หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูใบฎีกาสมบัติ ปภาโส
 
เข้าชม : ๑๖๗๕๖ ครั้ง
การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงพุทธของวัดป่าเลไลยก์วรวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี(การจัดการเชิงพุทธ)
ชื่อผู้วิจัย : พระครูใบฎีกาสมบัติ ปภาโส ข้อมูลวันที่ : ๑๙/๐๒/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ธัชชนันท์ อิศรเดช
  -
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๕ มีนาคม ๒๕๕๘
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ ๑) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงพุทธของวัดป่าเลไลยก์วรวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี ๒) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงพุทธของวัดป่าเลไลยก์วรวิหาร อำเภอเมือง  จังหวัดสุพรรณบุรี  โดยจำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล ๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงพุทธของวัดป่าเลไลยก์วรวิหาร อำเภอเมือง  จังหวัดสุพรรณบุรี ดำเนินการวิจัยแบบผสม (Mixed Method Research) โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In depth Interview) ซึ่งศึกษากับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นประชาชนที่มาท่องเที่ยววัดป่าเลไลยก์วรวิหาร อำเภอเมือง  จังหวัดสุพรรณบุรี โดยผู้วิจัยกำหนดกลุ่มตัวอย่างจำนวน ๔๐๐ คน ใช้วิธีการสุ่มแบบบังเอิญ (Accidental Sampling) วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) การทดสอบค่าที (t – test) และค่าเอฟ (F – test)  โดยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) ทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธี (Least Significant Difference : LSD) โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ และข้อคำถามปลายเปิดที่แสดงปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะแนวทางเกี่ยวกับการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงพุทธของวัดป่าเลไลยก์วรวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี ทำการจัดกลุ่มตามประเด็นที่กำหนดใช้ในแบบสอบถามปลายเปิดจากนั้นจะทำการวิเคราะห์ โดยใช้การแจกแจงความถี่ (Frequency)  และข้อมูลจากการสัมภาษณ์จะทำการจัดกลุ่มข้อมูล (Data Grouping) ตามสาระสำคัญของประเด็นการสัมภาษณ์ จากนั้นจะทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา (Content Analysis Technique)

 

 

                ผลการวิจัยพบว่า                              

๑. ความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามที่มีต่อการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงพุทธของวัดป่าเลไลยก์วรวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี โดยภาพรวมนั้นอยู่ในระดับมาก  (= ๔.๐๓) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน

๒. ผลการวิเคราะห์ความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามที่มีต่อการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงพุทธของวัดป่าเลไลยก์วรวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามทางด้านเพศ และวุฒิการศึกษา พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามนั้นมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงพุทธของวัดป่าเลไลยก์วรวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี ไม่แตกต่างกัน และทางด้าน อายุ อาชีพ และรายได้ต่อเดือน พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามนั้นมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงพุทธของวัดป่าเลไลยก์วรวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕

๓. ปัญหาอุปสรรคเกี่ยวกับ การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงพุทธของวัดป่าเลไลยก์วรวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี พบว่า การจัดสถานที่รับศรัทธา มีพื้นที่ในการจัดสถานที่อยู่บางส่วน, ศาสนสถาน ลานวัด มีการทำกิจกรรมเกี่ยวกับทางพระพุทธศาสนาและแหล่งท่องเที่ยวภายในวัดอยู่พอใช้, เจ้าหน้าที่ของทางวัดให้ข้อมูลและความรู้อยู่พอใช้

๔.. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับ การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงพุทธของวัดป่าเลไลยก์วรวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี พบว่า ทางวัดควรมีการเพิ่ม และขยายในการจัดสถานที่รับศรัทธา ให้มีเพิ่มขึ้นอย่างพองาม, ทางร้านค้า และร้านขายสินค้าของทางวัดควรจัดหาสินค้าเพิ่ม หรือบริการให้เป็นอย่างดี เพื่อโปรโมทและหานักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น, ภายในศาสนสถาน ควรมีการตรวจสอบและปรับปรุงตามสถานการณ์

 

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕