หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » ถนอมศักดิ์ วังแสน
 
เข้าชม : ๒๐๐๒๑ ครั้ง
แนวทางการเสริมสร้างการผลิตเครื่องปั้นดินเผา ของชุมชนบ้านเหมืองกุง ตำบลหนองควาย อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ (รัฐประศาสนศาสตร์)
ชื่อผู้วิจัย : ถนอมศักดิ์ วังแสน ข้อมูลวันที่ : ๐๖/๐๒/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  นิกร ยาอินตา
  เสน่ห์ ใจสิทธิ์
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๙ ธันวาคม ๒๕๖๐
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

             การศึกษาวิจัย  มีวัตถุประสงค์ คือ ๑) เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของการผลิตเครื่องปั้นดินเผา  ของชุมชนบ้านเหมืองกุง ตำบลหนองควาย อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ ๒) เพื่อศึกษาสาเหตุและปัญหาของการผลิตเครื่องปั้นดินเผา ของชุมชนบ้านเหมืองกุง ตำบลหนองควาย อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ ๓) เพื่อเสนอแนวทางการเสริมสร้างคุณค่าการผลิตเครื่องปั้นดินเผา ให้กับชุมชนบ้านเหมืองกุง          ตำบลหนองควาย อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) ศึกษาจากการสัมภาษณ์เชิงลึก (In depth interview) ผู้วิจัยเลือกผู้ให้สัมภาษณ์ จำนวน ๑๕ คน จากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักสำคัญ (Key informants) คือ กลุ่มที่ ๑ เจ้าของโรงงาน และสล่าปั้นหม้อ จำนวน ๓ โรงงานๆละ ๓ คนรวมทั้งหมด ๙ คน กลุ่มที่ ๒ ผู้ประกอบการ/ร้านค้าชุมชน จำนวน ๔ ร้านค้า (๔ คน) กลุ่มที่ ๓ ผู้บริโภค จำนวน ๒ คน

             ผลการวิจัยพบว่า

             ๑) สภาพทั่วไปของการผลิตเครื่องปั้นดินเผา ของชุมชนบ้านเหมืองกุง ตำบลหนองควาย อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ พบว่าประเด็นหลักประกอบด้วยประเด็นทั่วไป

             ด้านอุตสาหกรรมการผลิต   เกิดจากปัจจัยหลายประการ อาทิเช่น ๑. เกิดจากวัตถุดิบในการผลิตเช่นดินที่ใช้ในการผลิต จะต้องมีคุณภาพที่ดีถึงจะสามารถนำมาผลิตเป็นเครื่องปั้นดินเผาที่ได้คุณภาพ ทนทาน ไม่ทำให้เนื้อดินหลุดลุ่ยง่าย ๒.  เกิดจากส่วนผสมที่สำคัญ คือทรายละเอียด ดินบางบ่อหรือบางแหล่งหากไม่ได้ผสมทรายละเอียดเพื่อเป็นตัวประสาน ผลิตภัณฑ์ที่ได้ ไม่มีคุณภาพจะแตกหักเสียหายง่าย ๓.  เกิดจากกระบวนการเผาผลิตภัณฑ์ บางกระบวนเผาออกมาแล้วไม่ได้คุณภาพ ได้ความสวยงามเพียงอย่างเดียว เช่นกระบวนการเผาแบบ รมดำ เหมาะสำหรับมีไว้โชว์อย่างเดียว ไม่นิยมนำมาใช้บรรจุน้ำหรืองานที่เกี่ยวกับน้ำ

 

 

             ๒) ด้านศิลปะการออกแบบเพื่อประโยชน์ใช้สอยเพื่อสร้างคุณค่าทางด้านจิตใจทั้งวัฒนธรรม และสังคม ที่มีการพัฒนาน้อยในปัจจุบัน พบว่า บางโรงงานมีความพยายามพัฒนาด้านการออกแบบอยู่แล้ว แต่มีปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้การพัฒนารูปแบบไม่สามารถตอบโจทก์ผู้บริโภคได้เท่าที่ควร คือ ๑. การปั้นรูปแบบใหม่ทำให้เกิดความเสี่ยงในการลงทุน เพราะจะต้องนำมาทดสอบตลาดบ่อยครั้ง ๒. การพัฒนารูปแบบใหม่เสียโอกาสทางด้านการลุงทุน เพราะว่าจะต้องใช้เวลาในการทดลองซ้ำแล้วซ้ำเล่าหากไม่ได้คุณภาพตามที่ต้องการ ต้องสูญเสียเวลาในการทดลองหลายครั้งหลายคราว ๓.  ผู้ประกอบการจะต้องมีทุนสำรองในการผลิตเพื่อทำการสต๊อกสินค้า ไม่เหมือนกับการผลิตตามออเดอร์  ๔.  ความถนัดในการปั้น และการสะท้อนจิตใจที่มีต่อสังคม คือสล่าปั้นจะนิยมปั้นรูปแบบเดิม ๆ ที่เคยปั้นเพราะเป็นความถนัดเฉพาะตน สามารถผลิตชิ้นงานได้ครั้งละมากๆ ไม่เหมือนการปั้นรูปแบบใหม่ที่ช้าเพราะเกิดจากการไม่ชำนาญ และคิดว่ามีความสะท้อนถึงจิตใจที่ดี ๕.  มีการพัฒนารูปแบบน้อยในปัจจุบัน เพราะว่าผลิตภัณฑ์บางชนิดเสื่อมความนิยมลงเกิดจากสภาวะการเปลี่ยนแปลงของยุกต์สมัย มีผลิตภัณฑ์ที่ทดแทนกันได้     ๖.  เกิดจากการถ่ายทอดภูมิปัญญาลดน้อยลง เพราะขาดบุคลากร ที่จะมารับการถ่ายทอด คนรุ่นหลังส่วนใหญ่จะหันไปประกอบอาชีพอื่นที่ทำให้ไอเดียร์หรือแนวคิดใหม่ ๆ ไม่เกิดเพราะว่าสล่าปั้นเป็นคนรุ่นเก่า

             ๓) ด้านการเสริมสร้างคุณค่าเพื่อการเพิ่มมูลค่า พบว่าปัจจุบันการผลิตเครื่องปั้นดินเผาของชุมชนบ้านเหมืองกุงนั้นมีการนำเอา อัตลักษณ์ ศิลปวัฒนธรรมในการปั้นมาประยุกต์เพื่อเพิ่มมูลค่าน้อยมาก เหตุผลเพราะว่าทำตามความต้องการของผู้บริโภค  แนวทางเสริมสร้างคุณค่าการผลิตเครื่องปั้นดินเผา ของชุมชนบ้านเหมืองกุง  หากต้องหาแนวทางเพื่อให้ได้บรรลุแนวทางจะต้องมีการพัฒนาที่เป็นระบบ ค่อยเป็นค่อยไป ต้องเข้าใจทั้งผู้ผลิต และผู้บริโภค หรือพัฒนาควบคู่กันไปอย่างช้าๆ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการประกอบอาชีพ

             ๔)  การเสนอแนวทางการเสริมสร้างคุณค่าการผลิตเครื่องปั้นดินเผา ๑. หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรนำผลการวิจัยครั้งนี้ไปพิจารณาปรับปรุงให้สอดคล้องกับการเสริมสร้างคุณค่าการผลิตเครื่องปั้นดินเผาของชุมชน  ๒. ผู้ประกอบการเจ้าของโรงงานควรหาทางนำเอาผลการวิจัยครั้งนี้ไปปรับปรุงใช้กับการแก้ปัญหาด้านการผลิต การพัฒนารูปแบบเพื่อให้สะท้อนจิตใจ และสังคม และด้านการเสริมสร้างคุณค่าเพื่อเพิ่มมูลค่า เพื่อให้เกิดความยั้งยืน ความมั่งคั่ง ๓) ผู้ประกอบการ/ร้านค้าชุมชนควรนำเอาหลักการประกอบอาชีพที่สุจริตขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้าว่า สัมมาอาชีวะ การประกอบอาชีพอย่างสุจริต

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕