หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » ทัศนีย์วรรณ ปั้นนาค
 
เข้าชม : ๑๖๗๖๑ ครั้ง
บทบาทของผู้นำในการบริหารเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นองค์การบริหารส่วนตำบลหนองกระโดน อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์(รัฐประศาสนศาสตร์)
ชื่อผู้วิจัย : ทัศนีย์วรรณ ปั้นนาค ข้อมูลวันที่ : ๒๙/๐๑/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูสังฆรักษ์เกียรติศักดิ์ กิตฺติปญฺโญ
  สุรพล สุยะพรหม
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๘
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาบทบาทของผู้นำในการบริหารเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองกระโดน อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์  ๒) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อบทบาทของผู้นำในการบริหารเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองกระโดน อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล  และ ๓)  เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะของผู้นำในการบริหารเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองกระโดน อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์

ดำเนินการวิจัยโดยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Method Research) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในกานวิจัยคือ ประชากรในแต่ละหมู่บ้าน องค์กรบริหารส่วนตำบลหนองกระโดน  จำนวน  ๓๘๙  คน  จากประชากรจำนวน   ๑๔,๑๑๓ คน โดยการคำนวณจากสูตร ทาโร่ ยามาเน่ (Taro  Yamane)  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม โดยมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ ๐.๙๒๘ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ  ค่าความถี่ (Frequencies) ค่าร้อยละ (Percentage)    ค่าเฉลี่ย  (Mean)   ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน   (Standard Deviation)    และทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที  ( t-test)  การทดสอบค่าเอฟ  (F-test) ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว  (One Way ANOVA) และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference: LSD) และนำเสนอเป็นความเรียงประกอบตาราง โดยการแจกแจงความถี่ของผู้ตอบคำถามปลายเปิด และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative .Research) โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth.Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ  (Key Informants) จำนวน ๘ ท่าน โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท

ผลการวิจัยพบว่า

 

๑) ระดับบทบาทของผู้นำในการบริหารเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นองค์การบริหารส่วนตำบลหนองกระโดน อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (= ๔.๕๒)  พิจารณาเป็นรายด้าน  เรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย  คือ   ด้านการตวจสอบและติดตามผลการดำเนินงานของท้องถิ่น  (= ๔.๕๕)  ด้านการกำหนดนโยบายท้องถิ่น  (= ๔.๕๔)   ด้านการสนับสนุนสวัสดิการสังคม  (= ๔.๕๔)  ด้านการประสานงานองค์กรภายนอกที่เกี่ยวข้อง               (= ๔.๕๒)   ด้านการแก้ไขปัญหาท้องถิ่น (= ๔.๔๕) 

 

 

๒) การเปรียบเทียบระดับบทบาทของผู้นำในการบริหารเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นองค์การบริหารส่วนตำบลหนองกระโดน อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์  โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล  พบว่า ประชาชนที่มี  เพศ  อายุ  ระดับการศึกษา   อาชีพ  และรายได้  ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อบทบาทของผู้นำในการบริหารเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองกระโดน อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์  ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย 

 

 

๓) ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับบทบาทของผู้นำในการบริหารเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นองค์การบริหารส่วนตำบลหนองกระโดน อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์  พบว่า ปัญหาและอุปสรรค คือ การกำหนดนโยบายไม่ครอบคลุมทุกด้านของปัญหาในพื้นที่  ปัญหาด้านโยบายกับสมรรถภาพขององค์กรไม่สอดคล้องกัน มีปัญหาในการบริหารจัดการบุคคล  ประชาชนไม่ให้ความสำคัญต่อการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาท้องถิ่น ปัญหาด้านสวัสดิการของประชาชนบางอย่างยังขาดการประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐ  ผู้นำชุมชนขาดความรู้เกี่ยวกับสิทธิสวัสดิการต่างของประชาชนที่พึ่งได้ผู้นำชุมชนยังขาดความรู้ด้านกฎหมาย ข้อบังคับเกี่ยวกับสิทธิสวัสดิการสังคม ผู้นำชุมชนยังไม่ให้ความสำคัญกับการติดตามผลการดำเนินงานท้องถิ่น  ผู้นำชุมชนบางแห่งติดตามผลการดำเนินในลักษณะจับผิดมากว่าติดตามเป็นไปตามระเบียบกฏหมาย  ผู้นำท้องถิ่นประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐยังล่าช้าอยู่  ผู้นำท้องถิ่นกับการประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐยังไม่เป็นไปตามลำดับขั้น

 

 ข้อเสนอแนะ พบว่า ควรกำหนดนโยบายให้ครอบคลุมปัญหาในแต่ละพื้นที่ของตน  ควรกำหนดนโยบายโดยการประชุมหรือเพื่อให้เป็นแนวทางเดียวกัน  ผู้นำควรศึกษาพื้นที่จริง  ลงพื้นที่จริง  ผู้นำควรแก้ไขปัญหาพื้นที่  ในภาพรวมมากกว่าแก้ปัญหาเฉพาะพวกพ้อง   ควรให้ผู้นำศึกษา อบรมเกี่ยวกับสิทธิสวัสดิการของประชาชนให้มากขึ้น ผู้นำท้องถิ่นควรรักษาสิทธิ  สวัสดิการของประชาชนในพื้นที่  ผู้นำท้องถิ่นควรชี้แจงประชาสัมพันธ์สิทธิสวัสดิการของประชาชนให้มากขึ้น   ผู้นำท้องถิ่นควรมีส่วนเข้าไปตรวจสอบและติดตามโครงการในหมู่บ้าน  เมื่อผู้นำติดตามผลการดำเนินงานท้องถิ่น แล้วควรเสนอแนะปัญญาหาของโครงการด้วย ผู้นำท้องถิ่นควรประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขอรับงบประมาณให้มากขึ้น  ผู้นำควรมีวิสัยทัศน์ที่กว้าง  เพื่อง่ายต่อการประสานงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕