หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » วิสุทธิ์ โพธิ์ศรี
 
เข้าชม : ๑๖๗๖๕ ครั้ง
ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานตามอิทธิบาทธรรมของพนักงานการไฟฟ้า นครหลวง เขตวัดเลียบ กรุงเทพมหานคร (รัฐประศาสนศาสตร์)
ชื่อผู้วิจัย : วิสุทธิ์ โพธิ์ศรี ข้อมูลวันที่ : ๐๒/๐๒/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  สุรพล สุยะพรหม
  พระครูสังฆรักษ์เกียรติศักดิ์ กิตฺติปญฺโญ
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๑ เมษายน ๒๕๕๘
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

              การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานตามอิทธิบาทธรรมของพนักงานการไฟฟ้านครหลวง เขตวัดเลียบ กรุงเทพมหานคร ๒) เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพการปฏิบัติงานตามอิทธิบาทธรรมของพนักงานการไฟฟ้านครหลวง เขตวัดเลียบ กรุงเทพมหานคร ตามหลักอิทธิบาทธรรม โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ ๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะประสิทธิภาพการปฏิบัติงานตามอิทธิบาทธรรมของพนักงานการไฟฟ้านครหลวง เขตวัดเลียบ กรุงเทพมหานคร

              การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Method Research) ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณโดยวิธีการสำรวจ (Survey Research) เก็บข้อมูลจากบุคลากรในการไฟฟ้านครหลวง เขตวัดเลียบ กรุงเทพมหานคร จำนวน ๑๓๑ คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น (Reliability) เท่ากับ ๐.๙๐๑ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ (Frequencies) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และทดสอบสมมติฐานโดย การทดสอบค่าที  (t-test) เพื่อทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยสองกลุ่ม และการทดสอบค่าเอฟ (F-test) ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) เพื่อทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยตั้งแต่สามกลุ่มขึ้นไป และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD.) และการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก (In depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key Informants) โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท

 

              ผลการวิจัย พบว่า 

              ๑) ความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานตามอิทธิบาทธรรมของพนักงานการไฟฟ้านครหลวง เขตวัดเลียบ กรุงเทพมหานคร โดยรวมอยู่ในระดับมาก (= ๓.๖๒) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน ตามลำดับค่าเฉลี่ย คือ ด้านวิริยะ (=.๖๗) ด้านฉันทะ      (=.๖๖) ด้านจิตตะ (=.๕๗) และด้านวิมังสา (=.๕๖)

              ๒) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคคลากรต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานตามอิทธิบาทธรรมของพนักงานการไฟฟ้านครหลวง เขตวัดเลียบ กรุงเทพมหานคร โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า บุคคลากรที่มี เพศ อายุ ประสบการณ์การทำงาน และรายได้ ต่างกันมีความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานตามอิทธิบาทธรรมของพนักงานการไฟฟ้านครหลวง เขตวัดเลียบ กรุงเทพมหานคร แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๑ และบุคคลากรที่มี ระดับการศึกษา แตกต่างกัน มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ จึงยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้

 

              ๓) ปัญหาและอุปสรรคที่เกี่ยวกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานตามอิทธิบาทธรรมของพนักงานการไฟฟ้านครหลวง เขตวัดเลียบ กรุงเทพมหานคร พบว่า สภาพแวดล้อมไม่อำนวยแก่การทำงาน เช่น สถานที่จอดรถไม่เพียงพอ บรรยากาศห้องทำงานไม่เหมาะแก่การทำงาน พนักงานขาดกำลังใจ และแรงจูงใจในการทำงาน ความสนใจ ฝักใฝ่ในงานที่ทำน้อย ทำให้งานไม่บรรลุเป้าหมาย บางครั้งการทำงานที่ผิดพลาด เนื่องจากทำก่อนคิดทำให้ขาดความละเอียดและรอบคอบ

              ข้อเสนอแนะที่เกี่ยวกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานตามอิทธิบาทธรรมของพนักงานการไฟฟ้านครหลวง เขตวัดเลียบ กรุงเทพมหานคร ควรปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้มีความเหมาะสมกับการทำงาน สร้างแรงจูงใจแก่ผู้ปฏิบัติงาน เช่น การให้รางวัลแก่ผู้ที่ตั้งใจปฏิบัติงาน เพื่อให้เกิดความขยันหมั่น เพียรมากยิ่งขึ้น ติดตามงานที่ได้รับมอบหมายอยู่เสมอ และควรคิดก่อนทำเสมอ เพื่อให้เกิดความผิดพลาดในการทำงานน้อยที่สุด

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕