หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » บุญญาดา ประภัทรสิริ
 
เข้าชม : ๒๐๐๑๗ ครั้ง
การสร้างเครือข่ายของผู้นำสตรีในการเสริมสร้างความมั่นคงต่อพระพุทธศาสนาในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดลำพูน (รัฐประศาสนศาสตร์)
ชื่อผู้วิจัย : บุญญาดา ประภัทรสิริ ข้อมูลวันที่ : ๐๗/๐๒/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  นิกร ยาอินตา
  เสน่ห์ ใจสิทธิ์
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๙ ธันวาคม ๒๕๖๐
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

การศึกษาวิจัยเรื่อง “การสร้างเครือข่ายของผู้นำสตรีในการเสริมสร้างความมั่นคงต่อพระพุทธศาสนาในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดลำพูน” มีวัตถุประสงค์ คือ ๑) เพื่อศึกษาบทบาทของผู้นำสตรีในการเสริมสร้างความมั่นคงต่อพระพุทธศาสนาในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดลำพูน ๒) เพื่อศึกษากระบวนการเสริมสร้างความมั่นคงต่อพระพุทธศาสนาของผู้นำสตรีในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดลำพูน และ๓) เพื่อศึกษาแนวทางการสร้างเครือข่ายของผู้นำสตรีในการเสริมสร้างความมั่นคงต่อพระพุทธศาสนาในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดลำพูน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) ศึกษาจากการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ผู้วิจัยเลือกผู้ให้สัมภาษณ์ ๑๖ รูป/คน จากกลุ่มผู้ที่ให้ข้อมูลสำคัญ (Key informants) คือ กลุ่มที่ ๑ พระเถระชั้นปกครอง จำนวน ๓ รูป กลุ่มที่ ๒ หัวหน้าส่วนงานรับผิดชอบพระพุทธศาสนา จำนวน ๑ คน กลุ่มที่ ๓ นักวิชาการทางศาสนา จำนวน ๓ คน และกลุ่ม ๔ ผู้นำสตรีในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดลำพูน จำนวน ๙ คน

ผลการวิจัยพบว่า

๑. บทบาทของผู้นำสตรีในการเสริมสร้างความมั่นคงต่อพระพุทธศาสนาในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดลำพูน พบว่า ผู้นำสตรีในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดลำพูน มีบทบาท ๒ ด้าน ด้านที่หนึ่งเป็นบทบาทส่วนตน คือการเป็นพุทธศาสนิกชนในบทบาทของอุบาสิกาในพระพุทธศาสนา และด้านที่สองเป็นบทบาทที่ทำเพื่อสังคมตามภาระหน้าที่ในตำแหน่งงาน

๒. กระบวนการเสริมสร้างความมั่นคงต่อพระพุทธศาสนาของผู้นำสตรีในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดลำพูน พบว่า ๑) ด้านการศึกษา ควรมุ่งเน้นการศึกษาหาความรู้ในพระไตรปิฎกอย่างจริงจัง ให้มีความรู้ที่ถูกต้องและสามารถนำความรู้นั้นไปเผยแผ่แก่บุคคลอื่นได้ ๒) ด้านการปฏิบัติ ควรศึกษาพระธรรมคำสอนเพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับการครองเรือนและการปฏิบัติงาน ๓) ด้านการเผยแผ่ ควรมุ่งเน้นการเผยแผ่หลักธรรมคำสอนที่ถูกต้องตามเนื้อหาที่ปรากฏในพระไตรปิฎก รูปแบบการเผยแผ่ควรมีการปรับปรุงให้ทันต่อยุคสมัย ควรมีการเผยแผ่ผ่านวัตรปฏิบัติส่วนตน ๔) ด้านการปกป้องพระพุทธศาสนา ควรส่งเสริมการศึกษาความรู้จากพระไตรปิฎกอย่างจริงจังเพื่อให้พุทธบริษัท ๔ มีความรู้อย่างถ่องแท้ ปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง และใช้ความรู้นั้นช่วยปกป้องพระพุทธศาสนา ๕) ด้านบำรุงพระพุทธศาสนาให้มั่นคง ควรมุ่งเน้นการส่งเสริมกิจกรรมเกี่ยวกับประเพณีวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา ส่งเสริมโครงการบวชเรียน ส่งเสริมให้มีการบำรุงพระพุทธศาสนาด้วยปัจจัย ๔

๓. แนวทางการสร้างเครือข่ายของผู้นำสตรีในการเสริมสร้างความมั่นคงต่อพระพุทธศาสนาในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดลำพูน พบว่า มี ๕ แนวทาง คือ ๑) สร้างเครือข่ายจากความสัมพันธ์ส่วนตัว ๒) การหลอมรวมกันของเครือข่ายเดิมและนำเรื่องพระพุทธศาสนาเข้าไปเสริมเพิ่ม ๓) สร้างเครือข่ายโดยใช้วิกฤติให้เป็นโอกาส ๔) สร้างเครือข่ายโดยการหล่อหลอมความเชื่อและศรัทธาใน  ศาสนบุคคลหรือบุคคลสำคัญ และ๕) สร้างเครือข่ายจากความมือกับสำนักงานพระพุทธศาสนา    ด้วยการถ่ายทอดองค์ความรู้ผ่าน ธรรมศึกษา ตรี โท เอก

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕