หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาปัญญา สุปญฺโญ (โยธาตรี)
 
เข้าชม : ๑๖๗๖๓ ครั้ง
การบริหารจัดการชุมชนตามหลักสาราณียธรรม ๖ ในเขตป้อมปราบ ศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร (รัฐประศาสนศาสตร์)
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาปัญญา สุปญฺโญ (โยธาตรี) ข้อมูลวันที่ : ๐๑/๐๒/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  นพดล ดีไทยสงค์
  ธิติวุฒิ หมั่นมี
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๙
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาการบริหารจัดการชุมชนตามหลักสาราณียธรรม ๖ ในเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร  ๒) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการบริหารจัดการชุมชนตามหลักสาราณียธรรม ๖ ในเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร และ ๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะต่อการบริหารจัดชุมชนตามหลักสาราณียธรรม ๖ เพื่อศึกษาแนวทางพัฒนาชุมชนตามหลักสาราณียธรรม ๖

ระเบียบวิธีวิจัยเป็นวิธีวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed-Method Research) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ การวิจัยเชิงปริมาณเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานครจำนวน ๒๙๙ คนวิเคราะห์ข้อมูลสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือค่าความถี่ค่าร้อยละค่าเฉลี่ยค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเพื่อบรรยายข้อมูลคุณลักษณะส่วนบุคคลหรือตัวแปรต้นและใช้สถิติทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ ความแปรปรวนทางเดียว (One Way Analysis of Variance) และเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่โดยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Different : LSD.)  การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) กำหนดผู้ให้ข้อมูลหลัก (key informants) ๗ คน เลือกแบบเจาะจงจากผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เกี่ยวข้องกับการบริหาร เครื่องมือเก็บข้อมูลได้แก่แบบสัมภาษณ์เชิงลึกที่มีโครงสร้าง (Structured in-depth-interview) เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกตัวต่อตัว วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการพรรณนาความ(Descriptive Interpretation)

ผลการวิจัยพบว่า

๑) การบริหารจัดการชุมชนตามหลักสาราณียธรรม ๖ ในเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X = ๓.๔๑) เมื่อพิจารณาในแต่ละด้านพบว่า ประชาชนในป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร มีความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการชุมชนตามหลักสาราณียธรรม ๖ ในเขตป้อมปราบศัตรูพ่ายกรุงเทพมหานคร อยู่ในระดับมากมีอยู่ ๒ ด้านคือด้านเมตตากายกรรม เมตตาวจีกรรม ส่วนด้านเมตตามโนกรรม ด้านสาธารณโภคี ด้านสีลสามัญญตา และด้านทิฎฐิสามัญญตา อยู่ในระดับปานกลาง

๒) เปรียบเทียบความคิดเห็นของการบริหารจัดการชุมชนตามหลักสาราณียธรรม ๖
ในเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร พบว่า ประชาชนที่มีเพศ อายุ อาชีพ และรายได้ต่อเดือนต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการชุมชนตามหลักสาราณียธรรม ๖ แตกต่างกัน

๓) ปัญหา อุปสรรค การบริหารจัดการชุมชนตามหลักสาราณียธรรม ๖ ในเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร เจ้าหน้าที่มีการส่งเสริมประชาชนในการบำเพ็ญสาธารณะประโยชน์ในโอกาสต่าง ๆ น้อย (ด้านสีลสามัญญตา) บางคนถืออภิสิทธิ์กระทำการต่าง ๆ เป็นที่เดือดร้อนแก่ประชาชน ไม่ค่อยมีความเอื้อเฟื้อ มีมนุษย์สัมพันธ์ในการให้บริการกับประชาชนที่มาใช้บริการ                 ข้อเสนอแนะการบริหารจัดการชุมชนเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร ควรมีการส่งเสริมประชาชนในการบำเพ็ญสาธารณะประโยชน์ ไม่ควรถืออภิสิทธิ์หรือกระทำการใด ๆ
อันเป็นที่เดือดร้อนแก่ประชาชน ควรมีความเอื้อเฟื้อมีมนุษย์สัมพันธ์ในการให้บริการกับประชาชนที่มาใช้บริการ

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕