หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาสกล ฐานวุฑฺโฒ (วงษ์เขียด)
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๗ ครั้ง
รูปแบบการเสริมสร้างภาวะผู้นำกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์เพื่อพัฒนาชุมชนยั่งยืน ภาคเหนือตอนล่าง(รัฐประศาสนศาสตร์)
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาสกล ฐานวุฑฺโฒ (วงษ์เขียด) ข้อมูลวันที่ : ๐๕/๐๑/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  สมาน งามสนิท
  บุษกร วัฒนบุตร
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๐
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑. เพื่อศึกษาคุณลักษณะภาวะผู้นำกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์เพื่อพัฒนาชุมชนยั่งยืน ภาคเหนือตอนล่าง ๒. เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณลักษณะภาวะผู้นำกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์เพื่อพัฒนาชุมชนยั่งยืน ภาคเหนือตอนล่าง ๓. เพื่อศึกษารูปแบบการเสริมสร้างภาวะผู้นำกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์เพื่อพัฒนาชุมชนยั่งยืน ภาคเหนือตอนล่าง ตามหลักภาวนา ๔

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพ และ การวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้ศึกษาในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง ๒ จังหวัดได้แก่ จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดกำแพงเพชร รวม ๒ แห่ง โดยการวิจัยครั้งนี้ เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน ๒๐ รูปหรือคน และการสนทนาเฉพาะกลุ่ม จำนวน ๙ รูปหรือคน และวิเคราะห์ข้อมูล ด้วยการพรรณนาความ  นำสาระสำคัญที่ได้จากการสัมภาษณ์ สรุปเป็นประเด็นปัจจัยสำคัญๆ นำเสนอรูปแบบการเสริมสร้างภาวะผู้นำกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์เพื่อพัฒนาชุมชนยั่งยืน ภาคเหนือตอนล่าง ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง รวมจำนวน ๓๖๗ คน เครื่องมือวิจัยที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม เก็บรวบรวมข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์และประมวลผลโดยเครื่องคอมพิวเตอร์ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ค่าความถี่ และค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน

               ผลการวิจัยพบว่า

               ๑. คุณลักษณะภาวะผู้นำกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์เพื่อพัฒนาชุมชนยั่งยืน ภาคเหนือตอนล่าง พบว่า การตัดสินใจของผู้นำนั้นต้องยึดหลักประชาธิปไตย เป็นการฟังเสียงส่วนใหญ่ที่ประกอบพร้อมไปด้วยความชอบธรรม มุ่งงาน ประกอบด้วยคุณลักษณะภาวะผู้นำ ๓ ด้าน คือ ผู้นำเชิงพฤติกรรมที่มุงนำด้วยการทำงานให้สำเร็จโดยชอบธรรมอยู่ในระดับน้อย ผู้นำด้านการเปลี่ยนแปลงที่เข้าใจความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอยู่ในระดับปานกลาง และผู้นำตามสถานการณ์ที่สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ต่างๆได้ดีอยู่ในระดับปานกลาง ในภาพรวมคุณลักษณะภาวะผู้นำกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์อยู่ในระดับปานกลางยังต้องพัฒนา

 ๒. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณลักษณะภาวะผู้นำกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์เพื่อพัฒนาชุมชนยั่งยืน ภาคเหนือตอนล่าง พบว่า คนที่จะทำงานรับใช้ประชาชนบริการชุมชน ต้องมีความอดทน ไม่มีอคติ ซื่อสัตย์ มีความประพฤติดีซึ่งเป็นผลมาจากการพัฒนาทางกายภาพ การพัฒนาพฤติกรรมและการพัฒนาปัญญาการพัฒนาทางกายภาพหรือกายภาวนาเป็นปัจจัยให้เกิดคุณลักษณะภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง การพัฒนาด้านพฤติกรรมคือศีลภาวนาเป็นปัจจัยให้เกิดคุณลักษณะภาวะผู้นำด้านพฤติกรรมที่มุ่งทำงานให้สำเร็จโดยชอบธรรม และการพัฒนาจิตใจและปัญญาเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดคุณลักษณะภาวะผู้นำตามสถานการณ์ที่สามารถนำตน นำคน นำงานได้ในทุกสถานการณ์       

๓. รูปแบบการเสริมสร้างภาวะผู้นำ ๓ ด้านของกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์เพื่อพัฒนาชุมชนยั่งยืน ภาคเหนือตอนล่าง ตามหลักภาวนา ๔ มีดังนี้

๓.๑ ด้านภาวะผู้นำเชิงพฤติกรรม พบว่า ๓.๑.๑ กายภาวนาเพื่อพัฒนาผู้นำกลุ่มให้เป็นผู้มีบุคลิกลักษณะดี น่าเชื่อถือ ๓.๑.ศีลภาวนา เพื่อพัฒนาผู้นำให้ยึดหลักการมีส่วนร่วมยึดมั่นในกฎระเบียบ ๓.๑.๓ จิตภาวนาเพื่อพัฒนาผู้นำให้เป็นคนที่ไม่มีอคติคือความลำเอียง ๔อย่างในจิตใจของตน ๓.๑.๔ ปัญญาภาวนาให้ผู้นำกลุ่มมีปัญญาเฉลียวฉลาด ใช้ปัญญาไปสร้างแรงจูงใจแก่สมาชิก ให้อยู่ในศีลธรรม คิดดี พูดดี ทำดี

๓.๒ ด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงพบว่า ๓.๒.๑ กายภาวนา เพื่อพัฒนาสมาชิกทุกคนในชุมชนให้มีสุขภาพแข็งแรงความเป็นอยู่ที่ดี  ๓.๒.๒ ศีลภาวนาเพื่อการสร้างสรรค์อาชีพเสริม และความซื่อสัตย์สุจริต  ๓.๒.๓ จิตตภาวนา เพื่อให้มีจิตใจที่ดีมีการให้คำปรึกษาแก่สมาชิกที่มีบูรณาการหลักธรรม ๓.๒.๔ ปัญญาภาวนา เพื่อพัฒนาให้เกิดปัญญาให้มีความรู้ความสามารถในการให้ความรู้ทางวิชาการทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์

๓.๓ ด้านภาวะผู้นำตามสถานการณ์ ต้องใช้หลักภาวนา ๔ ทุกด้านมาพัฒนาให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำกับสมาชิก ก่อให้เกิดทักษะการทำงานแก้ไขปัญหาได้ในทุกสถานการณ์ ผู้นำสามารถนำสมาชิกเข้าวัดฟังธรรม เพื่อกล่อมเกลาให้มีการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ให้ผู้นำกลุ่มมีจิตเมตตา กรุณา และมีวิสัยทัศน์ที่ยาวไกล

ดาวน์โหลด

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕