หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูสุธรรมพัชรประทีป (เชิด ทีปธมฺโม)
 
เข้าชม : ๑๖๗๖๐ ครั้ง
การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลพุเตย อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์(รัฐประศาสนศาสตร์)
ชื่อผู้วิจัย : พระครูสุธรรมพัชรประทีป (เชิด ทีปธมฺโม) ข้อมูลวันที่ : ๐๒/๐๒/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระเทพปริยัติเมธี
  พระครูสังฆรักษ์เกียรติศักดิ์ กิตฺติปญฺโญ
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๘
 
บทคัดย่อ


บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ ๑. เพื่อศึกษาการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลพุเตย อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ ๒. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นประชาชนผู้มาติดต่อราชการต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลพุเตย อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ๓.เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ ในการพัฒนาการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลพุเตย อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) การแจกแบบสอบถาม (Questionnaire) กลุ่มตัวอย่างที่นำมาใช้ในงานวิจัย คือ ประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบของเทศบาลตำบลพุเตย อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งมีจำนวน ๘,๑๐๖ คน ใช้วิธีสุ่มกลุ่มตัวอย่างโดยการใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน่ (Taro Yamane)     ซึ่งใช้ระดับความคาดเคลื่อนที่ ๐.๐๕ ขนาดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน ๓๘๑ คน โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม โดยมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ ๐.๘๘๐ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ (Frequencies) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าเอฟ (F-test) ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference: LSD) และนำเสนอเป็นบทความเรียงประกอบตาราง โดยการแจกแจงความถี่ของผู้ตอบคำถามปลายเปิด และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative.Research) โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ   (Key Informants) จำนวน ๑๐ ท่าน โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท

 

ผลการวิจัยพบว่า

 

๑) ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลพุเตย อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = ๔.๐๗) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการบริหารงาน ตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลพุเตย อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ ทั้งหมดอยู่ในระดับมากทุกด้าน

๒) การเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการบริหารงานตามหลัก                 ธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลพุเตย อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า เพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ต่างกัน ประชาชนมีความคิดเห็นต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลพุเตย อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย ส่วนอาชีพต่างกัน ประชาชนมีความคิดเห็นต่อการบริหารงานตาม                    หลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลพุเตย อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย

              ๓) ปัญหา อุปสรรคที่เกี่ยวกับการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาล                ตำบลพุเตย อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ ด้านหลักนิติธรรม พบว่า มีการเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ข่าวสารทางราชการน้อยไป การบริหารงานมีกระบวนการและขั้นตอนที่ไม่ชัดเจน            ด้านหลักคุณธรรม พบว่า ปัญหาการบริหารงานที่ต้องอาศัยความเสมอภาค เที่ยงธรรมเป็นหลัก ปัญหาในการสำรวจความพึงพอใจของพนักงานต่อการปฏิบัติงาน ด้านหลักความโปร่งใส พบว่า ปัญหาจากการบริหารงานเพื่อให้สร้างความเข้าใจและติดตามประเมินสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง ปัญหาการสร้างข้อมูลให้ประชาชนอย่างเพียงพอ ด้านหลักการมีส่วนร่วม พบว่า ปัญหาการจัดทำประชาพิจารณ์ที่จะมีผลบังคับใช้กับชุมชน การออกความคิดเห็นอย่างสร้างสรรค์ และขาดการติดตามรายงานผล ด้านหลักความรับผิดชอบ พบว่า ปัญหาการสร้างนโยบายเพื่อลดความขัดแย้ง และ            ลดผลกระทบในการบริหารงาน ปัญหาการนำนโยบายไปปฏิบัติให้เป็นรูปธรรม ด้านหลักความคุ้มค่า พบว่า ปัญหาการใช้ทรัพยากรที่ไม่คุ้มค่า ปัญหาการนำโครงการกิจกรรมหรือแผนงานไปไว้ดำเนินการให้เห็นเป็นรูปธรรม

              ข้อเสนอแนะ พบว่า ด้านหลักนิติธรรม พบว่า การออกกฎบัญญัติโดยคำนึงถึงสิทธิหน้าที่ของประชาชน และมีการเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบโดยทั่วถึง สร้างขั้นตอนและกระบวนการบริหารงานมีกระบวนการและขั้นตอนที่ชัดเจน ด้านหลักคุณธรรม พบว่า ปลูกฝังการทำงานที่สร้างมนุษยสัมพันธ์ที่ดี และมีไมตรีจิตรพร้อมให้บริการ มุ่งเน้นประโยชน์สูงสุดของชุมชน          เป็นหลัก ด้านหลักความโปร่งใส พบว่า ต้องจัดการงาน บริหารงานทุกอย่าง อย่างโปรงใสและเป็นธรรม เปิดเผยให้ประชาชนทราบ สร้างการทำงานที่เพิ่มความเชื่อถือให้ประชาชน ให้ประชาชนยอมรับ ด้านหลักการมีส่วนร่วม พบว่า ช่วยการดูแลเอาใจใส่ในชุมชน ให้ได้รับประโยชน์จากทางรัฐมากที่สุด ร่วมออกความคิดเห็นอย่างเป็นธรรม เสมอภาคกัน เพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชน ด้านหลักความรับผิดชอบ พบว่า ต้องร่วมมือและประสานการปฏิบัติงานทุกภาคส่วน เพื่อหาข้อยุติร่วมกัน ต้องเอาใจใส่ต่อปัญหาของประชาชนและชุมชนอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ด้านหลักความคุ้มค่า พบว่า รณรงค์ช่วยกันประหยัดทรัพยากรธรรมชาติ การสร้างขั้นตอนความรวดเร็วและความพึงพอใจให้กับประชาชนและชุมชน

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕