หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » ดาวประกาย ขุมทอง
 
เข้าชม : ๑๖๗๖๓ ครั้ง
แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการและลูกจ้างศาลยุติธรรม จังหวัดนครสวรรค์ (รัฐประศาสนศาสตร์)
ชื่อผู้วิจัย : ดาวประกาย ขุมทอง ข้อมูลวันที่ : ๐๒/๐๒/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูสังฆรักษ์เกียรติศักดิ์ กิตฺติปญฺโญ
  สุรพล สุยะพรหม
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๘
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการและลูกจ้างศาลยุติธรรมจังหวัดนครสวรรค์ ๒) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการและลูกจ้างศาลยุติธรรมจังหวัดนครสวรรค์ และ ๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และแนวทางการพัฒนาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการและลูกจ้างศาลยุติธรรมจังหวัดนครสวรรค์

ดำเนินการวิจัยโดยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้การวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือข้าราชการและลูกจ้างศาลยุติธรรมจังหวัดนครสวรรค์ คือ จำนวน ๑๔๔ คน สุ่มจากประชากรจำนวน ๒๒๖ คน โดยใช้สูตรทาโร่ ยามาเน่ (Taro Yamane) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม โดยมี
ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ
.๙๘๕ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ (Frequency)
ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และทดสอบสมมติฐานเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานโดยการทดสอบค่าไค สแควส์ (Chi-Square Test) คำถามปลายเปิดนำเสนอเป็นความเรียงประกอบตาราง โดยการแจกแจงความถี่ของผู้ตอบ และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ  (Key Informants)
จำนวน ๗ ท่าน โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนาความ

ผลการวิจัยพบว่า

๑) ระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการและลูกจ้างศาลยุติธรรมจังหวัดนครสวรรค์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( = ๓.๐๘) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านความรับผิดชอบ ( = ๓.๑๔) ด้านการได้รับการยอมรับนับถือ ( = ๓.๑๓) ด้านลักษณะของงานที่ปฏิบัติ ( = ๓.๐๘) ด้านความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่การงาน ( = ๓.๐๔) และด้านความสำเร็จในการทำงาน ( = ๓.๐๒)     

๒) ผลการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการและลูกจ้างศาลยุติธรรมจังหวัดนครสวรรค์ พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลคือ เพศ อายุ การศึกษา รายได้ และตำแหน่ง  มีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการและลูกจ้างศาลยุติธรรมจังหวัดนครสวรรค์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย

๓) ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชและลูกจ้างศาลยุติธรรมจังหวัดนครสวรรค์ พบว่า ปัญหาและอุปสรรค คือ บุคลากรบางคนไม่มีโอกาส
ใช้ความรู้ความสามารถและประสบการณ์ในการปฏิบัติงานจนสำเร็จ
งานในหน้าที่และงานพิเศษที่ได้รับมอบหมายไม่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จทันเวลา ผู้บังคับบัญชาบางท่านไม่ชื่นชมต่อผลการปฏิบัติงานของบุคลากร บุคลากรบางท่านไม่พอใจกับการปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายและไม่เป็น
ส่วนหนึ่งที่มีส่วนร่วมต่อความสำเร็จขององค์กร งานในหน้าที่และงานที่ได้รับมอบหมายบางอย่างไม่มีความเหมาะสมกับบุคลากร

ข้อเสนอแนะ พบว่า ควรเลื่อนตำแหน่งให้บุคลากรตามความสามารถที่ปรากฏจากผลงานในหน้าที่ตามความเหมาะสม ควรแนะนำบุคลากรเกี่ยวกับงานที่ปฏิบัติอยู่เพื่อให้มีประสบการณ์และความชำนาญในการปฏิบัติงานเพิ่มขึ้น รวมทั้งให้ความสำคัญต่อความรู้สึกของบุคลากรว่าเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้หน่วยงานมีความเจริญก้าวหน้า

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕