หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาสุรเชษฏ์ สุรเชฏฺโธ (สิงห์สุขสวัสดิ์)
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๖ ครั้ง
การมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการจัดทำแผนพัฒนาเทศบาลตำบล มะขาม จังหวัดจันทบุรี (รัฐประศาสนศาสตร์)
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาสุรเชษฏ์ สุรเชฏฺโธ (สิงห์สุขสวัสดิ์) ข้อมูลวันที่ : ๐๒/๐๒/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  อนุวัต กระสังข์
  ยุทธนา ปราณีต
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒ ตุลาคม ๒๕๕๘
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ ๑) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการจัดทำแผนพัฒนาเทศบาลตำบลมะขาม จังหวัดจันทบุรี ๒) เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการจัดทำแผนพัฒนาเทศบาลตำบลมะขาม จังหวัดจันทบุรี โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ ๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการจัดทำแผนพัฒนาเทศบาลตำบลมะขาม จังหวัดจันทบุรี

ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Method Research) โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กับกลุ่มตัวอย่างจำนวน ๓๓๒ คน จากจำนวนประชากรทั้งหมด ๑,๙๓๐ คน และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Quantitative Research) ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) จำนวน ๗ คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความคิดเห็นโดยใช้ค่าที  (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA)  และเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD)

 

ผลการวิจัยพบว่า

๑) ประชาชนมีส่วนร่วมในกระบวนการจัดทำแผนพัฒนาเทศบาลตำบลมะขาม จังหวัดจันทบุรี โดยภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง (=๓.๔๙) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการจัดทำแผนร่วมกัน (=๓.๕๒) รองลงมา คือ ด้านการร่วมคิด (= ๓.๕๑) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการร่วมติดตามผลและประเมินผล (= ๓.๔๔) ซึ่งอยู่ในระดับปานกลาง

๒) การเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการจัดทำแผนพัฒนาเทศบาลตำบลมะขาม จังหวัดจันทบุรี โดยจำแนกตามข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ประชาชน ที่มี เพศ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือน แตกต่างกัน มีส่วนร่วมในกระบวนการจัดทำแผนพัฒนาเทศบาลตำบลมะขาม จังหวัดจันทบุรี โดยรวม ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐาน ส่วนประชาชนที่มี อายุ แตกต่างกัน มีส่วนร่วมในกระบวนการจัดทำแผนพัฒนาเทศบาลตำบลมะขาม จังหวัดจันทบุรี โดยรวม โดยรวม แตกต่างกัน จึงยอมรับสมมติฐาน

๓) ปัญหา อุปสรรค เกิดจากประชาชนเชื่อว่าความคิดเห็นของตนไม่มีประโยชน์ต่อแผนพัฒนาเทศบาล ทั้งยังเสนอแผนพัฒนาที่เกินศักยภาพของเทศบาลซึ่งมีงบประมาณที่จำกัด ประชาชนส่วนใหญ่ทำงานประจำไม่ค่อยได้ร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ การทำงานของเทศบาลมีการประชาสัมพันธ์ที่ไม่ชัดเจน ขาดการติดตามประเมินผลและควบคุมการบริหารงานของเทศบาลที่ชัดเจน ขาดการร่วมรับฟังผลประโยชน์จากการประชุมสภาเทศบาล และไฟฟ้าสาธารณะยังมีไม่ทั่วถึง และข้อเสนอแนะ ได้แก่ (๑) ด้านการร่วมคิด เทศบาลตำบลมะขาม จังหวัดจันทบุรี ควรจัดการประชุมสัญจรในแต่ละชุมชน เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับแผนพัฒนาเทศบาล และควรพิจารณาความคิดเห็นของประชาชนโดยึดหลักของความถูกต้องที่ชอบด้วยกฎหมายและประโยชน์อันสูงสุด (๒) ด้านการจัดทำแผนร่วมกัน เทศบาลตำบลมะขาม จังหวัดจันทบุรี ควรจัดทำแผนพัฒนาที่ประชาชนมีส่วนร่วมด้วยและชี้แจงรายละเอียดของการจัดทำแผนพัฒนาเพื่อให้สอดคล้องกับงบประมาณที่มีอยู่ (๓) ด้านการร่วมปฏิบัติ เทศบาลตำบลมะขาม จังหวัดจันทบุรี ควรเปิดโอกาสให้ประชาชนทุกภาคเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการในโครงการกิจกรรม และควรจัดอบรมให้ประชาชนและเจ้าหน้าที่ประสานงานกันเพื่อลดขั้นตอนการทำงาน (๔) ด้านการร่วมติดตามผลและประเมินผล เทศบาลตำบลมะขาม จังหวัดจันทบุรี ควรมีการประชาสัมพันธ์สรุปผลการประชุมออกมาแจกให้ประชาชนไดทราบทั่วกันและวางแนวทางการดำเนินงานและการใช้ทรัพยากรในการบริหารท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์ต่อสาธารณะอย่างสูงสุด (๕) ด้านการร่วมรับประโยชน์ เทศบาลตำบลมะขาม จังหวัดจันทบุรี ควรสร้างจุดสนใจเกี่ยวกับประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับและให้ประชาชนได้รับประโยชน์แบบต่อเนื่อง

ดาวน์โหลด

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕