หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พงศ์ภัทร์ ไชยองค์การ
 
เข้าชม : ๑๖๗๕๗ ครั้ง
ความคาดหวังของประชาชนที่มีต่อการบริหารงานเทศบาลตำบลหนองบัวอำเภอไชยปราการจังหวัดเชียงใหม่(รัฐประศาสนศาสตร์)
ชื่อผู้วิจัย : พงศ์ภัทร์ ไชยองค์การ ข้อมูลวันที่ : ๐๑/๐๒/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูภาวนาโสภิต
  ปรารถนา พิชัย
  -
วันสำเร็จการศึกษา : 22 มีนาคม 2558
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

 

 

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความคาดหวังของประชาชนที่มีต่อการบริหารงานของเทศบาลตำบลหนองบัว อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ 2)เปรียบเทียบความคาดหวังของประชาชนที่มีต่อการบริหารงานของเทศบาลตำบลหนองบัว อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) ศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะ ที่เหมาะสมมาใช้ในการบริหารงานของเทศบาลตำบลหนองบัว อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ 4) ศึกษาแนวทางการส่งเสริมการบริหารงานตามหลักสังคหวัตถุ 4 เพื่อให้ประชาชน เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารงานด้านต่าง ๆ ร่วมกับทางเทศบาลตำบลหนองบัว อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ ดำเนินการตามระเบียบวิธีการวิจัยแบบผสม (Mix Methods) โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey research) โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้คือ ประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปโดยเลือกประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลตำบลหนองบัว อำเภอไชยปราการจังหวัดเชียงใหม่จำนวน 10 หมู่บ้าน ซึ่งใช้วิธีการสุ่มตัวอย่าง ตามลำดับชั้นอย่างเป็นสัดส่วนตามตารางมาตรฐานว่าด้วยขนาดประชากรและขนาดตัวอย่างโดยการใช้สูตรของ ทาโร ยามาเน่(Taro Yamane) ประชากร จำนวน 4,980 คน ขนาดของกลุ่มตัวอย่างที่ระดับความคลาดเคลื่อน 5 %ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 388 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดย (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ห่าค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(Standard Deviation) และการทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวในกรณีตัวแปรต้นสองกลุ่ม และการทดสอบค่า (F- test) ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวน ทางเดียว (One Way ANOVA) ในกรณีตัวแปรต้นตั้งแต่สามกลุ่มขึ้นไปและเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่โดยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Different : LSD) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ใช้การสัมภาษณ์แบบเชิงลึก (In-depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท พร้อมกับวิเคราะห์โดยใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสาน

 

          ผลการวิจัยพบว่า

          1) ความคาดหวังของประชาชนในการบริหารงานของเทศบาลตำบลหนองบัว อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ ใน 7 ประเด็นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากค่าเฉลี่ย = 4.02เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงลำดับจากมากไปหาน้อยดังนี้คือ การพัฒนาการบริหารการจัดการบ้านเมืองที่ดีค่าเฉลี่ย= 4.45การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนค่าเฉลี่ย= 4.40การจัดระเบียบชุมชน และสังคมค่าเฉลี่ย= 4.29ด้านการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน ค่าเฉลี่ย=4.10การอนุรักษ์ฟื้นฟูศิลปะและวัฒนธรรมค่าเฉลี่ย=3.81การพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมค่าเฉลี่ย=3.60การพัฒนาเศรษฐกิจ ค่าเฉลี่ย=3.50

2) เปรียบเทียบความคาดหวังของประชาชนในการบริหารงานของเทศบาลตำบลหนองบัว อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพ การศึกษา อาชีพ และรายได้ พบว่าประชาชนที่มี อายุกับการศึกษาที่แตกต่างกันมีความคาดหวังของประชาชนในการบริหารงานของเทศบาลตำบลหนองบัว อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญอยู่ที่ระดับ 0.01 และ0.05 ส่วนประชาชนที่มี เพศ สถานภาพ อาชีพ รายได้ ที่แตกต่างกันมีความคาดหวังของประชาชนในการบริหารงานของเทศบาลตำบลหนองบัว อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ไม่แตกต่างกัน

3) ปัญหา อุปสรรค เกี่ยวกับการบริหารงานของเทศบาลตำบลหนองบัว อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า ขาดการพัฒนาระบบคมนาคมการสร้างถนน ยังไม่ครบทุกพื้นที่ ขาดการพัฒนาเศรษฐกิจการไม่มีบุคลากรที่ฝึกอาชีพให้ประชาชนในพื้นที่ได้มีอาชีพเสริม  การส่งเสริมการสร้างสินค้าจากภูมิปัญญาท้องถิ่น ขาดมาตรการหรือกฎหมายที่เด็ดขาดเกี่ยวกับการเผาขยะ การทิ้งขยะไม่ถูกที่ การเผาป่าไม้ การทำลายป่า การทำลายทรัพยากรธรรมชาติขาดการอนุรักษ์ สืบสาน ศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณีท้องถิ่น การอนามัย การส่งเสริมความรู้ในการดูแลรักษาสุขภาพของตนเอง การป้องกันโรคติดต่อ และโรคไม่ติดต่อ มีแหล่งมั่วสุม อบายมุข ยาเสพติดในชุมชนมากขึ้นการใช้กฎระเบียบในชุมชน ยังไม่เคร่งครัด ยังมีการละเว้นการทำผิดส่วนด้านข้อเสนอแนะ เกี่ยวกับการบริหารงานของเทศบาลตำบลหนองบัว อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ควรมีการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานด้าน ถนน ระบบสาธารณูปโภค ไฟฟ้า ในเขตเมือง หรือเขตชุมชนไปพร้อมกันควรมีบุคลากรแนะนำ การฝึกอาชีพเสริมหรือรายได้ให้แก่ชุมชน มีมาตรการหรือกฎหมายบทลงโทษ เกี่ยวกับการทิ้งขยะไม่ถูกที่ การเผาขยะมีการรณรงค์การแก้ไขปัญหาหมอกควัน ปัญหามลพิษ การเผาป่า การทำลายป่า ควรมีการอนุรักษ์ สืบสาน ศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณีท้องถิ่น สืบทอดแก่รุ่นลูก รุ่นหลาน  ควรมีการส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ให้ทั่วถึงในทุกหมู่บ้าน ควรมีการมีการรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ ปัญหาเกี่ยวกับยาเสพติด การพนัน อบายมุขต่างๆที่เกิดขึ้นในชุมชน ให้รู้ถึง พิษภัย และโทษของอบายมุขนั้นการบริหารงานของทางเทศบาลควรให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการตรวจสอบการบริหารงาน โดยทางเทศบาลควรประชาสัมพันธ์ ทางอินเตอร์เน็ต ให้ประชาชนทราบอย่างทั่วถึง ในการจัดชื้อ จัดจ้าง การจัดทำโครงการต่างๆ

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕