หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พรสวรรค์ รอดคล้าย
 
เข้าชม : ๑๖๗๕๘ ครั้ง
ความคิดเห็นของครูที่มีต่อการบริหารงานวิชาการตามหลักสังคหวัตถุ ๔ ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต ๑ (การบริหารการศึกษา)
ชื่อผู้วิจัย : พรสวรรค์ รอดคล้าย ข้อมูลวันที่ : ๒๐/๐๒/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาสมบูรณ์ สุธมฺโม
  สุภกิจ โสทัด
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

             การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็น เปรียบเทียบความคิดเห็น และวิเคราะห์ปัญหาและข้อเสนอแนะของครูเกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการตามหลักสังคหวัตถุ ๔ ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต ๑ โดยใช้แผนการวิจัยเชิงปริมาณ รวบรวมข้อมูลจากครู ๘ โรงเรียน รวม ๒๑๖ คน โดยการคำนวณตามสัดส่วนของจำนวนครูทั้งหมดในโรงเรียนนั้น  จากนั้นจึงใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t–test) และทดสอบค่าเอฟ (F–test)  โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) และเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของฟิชเชอร์ (Fisher’s Least-significant Difference: LSD)

 

ผลการวิจัยพบว่า

ความคิดเห็นของครูที่มีต่อการบริหารงานวิชาการตามหลักสังคหวัตถุ ๔ ในโรงเรียน
ขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต ๑ ประกอบด้วย ๗ ด้าน ได้แก่ ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ด้านการวัดผลการประเมินผลและเทียบโอนผลการเรียน ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา ด้านการพัฒนาสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา ด้านการนิเทศการศึกษา ด้านการประกันคุณภาพการศึกษาในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ รองลงมาคือด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ส่วนด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษามีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด

 

ผลการเปรียบเทียบจำแนกตามเพศ อายุ และประสบการณ์สอน พบว่า ครูที่มีเพศ อายุและประสบการณ์สอนต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการตามหลักสังคหวัตถุ ๔
โดยภาพรวม
ไม่แตกต่างกัน จึงไม่เป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้ แต่เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า มีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน จึงเป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕  ส่วนผลการเปรียบเทียบจำแนกตามสถานภาพสมรสและระดับการศึกษา พบว่า ครูที่มีสถานภาพสมรส และระดับการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการตามหลักสังคหวัตถุ ๔ ในภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน จึงไม่เป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้

 

ส่วนปัญหาและข้อเสนอแนะ ผลการวิจัยพบว่า ครูมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการตามหลักสังคหวัตถุ ๔ หลายประเด็น กล่าวคือ ผู้บริหารงานวิชาการควรเป็นผู้นำในการพัฒนาทั้ง ๗ ด้าน โดยด้านการพัฒนาหลักสูตรต้องมีการจัดทำแผนปฏิบัติงานวิชาการให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาหรือจุดหมายของสถานศึกษาโดยให้ยึดประโยชน์ของส่วนร่วมเป็นหลัก
ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ผู้บริหารควรมีการวางแผนพัฒนากระบวนการเรียนรู้โดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและให้สอดคล้องกับการปฏิรูปการศึกษา ด้านการวัดผล การประเมินผลและเทียบโอนผลการเรียน ผู้บริหารควรเปิดโอกาสให้บุคลากรในสถานศึกษามีส่วนร่วมในการพัฒนาเครื่องมือประเมินการเรียนรู้ให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา
ผู้บริหารควรส่งเสริมและสนับสนุนงบประมาณให้ครูผู้สอนมีผลงานการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อเป็นผู้นำทางวิชาการ ด้านการพัฒนาสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา ผู้บริหารควรสร้างความตระหนักให้ครูผู้สอนเห็นความสำคัญของการใช้สื่อ สามารถจัดหาสื่อ
ประจำท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้เป็นสื่อการเรียนรู้ได้ ด้านการนิเทศการศึกษา ผู้บริหารควรมีแผนการนิเทศสถานศึกษาและเปิดโอกาสให้ครูได้เยี่ยมชมสถานศึกษาที่มีผลงานดีเด่น ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา ผู้บริหารควรมีแผนและระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา รวมทั้งเผยแพร่การดำเนินงานต่อสาธารณะชน

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕