หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » ธิติศักดิ์ เขื่อนเพชร
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๐ ครั้ง
บทบาทการจัดการภัยแล้งขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน (รัฐประศาสนศาสตร์)
ชื่อผู้วิจัย : ธิติศักดิ์ เขื่อนเพชร ข้อมูลวันที่ : ๐๗/๐๒/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  เสน่ห์ ใจสิทธิ์
  นิกร ยาอินตา
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๙ ธันวาคม ๒๕๖๐
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

สถานการณ์การจัดการภัยแล้งขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พบว่าพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอลี้มีภัยแล้งตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม โดยลักษณะของภัยแล้งคือระดับน้ำในลำน้ำลดลงจนถึงแห้งขอดรวมไปถึงน้ำใต้ดินมีไม่เพียงพอส่งผลกระทบให้สิ่งมีชีวิตทั้งมนุษย์และสัตว์เลี้ยงประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำดื่มน้ำใช้ ทำให้การดำเนินชีวิตประจำวันยากลำบาก รวมไปถึงพืชผลทางการเกษตรเมื่อขาดน้ำมาหล่อเลี้ยงทำให้พืชผลไม่เจริญเติบโต ส่งผลกระทบไปถึงด้านเศรษฐกิจถดถอยเนื่องจากเกษตรกรอยู่ในสภาวะขาดทุนจากการทำการเพาะปลูก และยังส่งผลกระทบถึงป่าไม้ เมื่อเกิดความแห้งแล้งทำให้พื้นที่ป่าไม้แห้งแล้งเกิดการทับถมของใบไม้จึงทำให้เกิดไฟป่าเกิดขึ้นและส่งผลให้เกิดหมอกควันในอากาศเป็นมลพิษต่อมนุษย์

กระบวนการจัดการภัยแล้งขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอลี้ที่ประสบปัญหาภัยแล้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้เข้าให้การช่วยประชาชนที่ประสบปัญหาภัยแล้ง ๑) นำรถบรรทุกน้ำขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานราชการใกล้เคียงออกแจกจ่ายน้ำให้กับประชาชนที่ประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่ออุปโภค บริโภค เป็นการให้ความช่วยเหลือประชาชนอย่างเร่งด่วน ๒) การจัดหาแหล่งน้ำทั้งเป็นแหล่งน้ำใหม่โดยการขุดเจาะเอาน้ำใต้ดินขึ้นมาใช้และการปรับปรุงพื้นที่แหล่งน้ำเดิม เช่น สระ อ่างเก็บน้ำ ฝายชะลอน้ำให้มีขนาดที่ใหญ่ขึ้นและรองรับน้ำได้เยอะขึ้นโดยการขุดลอกแหล่งน้ำที่ตื้นเขินให้มีความลึกเพื่อขยายพื้นที่เก็บน้ำเพิ่มปริมาณของน้ำให้มากขึ้น ๓) การช่วยเหลือทางด้านการเกษตรทำการสร้างฝายชะลอน้ำเป็นฝายขนาดเล็กโดยใช้เกษตรกรร่วมกับภาครัฐสร้างฝายชะลอน้ำเพื่อเป็นที่เก็บกักน้ำใช้ในการทำเกษตรกรรม

 

 

 

การประยุกต์ใช้หลักอปริหานิยธรรม ๗ ในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการจัดการภัยแล้ง พบว่ามีการส่งเสริมให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในฐานะกรรมการ ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมดำเนินการ เพื่อการจัดการภัยแล้ง โดยวิธีการจัดตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจและแก้ปัญหาภัยแล้งขึ้นในแต่ละองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้ง และได้แต่งตั้งคณะกรรมการแก้ปัญหาภัยแล้ง โดยให้มีส่วนราชการทุกภาคส่วนและประชาชนในพื้นที่ทั้งชายและหญิงเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการฝ่ายวางแผนและคณะกรรมการฝ่ายปฏิบัติงาน ภายใต้กฎ ระเบียบของทางราชการมีการประชุมวางแผน ระดุมความคิด ร่วมแก้ปัญหาภัยแล้งโดยไม่สร้างผลกระทบต่อวัฒนธรรมประเพณีหรือด้านศาสนาความเชื่อของชาวบ้านในพื้นที่ประสบภัย

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕