หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » ภูวดิษฐ์ ยอดดี
 
เข้าชม : ๑๖๗๕๗ ครั้ง
ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจชั้นประทวนสถานีตำรวจภูธรดงเจริญ จังหวัดพิจิตร(รัฐประศาสนศาสตร์)
ชื่อผู้วิจัย : ภูวดิษฐ์ ยอดดี ข้อมูลวันที่ : ๒๙/๐๑/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูสังฆรักษ์เกียรติศักดิ์ กิตฺติปญฺโญ
  สุรพล สุยะพรหม
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๘
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ ๑) เพื่อศึกษาขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจชั้นประทวนสถานีตำรวจภูธรดงเจริญ จังหวัดพิจิตร ๒)เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจชั้นประทวนสถานีตำรวจภูธรดงเจริญ จังหวัดพิจิตร  และ ๓) เพื่อศึกษาปัญหา  อุปสรรค  และข้อเสนอแนะในการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจชั้นประทวนสถานีตำรวจภูธรดงเจริญ จังหวัดพิจิตร

ดำเนินการวิจัยโดยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research)ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้การวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือข้าราชการตำรวจชั้นประทวนสถานีตำรวจภูธรดงเจริญ จังหวัดพิจิตร คือจำนวน ๗๐ คน จากประชากรทั้งหมด เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม โดยมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ.๙๐๒  สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ (Frequencies) ค่าร้อยละ(Percentage)ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และทดสอบสมมติฐาน เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับขวัญและกำลังใจโดยการทดสอบค่าไคสแควส์ (Chi-Square Test)คำถามปลายเปิดนำเสนอเป็นความเรียงประกอบตาราง โดยการแจกแจงความถี่ของผู้ตอบและการวิจัยเชิงคุณภาพ (QualitativeResearch) โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก(In-DepthInterview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) จำนวน ๙ ท่าน โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท

 

ผลการวิจัยพบว่า

๑) ระดับขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจชั้นประทวนสถานีตำรวจภูธรดงเจริญ จังหวัดพิจิตร โดยภาพรวมพบว่า อยู่ในระดับมาก ( =๓.๙๗) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านมีค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยตามลำดับ คือ ด้านความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตการทำงาน   ( = ๔.๒๐) ด้านความพึงพอใจในงาน  ( = ๔.๐๙) ด้านการยอมรับนับถือ( = ๔.๐๐) ด้านผลประโยชน์ตอบแทน ( = ๓.๘๙) ด้านโอกาสความก้าวหน้า (  = ๓.๘๖)  และด้านความพอใจในสภาพแวดล้อมในการทำงาน( = ๓.๗๙)

 

 

 

๒) ผลการทดสอบความสัมพันธ์กับขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจชั้นประทวนสถานีตำรวจภูธรดงเจริญ จังหวัดพิจิตร จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่าข้าราชการตำรวจชั้นประทวน ที่มี เพศ อายุ การศึกษา ชั้นยศ และรายได้  ไม่มีความสัมพันธ์กับขวัญและกำลังใจของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย ส่วนสายงานที่สังกัดมีความสัมพันธ์กับขวัญและกำลังใจของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน  จึงยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้

 

 

 

๓) ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจชั้นประทวนสถานีตำรวจภูธรดงเจริญ จังหวัดพิจิตร พบว่า ปัญหาและอุปสรรค คือ การให้รางวัลในการจับกุมยาเสพติดและการจับกุมตามหมายจับมีจำนวนน้อยไม่เพียงพอ  โอกาสการเลื่อนระดับจากชั้นประทวน เป็นสัญญาบัตร มีน้อยทำให้ข้าราชการตำรวจชั้นประทวนมีจำนวนมาก  ขาดความยอมรับจากเพื่อนร่วมงานเนื่องจากชั้นประทวน ต่างคนต่างมีความคิดที่แตกต่างกันไม่รับฟังความคิดเห็นของเพื่อนร่วมงาน  สภาพสถานที่ทำงานมีความจำกัดด้านพื้นที่ได้รับงบประมาณจำนวนน้อยไม่เพียงพอต่อการขยับขยายให้มีความกว้างเหมาะแก่การทำงาน ขาดอุปกรณ์ที่ใช้ในการปฏิบัติงานทำให้เกิดความล่าช้าไม่ทัดต่อเหตุการณ์และเวลา ขาดความร่วมมือในการทำงานเป็นทีมไม่รับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน

 

ข้อเสนอแนะพบว่า ควรมีการให้รางวัลแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาที่สามารถจับกุมผู้ต้องหายาเสพติด หรือผู้ต้องหาตาม หมายจับได้ เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจให้ผู้ใต้บังคับบัญชาออกปฏิบัติหน้าที่ มีความกระตือรือร้นในการทำงาน  และสอบถามความเป็นอยู่พบปะพูดคุยกับผู้ใต้บังคับบัญชา หรือสายตรวจทุกเช้าก่อนออกปฏิบัติงาน  ควรเพิ่มโอกาสในการพิจารณาเลื่อนระดับจากชั้นประทวน เป็นชั้นสัญญาบัตร ให้มีหลายช่องทางเช่น การศึกษาต่อหรือ การสอบเลื่อนระดับ ต่างๆให้มากขึ้น เมื่อรับนโยบายจากผู้บังคับบัญชา แล้วมอบหมายงานให้กับ ผู้ร่วมทีมงานตามความถนัดแต่ละคน ความสามารถทางด้านข่าวกรอง ความสามารถทางด้านตรวจค้น เป็นต้น  ควรส่งเสริมให้ข้าราชการได้แสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่  เพื่อร่วมกันกำหนดแนวทางในการปฏิบัติงาน  ควรวิเคราะห์เหตุการณ์ข้างหน้าว่าจะเกิดอะไรขึ้น จะทำอย่างไรเมื่อเกิดเหตุการณ์อย่างนี้ขึ้น เพื่อจะได้หาทางแก้ปัญหาไว้ล่วงหน้า เพื่อความปลอดภัย คอยสังเกตสิ่งผิดปกติ สังเกตคนร้าย ผู้น่าสงสัยให้เรียกตรวจค้น และต้องระมัดระวังในการปฏิบัติหน้าที่  จัดสายตรวจเป็นคู่ทีมงาน ออกตรวจตามเส้นทางที่มอบหมายไว้ มีการปล่อยแถวสายตรวจ  และจะสอนให้ผู้ใต้บังคับบัญชาซึ่งปฏิบัติหน้าที่สายตรวจ มอบหมาย งานตามความถนัด ของแต่ละบุคคล

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕