนาวัดต้นแบบในการจัดการอุทยานการศึกษาของวัดพรหมรังษี เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมอยู่ในปานกลางมีค่าเฉลี่ย (  = ๒.๘๗) และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า การพัฒนาวัดต้นแบบในการจัดการอุทยานการศึกษาของวัดพรหมรังษี เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานครในด้านจัดตั้งพิพิธภัณฑ์สถานภายในวัดด้านจัดกิจกรรมทางการศึกษา ด้านจัดสถานที่เผยแพร่ข้อมูลทางวิชาการในวัด ด้านจัดบริเวณวัดให้สะอาด สงบ ร่มรื่น ด้านจัดทำแผนงานหรือโครงการ ด้านการจัดทำแผนผังวัดแสดงพื้นที่บริเวณวัดโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลางทุกด้านโดยด้านที่มีความคิดเห็นสูงสุดคือ ด้านจัดตั้งพิพิธภัณฑ์สถานภายในวัด มีค่าเฉลี่ย (  = ๓.๒๕) และที่มีความคิดเห็นต่ำสุดคือด้านจัดกิจกรรมทางการศึกษา มีค่าเฉลี่ย (  = ๒.๖๘)

 

         ๒. ผลการเปรียบเทียบการจัดการอุทยานการศึกษาของวัดพรหมรังสี เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร โดยจำแนกตามข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ประชาชนที่มีอายุ อาชีพ และสถานภาพต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการพัฒนาวัดต้นแบบในการจัดการอุทยานการศึกษาของวัดพรหมรังษี เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานครโดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้  ส่วนประชาชนที่มีเพศ และระดับการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการพัฒนาวัดต้นแบบในการจัดการอุทยานการศึกษาของวัดพรหมรังษี เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานครโดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ จึงยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้

              ๓. การศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะต่อการพัฒนาวัดต้นแบบในการจัดการอุทยานการศึกษาของวัดพรหมรังษี เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร พบว่า ขาดความชัดเจนของป้ายบอกอาคารสถานที่ เพื่อสะดวกแก่ผู้มีความประสงค์จะไปในสถานที่ต่างๆภายในวัดพระสงฆ์ สามเณรบางรูป ไม่ค่อยสนใจและเอาใจใส่ในการรักษาความสะอาดภายในวัดขาดการจัดนิทรรศการการส่งเสริมการศึกษาแบบการให้ความรู้เชิงวิชาการขาดการนำญาติโยมปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานขาดการพัฒนาพิพิธภัณฑ์สิ่งที่มีอยู่ในวัด อย่างต่อเนื่อง และให้เป็นที่น่าสนใจข้อเสนอแนะ ได้แก่ ควรพัฒนาพิพิธภัณฑ์สิ่งที่มีอยู่ในวัด อย่างต่อเนื่อง และให้เป็นที่น่าสนใจ ควรมีการประชาสัมพันธ์ ควรมีการนำญาติโยมปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ควรมีจัดหาอุปกรณ์และสื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่ใช้ให้เกิดความเข้าใจในเนื้อหาการที่มากขึ้น ควรมีการจัดนิทรรศการการส่งเสริมการศึกษาแบบการให้ความรู้เชิงวิชาการ ควรมีการจัดเวรของพระสงฆ์ และสามเณร ในการทำความสะอาดบริเวณวัด ควรมีการจัดทำปฏิทินโครงการหรือกิจกรรมเพื่อประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้ทราบกันโดยทั่วถึง ควรเพิ่มป้ายบอกอาคารสถานที่ เพื่อสะดวกแก่ผู้มีความประสงค์จะไปในสถานที่ต่างๆ ภายในวัด

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕