หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » คณิศร กิตติกรปรีดา
 
เข้าชม : ๑๖๗๖๔ ครั้ง
แนวทางการเสริมสร้างสังคมสันติสุขตามหลักศีล ๕: กรณีศึกษา ชุมชน พระบาทห้วยต้ม จังหวัดลำพูน(สันติศึกษา)
ชื่อผู้วิจัย : คณิศร กิตติกรปรีดา ข้อมูลวันที่ : ๑๖/๐๒/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาหรรษา
  ขันทอง วัฒนะประดิษฐ์
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๙ มีนาคม ๒๕๕๙
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ (๑) เพื่อศึกษาศีล ๕ ในพุทธศาสนาเถรวาท (๒) เพื่อศึกษาสภาพและบริบทการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขของชุมชนพระบาทห้วยต้ม (๓) เพื่อศึกษาวิเคราะห์แนวทางการเสริมสร้างสังคมสันติสุขของชุมชนพระบาทห้วยต้ม ตามหลักศีล ๕ ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) แบบภาคสนามโดยสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน ๗ คน ผลการศึกษาพบว่า      

๑) ศีล ๕ เป็นปัจจัยพื้นฐานในการดำเนินชีวิตให้มนุษย์สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข โดยไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกันทั้ง ทางกาย ทางวาจา ทางใจ นอกจากมนุษย์ควรรักษาศีล ๕ ยังควรสรรเสริญการมีศีล ๕ พร้อมกับชักชวนให้ผู้อยู่รอบข้างรักษาศีล ๕

๒) ประชาชนในชุมชนพระบาทห้วยต้มมีการรักษาศีล ๕ เพราะศรัทธาคำสอนของครูบาชัยวงศ์ษา และได้นำมาเขียนเป็นกฎบ้านจำนวน ๖ ข้อ ซึ่งสามารถสร้างความปรองดอง และความสามัคคีในชุมชน ทำให้ชุมชนเกิดสันติสุข อย่างยั่งยืน

๓) แนวทางการเสริมสร้างสังคมสันติสุขตามหลักศีล ๕ ของพระบาทห้วยต้ม พบว่า                   มีเกณฑ์คุณลักษณะเครื่องบ่งชี้อยู่ ๓ ประการ ได้แก่ ๑) ทางด้านกายภาพ คือ การวางระบบและการนำกฎ กติกา ข้อตกลงชุมชนมาบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ และมีความเข้มแข็ง มีคณะกรรมการหมู่บ้านที่เสียสละและเป็นจิตอาสาที่มีคุณธรรม  ๒) ทางด้านพฤติกรรม  คือ การสร้างเสริมและตอกย้ำให้ชุมชนรักษาศีล ๕ ให้อยู่ในวิถีการดำเนินชีวิตและสร้างวัฒนธรรมคนมีศีลมีธรรม ๓) ทางด้านจิตใจ คือ การมีผู้นำทางจิตวิญญาณ ที่เป็นต้นแบบและเป็นกัลยาณมิตร มีพลังเข้มแข็ง สามารถสร้างศรัทธา และเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของชุมชนได้ ทั้งหมดนี้ มีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องเชื่อมโยง เป็นชุมชนสันติสุขในเชิงพุทธบูรณาการเป็นสะพานพร้อมที่จะทอดสายสัมพันธ์และเชื่อมประสานสังคมให้สามัคคี มีสันติภาพและอยู่ร่วมกันได้อย่างมีสันติสุข

 

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕