หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาวิษณุ วิสุทฺธิเมธี (ใยเกตุ)
 
เข้าชม : ๒๐๐๓๑ ครั้ง
การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมโดยผ่านกิจกรรมการเรียนการสอนของนักเรียนโรงเรียนประถมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ฉะเชิงเทรา เขต ๒ (การบริหารการศึกษา
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาวิษณุ วิสุทฺธิเมธี (ใยเกตุ) ข้อมูลวันที่ : ๐๕/๐๓/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  อินถา ศิริวรรณ
  สมชัย ศรีนอก
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๘ มีนาคม ๒๕๕๘
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

   การศึกษาเรื่อง การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมโดยผ่านกิจกรรมการเรียนการสอนของนักเรียนโรงเรียนประถมศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต ๒ ครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมโดยผ่านกิจกรรมการเรียนการสอนของนักเรียนโรงเรียนประถมศึกษา และเพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาที่มีต่อการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมโดยผ่านกิจกรรมการเรียนการสอนของนักเรียนโรงเรียนประถมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะชิงเทรา  เขต ๒ และกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนโรงเรียนประถมศึกษา จำนวน ๑๗๙ คน โดยมีค่า IOC แบบสอบถามตามวัตถุประสงค์หรือตรงตามเนื้อหามีค่าที่ ๐.๘ - ๑.๐ โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) ตามตารางสำเร็จรูปของ Krejcie & Morgan สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล หาค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) สถิติทดสอบค่าที (t-test)  และสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way Analysis of Variance: F-test) โดยใช้โปรแกรมวิจัยทางสังคมศาสตร์อย่างแพร่หลาย

    ผลการวิจัย มีดังนี้

๑.  ผลการวิเคราะห์ข้อมูลความคิดเห็นนักเรียนต่อการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมโดยผ่านกิจกรรมการเรียนการสอน ภาพรวม ทั้ง ๘ ด้าน อยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านความมีระเบียบวินัย  ด้านความสุภาพ ด้านความซื่อสัตย์ ด้านความสามัคคี  ด้านความสะอาด  ด้านความมีน้ำใจ          ด้านความประหยัด และด้านความขยัน ตามลำดับ

 

   

๒. ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบความคิดเห็นนักเรียนต่อการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมโดยผ่านกิจกรรมการเรียนการสอน จำแนกตามเพศ โดยการทดสอบค่าที (t-test) ภาพรวม ทั้ง ๘ ด้าน   ปรากฏว่า ข้อ ๑ คือ ด้านความขยัน นักเรียนมีความคิดเห็นต่อการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมโดยผ่านกิจกรรมการเรียนการสอน ไม่แตกต่างกัน อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ ๐.๐๕ ส่วน ๗ ข้อ นักเรียนมีความคิดเห็นต่อการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมโดยผ่านกิจกรรมการเรียนการสอน แตกต่างกัน อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ ๐.๐๕

๓.  ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบความคิดเห็นนักเรียนต่อการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมโดยผ่านกิจกรรมการเรียนการสอน ตามระดับชั้นเรียน ภาพรวม ทั้ง ๘ ด้าน มีข้อ ๑,๓,๔,๕,และ๗  ที่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ๐.๐๕ ส่วน ข้อ ๒,๖,และ๘ นักเรียนมีความคิดเห็นต่อการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมโดยผ่านกิจกรรมการเรียนการสอน แตกต่างกัน อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ ๐.๐๕

๔.  ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบความคิดเห็นนักเรียนต่อการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมโดยผ่านกิจกรรมการเรียนการสอน ตามระดับอายุ ภาพรวม ทั้ง ๘ ด้าน มีข้อ ๑,๒,๕,๖,และ๗  ที่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ๐.๐๕ ส่วน ข้อ ๓,๔,และ๘ นักเรียนมีความคิดเห็นต่อการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมโดยผ่านกิจกรรมการเรียนการสอน แตกต่างกัน อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ ๐.๐๕

แนวทางการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมโดยผ่านกิจกรรมการเรียนการสอน

๑. ด้านความขยัน  โรงเรียนควรจัดกิจกรรมพัฒนาให้นักเรียนช่วยพ่อแม่ทำงานบ้านอย่างสม่ำเสมอ  ควรตั้งใจเรียนหนังสือให้มากและทำงานที่ครูมอบหมายให้สำเร็จ

๒. ด้านความประหยัด  โรงเรียนควรจัดกิจกรรมพัฒนาการใช้จ่ายเงินจากพ่อแม่อย่างประหยัดและควรมีการส่งเสริมกิจกรรมการเก็บออมเงินเพื่อใช้ในคราวจำเป็น

๓. ด้านความซื่อสัตย์ โรงเรียนควรจัดกิจกรรมพัฒนาให้นักเรียนมีความซื่อสัตย์ต่อพ่อแม่ และครูให้มากและประพฤติตนตามคำสั่งสอนของพ่อแม่ครู ในการทำงาน

๔. ด้านความมีระเบียบวินัย  โรงเรียนควรจัดกิจกรรมพัฒนาการแต่งกายถูกต้องตามกฎระเบียบของโรงเรียนและต้องมีวินัยในตนเอง และควรให้นักเรียนมาโรงเรียนเวลาเช้าๆเพื่อจะได้เข้าแถวเคารพธงชาติ

๕. ด้านความสุภาพ  โรงเรียนควรจัดกิจกรรมพัฒนาการพูดด้วยคำที่สุภาพเรียบร้อย  กับผู้ใหญ่และครูด้วยวาจาอ่อนน้อมถ่อมตนตลอดถึงการทำความเคารพคุณพ่อคุณแม่ก่อนมาโรงเรียน

๖. ด้านความสะอาด  โรงเรียนควรจัดกิจกรรมพัฒนาการรักษาความสะอาดบริเวณรอบ โรงเรียนตามเวรสี  และเก็บกวาดบริเวณบ้านของตนเองในเวลาหยุดเรียน 

๗. ด้านความสามัคคี  โรงเรียนควรจัดกิจกรรมพัฒนาให้นักเรียนไม่ควรก่อการทะเลาะวิวาทกันเพื่อให้เกิดความแตกแยก และควรให้ความร่วมมือในการจัดกิจกรรมของโรงเรียนเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม

๘. ด้านความมีน้ำใจ  โรงเรียนควรจัดกิจกรรมพัฒนาให้นักเรียนช่วยพ่อแม่และครูในการทำงานต่างๆ ที่รับมอบหมาย

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕