หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » วนิดา บุญส่ง
 
เข้าชม : ๒๐๐๑๒ ครั้ง
การบริหารงานบุคคลโดยปราศจากหลักอคติ ๔ ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ (สาขาวิชาการบริหารการศึกษา)
ชื่อผู้วิจัย : วนิดา บุญส่ง ข้อมูลวันที่ : ๒๐/๐๒/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  อดิศัย กอวัฒนา
  วรกฤต เถื่อนช้าง
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๘ /กุมภาพันธ์ / ๒๕๕๘
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาการบริหารงานบุคคลโดยปราศจากหลักอคติ   ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา  อำเภอชุมแสง  จังหวัดนครสวรรค์ ๒) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารงานบุคคลโดยปราศจากหลักอคติ  ๔ ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา อำเภอชุมแสง  จังหวัดนครสวรรค์  จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ ๓) เพื่อทราบปัญหา แนวทาง และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการศึกษา การบริหารงานบุคคลโดยปราศจากหลักอคติ ๔ ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา อำเภอชุมแสง  จังหวัดนครสวรรค์ ของข้าราชการครูที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับงานด้านการบริหารงานบุคคล ในอำเภอชุมแสง  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต ๑ โดยศึกษากับกลุ่มตัวอย่าง คือข้าราชการครูประจำปีการศึกษา พ.ศ.๒๕๕๗ ของสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต ๑ จำนวน ๑๒ โรงเรียน จำนวนขนาดกลุ่มตัวอย่าง  ๑๖๒ คน ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงสำรวจรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบโดยการทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA) เมื่อพบว่ามีความแตกต่างกันจึงทำการเปรียบเทียบรายคู่โดยมีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference: LSD) และสรุปข้อมูลปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ โดยวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลที่ได้       

ผลการวิจัย พบว่า  ข้าราชการครูในโรงเรียนประถมศึกษาต่อการบริหารงานบุคคลโดยปราศจากหลักอคติ ๔ ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา อำเภอชุมแสง  จังหวัดนครสวรรค์ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก   (  = .๗๔) เมื่อพิจารณารายละเอียดในแต่ละด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกข้อ

ผลการเปรียบเทียบการศึกษาหลักอคติ ๔ ที่มีผลต่อความคิดเห็นของข้าราชการครูในโรงเรียนประถมศึกษาต่อการบริหารงานบุคคล ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา อำเภอชุมแสง  จังหวัดนครสวรรค์ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = .๗๔) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านก็พบว่าไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัยเมื่อมองในภาพรวม และแบ่งเป็นกลุ่มตามปัจจัยส่วนบุคคล คือ เพศ,อายุ,วุฒิการศึกษา,ตำแหน่ง และประสบการณ์ทำงาน ก็พบว่าไม่แตกต่างกันตามนัยสำคัญทางสถิติที่ .๐๕ จึงปฎิเสธสมมติฐาน และยังพบว่าแตกต่างกัน ยอมรับสมมติฐานการวิจัย เฉพาะสถานภาพส่วนบุคคล ดังนี้ ตำแหน่ง คือ ด้านภาพรวม ก็พบว่าแตกต่างกันตามนัยสำคัญทางสถิติที่ .๐๕ ด้านฉันทาคติ ก็พบว่าแตกต่างกันตามนัยสำคัญทางสถิติที่ .๐๕ ด้านโทสาคติ  ก็พบว่าแตกต่างกันตามนัยสำคัญทางสถิติที่ .๐๕ ด้านภยาคติ ก็พบว่าแตกต่างกันตามนัยสำคัญทางสถิติที่ .๐๕ และด้านโมหาคติ ก็พบว่าแตกต่างกันตามนัยสำคัญทางสถิติที่ .๐๕ จึงยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้  และประสบการณ์ทำงาน คือ ด้านฉันทาคติ ก็พบว่าแตกต่างกันตามนัยสำคัญทางสถิติที่ .๐๕ ด้านโทสาคติ  ก็พบว่าแตกต่างกันตามนัยสำคัญทางสถิติที่ .๐๕ ด้านภยาคติ ก็พบว่าแตกต่างกันตามนัยสำคัญทางสถิติที่ .๐๕  จึงยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้  ตามนัยสำคัญทางสถิติที่ .๐๕ จึงยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้

องค์ความรู้แนวทางการพัฒนาในการดำเนินงานการบริหารงานบุคคลโดยปราศจากหลักอคติ ๔ ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา อำเภอชุมแสง  จังหวัดนครสวรรค์ พบว่า บุคลากรเป็นผู้ปฏิบัติงานทั้งงานในหน้าที่ และภารกิจที่ได้รับมอบหมาย โดยอาศัยกรอบการปฏิบัติงานตามหลักการบริหารงานบุคคล โดยการใช้หลักธรรมที่ปราศจากอคติ ๔ เมื่อผ่านกรอบการปฏิบัติ เรียบร้อยแล้ว จะเข้าสู่กระบวนการวิเคราะห์ โดยขั้นตอนนี้จะเป็นการบริหารซึ่ง หมายถึงการตรวจรูปแบบ วัตถุประสงค์ ผลที่คาดว่าจะได้รับ และประโยชน์ของการดำเนินงาน หากผลที่ได้รับผ่านทุกหลักเกณฑ์และคุ้มค่าต่อการปฏิบัติ ก็จะนำผลงานที่ได้รับไปประยุกต์และพัฒนาให้ใช้งานได้จริง ให้เกิดผลจริง ตรงกันข้ามหากผ่านขั้นตอนการวิเคราะห์งานแล้ว ผลที่ได้ไม่คุ้มค่ากับการปฏิบัติ บุคลากรก็จะต้องนำ งานกลับมาปรับปรุง/แก้ไข เพื่อทบทวนหาข้อผิดพลาด โดยผ่านกรอบการดำเนินงาน ทำเช่นนี้จนกว่าผลลัพธ์นั้นจะออกมามีประสิทธิภาพ เอื้ออำนวยต่อการปฏิบัติงานจริง อนึ่ง หากบุคลากรใช้ความละเอียดอ่อนในการปฏิบัติงาน อย่างมีสติ ผลงานที่ได้รับก็จะประสบความสำเร็จมีประสิทธิภาพอย่างแน่นอน และยั่งยืน ทั้งนี้ ความมีประสิทธิภาพที่เกิดแก่ตัวบุคลากรก็จะเป็นเสมือนตัวชี้วัดที่ส่งผลให้การบริหารงานบุคคล โดยการใช้หลักธรรมที่ปราศจากอคติ ๔ ในสถานศึกษา ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕