หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » รัตนา ปันจุติ
 
เข้าชม : ๒๐๐๒๖ ครั้ง
การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ด้อยโอกาสในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลอุโมงค์ อำเภอเมืองจังหวัดลำพูน (รัฐประศาสนศาสตร์)
ชื่อผู้วิจัย : รัตนา ปันจุติ ข้อมูลวันที่ : ๐๒/๐๒/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาบุญเลิศ อินฺทปญโญ
  ศรีธน นันตาลิต
  -
วันสำเร็จการศึกษา : 22 มีนาคม ๒๕๕๘
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

          การศึกษาวิจัยเรื่อง การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ด้อยโอกาสในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลอุโมงค์อำเภอเมืองจังหวัดลำพูน มีวัตถุประสงค์ในการวิจัยคือ ๑) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของประชากรที่มีต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ด้อยโอกาส ของเทศบาลตำบลอุโมงค์ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน ๒) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ด้อยโอกาสของเทศบาลตำบลอุโมงค์ ๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ด้อยโอกาส ของเทศบาลตำบลอุโมงค์ และ ๔) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ด้อยโอกาส ของเทศบาลตำบลอุโมงค์ ตามหลักไตรสิกขา ซึ่งประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้ด้อยโอกาสในตำบลอุโมงค์ จำนวน 168 คน กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างตามตารางของเครซี่และมอร์แกน (Krejcie&Morgan) ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน ๑๑๘ คน และเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ เพื่อหาค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(Standard Deviation) และทำการทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติทดสอบไคสแควร์ (Chi – SquareTest) ( ) ในส่วนของข้อคำถามปลายเปิดที่แสดงปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะ ผู้วิจัยทำการจัดกลุ่มตามประเด็นที่กำหนดไว้ในแบบสอบถามปลายเปิด จากนั้นจะทำการวิเคราะห์ โดยใช้การแจกแจงความถี่ (Frequency) และข้อมูลจากการสัมภาษณ์ ผู้วิจัยทำการจัดกลุ่มข้อมูลสาระสำคัญของประเด็นการสัมภาษณ์ จากนั้นจึงทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา 

             ผลการวิจัยพบว่า

             1. ระดับความคิดเห็นที่มีต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ด้อยโอกาส ของเทศบาลตำบลอุโมงค์ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีระดับความคิดเห็นที่มีต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ด้อยโอกาส ของเทศบาลตำบลอุโมงค์ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( =.64) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านความมั่นคงในด้านเศรษฐกิจ ด้านสาธารณสุข ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านชีวิตและครอบครัว และด้านชีวิตชุมชน อยู่ในระดับมาก ส่วนด้านการใช้สติปัญญาและด้านชีวิตการทำงาน อยู่ในระดับปานกลาง

          2. การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ด้อยโอกาสของเทศบาลตำบลอุโมงค์ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูนการทดสอบสมมติฐานโดยการวิเคราะห์ความแตกต่างตามการจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลได้แก่เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ด้านเพศและระดับการศึกษามีความสัมพันธ์กับการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ด้อยโอกาสของเทศบาลตำบลอุโมงค์ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูนส่วนด้านอายุ อาชีพและรายได้ต่อเดือน ไม่มีความสัมพันธ์กับการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ด้อยโอกาสของเทศบาลตำบลอุโมงค์ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน

          3. ปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ด้อยโอกาสของเทศบาลตำบลอุโมงค์ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูนโดยสรุปแล้ว พบว่า ผู้ด้อยโอกาสยังคงว่างงานและมีรายได้ที่ไม่พอกับรายจ่าย ไม่มีใครจ้างงาน ไม่มีการใช้สติปัญญาในการแก้ไขปัญหาเท่าที่ควร ปัญหาภายในครอบครัวและการยอมรับจากคนในสังคม รวมถึงปัญหาการจัดการขยะและปัญหาสุขภาพและการรับบริการจากสถานพยาบาล ซึ่งเทศบาลควรให้การส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ด้อยโอกาสสร้างรายได้อย่างมั่นคง การใช้สติปัญญาในการแก้ไขปัญหาเบื้องต้น การจัดการขยะในครัวเรือนอย่างเป็นรูปธรรม การส่งเสริมผู้ด้อยโอกาสให้มีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรงและการรับการรักษาพยาบาลอย่างทั่วถึงและสะดวก

          4. ผลการศึกษาเชิงคุณภาพ พบว่า ผู้ให้ข้อมูลสำคัญส่วนใหญ่เน้นในเรื่องของการเสริมสร้างการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ด้อยโอกาสในด้านต่างๆ เพื่อให้คุณภาพชีวิตเป็นไปในลักษณะที่ดีขึ้น สามารถอยู่ร่วมกับครอบครัวและสังคมได้อย่างปกติสุข

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕