หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระธีรวัต จรณธมฺโม
 
เข้าชม : ๑๖๗๕๕ ครั้ง
การประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท ๔ ของบุคลากรเพื่อการบริหารจัดการ อบต. อำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก
ชื่อผู้วิจัย : พระธีรวัต จรณธมฺโม ข้อมูลวันที่ : ๑๕/๐๒/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูสิริรัตนานุวัตร
  พระครูพิพิธจารุธรรม
  -
วันสำเร็จการศึกษา : 2560
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาสภาพการของ อบต. อำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก ๒) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบทัศนะของบุคลากรต่อการประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท ๔ เพื่อการบริหารจัดการ อบต. อำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ๓) เพื่อศึกษาแนวทางการประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท ๔ ของบุคลากรไปใช้เพื่อการพัฒนาการบริหารจัดการ อบต. อำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก จะเป็นวิธีการวิจัยแบบผสมผสาน (Mix Research) โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่บุคลากรที่ปฏิบัติงานขององค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก ปี พ.. ๒๕๕๘ ได้แก่ข้าราชการประจำและลูกจ้างจำนวน ๑๒๐ คน ซึ่งเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA)

ผลการวิจัยพบว่า

อบต.อำเภอวัดโบสถ์ มีทั้งหมด ๖ แห่ง คือ อบต. ตำบลวัดโบสถ์ อบต.ท่างาม อบต.ท้อแท้ อบต.บ้านยาง อบต.หินลาด และ อบต.คันโช้ง ซึ่งในแต่ละ อบต. มีการประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท ๔ เหมือนกัน ดังนี้

ด้านการประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท ๔ ของบุคลากรเพื่อการบริหารจัดการ อบต. อำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายละเอียดในแต่ละด้าน คือ ด้านฉันทะ วิริยะ จิตตะ และวิมังสา พบว่า การประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท ๔ ของบุคลากรเพื่อการบริหารจัดการ อบต.ในอำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก อยู่ในระดับมากทุกด้าน

ด้านผลการเปรียบเทียบ การประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท ๔ เพื่อการบริหารจัดการ อบต. อำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก โดยจำแนกตามข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคลพบว่า บุคลากรที่มี เพศ อายุ ระดับการศึกษา ตำแหน่ง และรายได้ต่อเดือน โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕  ดังนั้น จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย

ด้านปัญหาและอุปสรรคในการประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท ๔ พบว่ามีปัญหาและอุปสรรค คือ การทำงานในบางครั้งผู้บังคับบัญชาจะไม่ฟังข้อเสนอของบุคลากร บุคลากรขาดการพัฒนา บุคลากรควรเอาใจใส่ในหน้าที่ของตัวเองที่ได้รับมอบหมาย อีกทั้งบุคลากรบางส่วนไม่ค่อยใช้ปัญญาพิจารณาใคร่ครวญหาเหตุผล ดังนั้น จึงทำให้การประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท ๔ ภายในองค์กรไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์เท่าที่ควร ข้อเสนอแนะมีดังนี้  ๑. ด้านฉันทะ บุคลากรที่ปฏิบัติงานควรมีการยอมรับการติชม ของผู้มาใช้บริการว่าดีหรือไม่ดี ควรปรับปรุงในด้านใดบ้าง อีกทั้งพร้อมที่จะปฏิบัติหน้าที่ของตัวเองสุดอย่างความสามารถ  . ด้านวิริยะ บุคลากรควรมีความพยายามในการปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายอย่างเร่งด่วน พร้อมทั้งอุทิศเวลาเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม ๓. ด้านจิตตะ เมื่อมอบหมายงานต่างๆแล้ว บุคลากรควรเอาใจใส่ในงานนั้น เพื่อเป็นที่ยอมรับของเพื่อนร่วมงานและผู้มาติดต่องาน ๔. ด้านวิมังสา การทำงานทุกครั้งนั้นมักมีอุปสรรคนานาประการ เพราะฉะนั้น บุคลากรควรปรับปรุงให้เข้ากับสถานการณ์อยู่เสมอ เพื่อประโยชน์ส่วนรวม เพื่อประสานร่วมกันในการปฏิบัติงาน

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕