หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระนพรัตน์ ญาณวีโร ( พูลสวัสดิ์ )
 
เข้าชม : ๒๐๐๒๓ ครั้ง
บทบาทของวัดในการส่งเสริมการใช้เศรษฐกิจพอเพียงกับประชาชนใน อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง (สาขาการจัดการเชิงพุทธ)
ชื่อผู้วิจัย : พระนพรัตน์ ญาณวีโร ( พูลสวัสดิ์ ) ข้อมูลวันที่ : ๒๔/๑๑/๒๐๑๗
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาบุญเลิศ อินฺทปญโญ
  พัชราวลัย ศุภภะ
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๐ เมษายน ๒๕๖๐
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาบทบาทของวัดในการส่งเสริมการใช้เศรษฐกิจพอเพียงกับประชาชนในอำเภอเถิน จังหวัดลำปาง ๒) เพื่อเปรียบเทียบบทบาทของวัดในการส่งเสริมการใช้เศรษฐกิจพอเพียงกับประชาชนในอำเภอเถิน จังหวัดลำปาง โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะต่อบทบาทของวัดในการส่งเสริมการใช้เศรษฐกิจพอเพียงกับประชาชนในอำเภอเถิน จังหวัดลำปาง ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ประชาชนในอำเภอเถิน จังหวัดลำปาง จำนวน ๓๙๘ คน ระเบียบวิธีวิจัยเป็นแบบผสม  (Mixed Method Research) โดยใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อหาความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage)  ค่าเฉลี่ย (Mean)  และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ทดสอบสมมติฐานโดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) และวิเคราะห์ข้อมูลการสัมภาษณ์ โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis Technique)

         ผลการวิจัยพบว่า

         ๑. ความคิดเห็นของประชาชนต่อบทบาทของวัดในการส่งเสริมการใช้เศรษฐกิจพอเพียงกับประชาชนในอำเภอเถิน จังหวัดลำปาง ทั้ง ๕ ด้าน คือ ๑) ด้านความพอประมาณ ๒) ด้านความมีเหตุผล ๓) ด้านความมีภูมิคุ้มกัน ๔) ด้านความรอบรู้ ๕) ด้านมีคุณธรรม พบว่า บทบาทของวัดในการส่งเสริมการใช้เศรษฐกิจพอเพียงกับประชาชนในอำเภอเถิน จังหวัดลำปาง โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (     = ๓.๖๘, S.D. = ๐.๗๐๙ )

๒. ผลการเปรียบเทียบบทบาทของวัดในการส่งเสริมการใช้เศรษฐกิจพอเพียงกับประชาชนในอำเภอเถิน จังหวัดลำปาง โดยจำแนกปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ประชาชนที่มีเพศต่างกัน มีความคิดเห็นต่อบทบาทของวัดในการส่งเสริมการใช้เศรษฐกิจพอเพียงกับประชาชนในอำเภอเถิน จังหวัดลำปาง ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้ ส่วนประชาชนที่มี อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อบทบาทของวัดในการส่งเสริมการใช้เศรษฐกิจพอเพียงกับประชาชนในอำเภอเถิน จังหวัดลำปาง แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕

๓. ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะบทบาทของวัดในการส่งเสริมการใช้เศรษฐกิจพอเพียงกับประชาชนในอำเภอเถิน จังหวัดลำปาง พบว่า ประชาชนขาดความรู้ยังไม่มีความเข้าใจหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงดีพอประชาชนในกลุ่มต่างๆของแต่ละชุมชนยังมีความเข้มแข็งไม่เท่ากันขาดการติดตามผลแหล่งน้ำไม่เพียงพอต่อพื้นที่การเกษตร ขาดการพัฒนาและไม่มีการส่งเสริมด้านอาชีพที่มั่นคงและขาดงบประมาณวัฒนธรรมแปลกๆเข้ามาในชุมชนเด็กและเยาวชนถูกชักจูงได้ง่ายเป็นไปตามวัตถุนิยมสิ่งเสพติดยังมีในทุกเพศวัยบทบาทของวัด ควรจัดหางบประมาณจัดสร้างศูนย์เรียนรู้การดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีศูนย์สาธิตให้เห็นเป็นรูปธรรม จัดให้มีศูนย์เรียนรู้การรวมกลุ่มทุนและหาแหล่งทุนในการทำอุตสาหกรรมในชุมชน จัดให้มีการให้ความรู้กระจายข่าวสารเทคโนโลยีให้ชุมชนแต่ละชุมชนเรียนรู้เท่าทัน ควรจัดทำแผนงานร่วมกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องมีนโยบายส่งเสริมการดำเนินชีวิตแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาอำเภอ แผนพัฒนาจังหวัดและแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเพื่อขอเพิ่มงบประมาณให้เพียงพอให้อย่างเป็นรูปธรรมโดยมีการติดตามและประเมินผลอย่างต่อเนื่อง

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕