หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พรพงศ์ รอดเทศ
 
เข้าชม : ๑๖๕๙๒ ครั้ง
การให้บริการตามหลักมนุษยสัมพันธ์เชิงพุทธของศาลแรงงานภาค ๖(รัฐประศาสนศาสตร์)
ชื่อผู้วิจัย : พรพงศ์ รอดเทศ ข้อมูลวันที่ : ๐๑/๐๒/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระเทพปริยัติเมธี
  พระครูสังฆรักษ์เกียรติศักดิ์ กิตฺติปญฺโญ
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๘
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

 

                 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ ๑) ศึกษาความคิดเห็นของประชาชนต่อการให้บริการตามหลักมนุษยสัมพันธ์เชิงพุทธของศาลแรงงานภาค ๖ ๒) เปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อการให้บริการตามหลักมนุษยสัมพันธ์เชิงพุทธของศาลแรงงานภาค ๖ โดยจําแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ ๓) ศึกษาปัญหา อุปสรรค ข้อเสนอแนะ และแนวทางการนำหลักมนุษยสัมพันธ์เชิงพุทธมาประยุกต์ใช้และพัฒนาการให้บริการของศาลแรงงานภาค ๖

 

                 ดำเนินการวิจัยโดยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Method Research) โดยการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) จากแบบสอบถาม (Questionnaire) กับกลุ่มตัวอย่างได้แก่ ประชาชนผู้มารับบริการจากศาลแรงงานภาค ๖ ซึ่งมีจำนวน ๔๐๐ คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบไม่อาศัยความน่าจะเป็น (Nonprobability Sampling) โดยใช้การคำนวณจากสูตรของ W.G. cochran เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการและมาตราส่วนประเมินค่า ๕ ระดับ ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ ๐.๙๖๘ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ โดยใช้สถิติค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ(Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการทดสอบค่าเอฟ (F-test) ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปวนทางเดียว (One Way ANOVA) ในกรณีตัวแปรต้นตั้งแต่สามกลุ่มขึ้นไป เมื่อพบว่ามีความแตกต่างจะทำการเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีการ (Least Significant Difference : LSD) โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ ๐.๐๕ และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) จำนวน ๗ ท่าน โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท

 

 

 

 

 

 

ผลการวิจัยพบว่า

 

               ๑) ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการให้บริการตามหลักมนุษยสัมพันธ์เชิงพุทธของศาลแรงงานภาค ๖ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = .๔๙) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านทาน (= ๓.๗๗) ด้านสมานัตตตา (= ๓.๕๙) ด้านปิยวาจา (= ๓.๔๒) และด้านอัตถจริยา (= ๓.๑๙)  

                 ๒) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนที่มารับบริการต่อการให้บริการตามหลักมนุษยสัมพันธ์เชิงพุทธของศาลแรงงานภาค ๖ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่าบุคลากรที่มี สถานภาพต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการให้บริการตามหลักมนุษยสัมพันธ์เชิงพุทธของศาลแรงงาน
ภาค ๖ แตกต่างกัน ส่วนปัจจัยด้านที่เหลือไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย

                 ๓) ปัญหาและอุปสรรคในการให้การบริการตามหลักมนุษยสัมพันธ์เชิงพุทธของ
ศาลแรงงานภาค ๖ ปัญหาที่สำคัญได้แก่ ประชาชนที่มาขอรับบริการยังมีสถานที่จอดรถ และที่นั่งไม่เพียงพอต่อความต้องการ เจ้าหน้าที่ใช้คำพูดไม่ไพเราะ บ่อยครั้งเจ้าหน้าที่วางเฉยในการช่วยเหลือ ตลอดจนเจ้าหน้าที่ยังวางตัวไม่เป็นกลาง ผลที่ได้คือประชาชนที่มารับการบริการไม่เกิดความประทับใจ

                 ข้อเสนอแนะในการบริการของศาลแรงงานภาค ๖ คือ องค์กรควรปลูกฝังบุคลากรให้มีจิตใต้สานึกในการให้บริการ มีการบริการประชาชนในเชิงรุก เจ้าหน้าที่ควรพัฒนาด้านการบริการอย่างมีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานให้ดียิ่งขึ้น ควรมีการอบรมด้านคุณธรรมโดยนำหลักธรรมเข้ามาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาเจ้าหน้าที่รัฐ เพื่อมีความยืดหยุ่นในการให้บริการ รวมทั้งเน้นการบริการที่สามารถนำมาซึ่งความพึงพอใจแก่ผู้รับการบริการและส่งผลย้อนกลับไปยังผู้ให้บริการ โดยทำให้ประชาชนผู้รับบริการรู้สึกว่าประทับใจในการให้บริการ

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕