หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระเกตุ รกฺขิตญาโณ (ตันชูชีพ)
 
เข้าชม : ๑๖๗๕๗ ครั้ง
บทบาทของผู้นำชุมชนในการเสริมสร้างความสมานฉันท์ระหว่างภาครัฐกับประชาชนในการจัดการพื้นที่ป่าชุมชน เขตอำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน (รัฐประศาสนศาสตร์)
ชื่อผู้วิจัย : พระเกตุ รกฺขิตญาโณ (ตันชูชีพ) ข้อมูลวันที่ : ๐๗/๐๒/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  สามารถ บุญรัตน์
  บุศรา โพธิสุข
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๙ ธันวาคม ๒๕๖๐
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์คือ ๑) เพื่อศึกษาบทบาทของผู้นำชุมชนในการเสริมสร้างความสมานฉันท์ระหว่างภาครัฐกับประชาชน ในการจัดการพื้นที่ป่าชุมชน เขตอำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน ๒) เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของการจัดการพื้นที่ป่าชุมชนระหว่างภาครัฐกับประชาชน เขตอำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน ๓) เพื่อเสนอแนวทางในการเสริมสร้างความสมานฉันท์ระหว่างภาครัฐกับประชาชนในการจัดการพื้นที่ป่าชุมชน ตามหลักพุทธธรรม เขตอำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) โดยผู้วิจัยได้ดำเนินการศึกษาเก็บรวบรวมข้อมูลความรู้จากเอกสาร รวมถึงงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และจากการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ซึ่งผู้วิจัยได้เลือกผู้ให้ข้อมูลหลัก ๑๕ รูป/คน จากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key informants) ได้แก่ กลุ่มที่ ๑ เป็นผู้นำทางจิตวิญญาณของชุมชน ประกอบไปด้วยพระสงฆ์ จำนวน ๓ รูป กลุ่มที่ ๒ เป็นผู้นำชุมชนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีการดำเนินกิจกรรมในพื้นที่อย่างต่อเนื่องจำนวน ๔ คน กลุ่มที่ ๓ เป็นข้าราชการในหน่วยงานของภาครัฐ จำนวน ๔ คน และกลุ่มที่ ๔ เป็นตัวแทนของประชาชนหรือองค์กรที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับป่าชุมชน จำนวน ๔ คน

ผลการวิจัยพบว่า

๑) บทบาทผู้นำชุมชนจะต้องมีวิสัยทัศน์ มีความสามารถ มีความรู้เรื่องกฎระเบียบ ในการบริหารจัดการป่าชุมชน มีหลักในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ระหว่างรัฐกับประชาชน ต้องยึดหลักเมตตาธรรมและมีจิตวิทยาในการโน้มน้าว ทำให้การดำเนินงานเป็นไปเพื่อประโยชน์ส่วนรวม และบรรลุเป้าหมาย เกิดการเชื่อมประสานเครือข่ายของชุมชนให้เข้มแข็งและยั่งยืนได้

๒) สภาพทั่วไปของป่าชุมชน อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน เป็นการจัดการป่าที่ยึดถือวิถีชีวิตของชุมชนกับการพึ่งพาอาศัยธรรมชาติเป็นหลัก โดยชุมชนร่วมกันดูแลรักษาและใช้ประโยชน์จากความอุดมสมบูรณ์ของป่าชุมชน มีกฎกติกาที่กำหนดขึ้นบังคับใช้อย่างเหมาะสม ผ่านคณะกรรมการของหมู่บ้าน มีผู้ใหญ่บ้านเป็นประธาน กำกับดูแลโดยหน่วยงานทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม จังหวัดน่าน

๓) แนวทางในการเสริมสร้างความสมานฉันท์นั้น ต้องนำหลักรัฐศาสตร์มาใช้ควบคู่ในการจัดการกับพื้นที่ป่าชุมชน ที่ยังมีความขัดแย้งกันอยู่ ต้องยึดถือประโยชน์สูงสุดของชุมชนเป็นที่ตั้ง   และการเสริมสร้างความสมานฉันท์ต้องนำหลักสารณียธรรมมาบูรณาการประยุกต์ใช้ เพื่อให้เกิดการยอมรับทั้งสองฝ่าย

ดาวน์โหลด

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕