หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระวันชัย ธมฺมฺปูชโก (มีมากบาง)
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๓ ครั้ง
กระบวนการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตชุมชนในอำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี (การพัฒนาสังคม)
ชื่อผู้วิจัย : พระวันชัย ธมฺมฺปูชโก (มีมากบาง) ข้อมูลวันที่ : ๑๐/๐๓/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาสม กลฺยาโณ
  บัว พลรัมย์
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๗ มีนาคม ๒๕๕๙
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

 

 

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ ๑)  เพื่อศึกษากระบวนการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตชุมชนในอำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี ๒) เพื่อวิเคราะห์กระบวนการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตชุมชนในอำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี จากอดีตถึงปัจจุบัน  ๓)  เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะ กระบวนการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตชุมชนในอำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี  การศึกษาวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ใช้วิธีเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร และการสังเกต การสัมภาษณ์ผู้นำชุมชน กำหนดให้เป็นผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key Informants) จำนวน ๑๕ คน เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกที่มีโครงสร้าง (Structured in-depth interview) เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกตัวต่อตัว วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการพรรณนาความ (Descriptive Interpretation)

ผลการวิจัยพบว่า

๑) กระบวนการการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของประชาชนในอำเภอบางใหญ่ ได้เริ่มเกิดมีขึ้นมาเป็นระยะเวลาหลายทศวรรษมาแล้ว จากการศึกษาพบว่า กระบวนการการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของประชาชนในอำเภอบางใหญ่ มีความเปลี่ยนแปลงใน ๕ ด้าน คือ ด้านความเป็นอยู่ ประเพณีและวัฒนธรรม ด้านสังคม ด้านการศึกษา และด้านสิ่งแวดล้อม

๒) จากการศึกษาวิเคราะห์กระบวนการการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของประชาชนในอำเภอบางใหญ่ พบว่า กระบวนการการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของประชาชนในอำเภอบางใหญ่ได้เกิดขึ้น โดยเป็นผลการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านบวกและด้านลบ ซึ่งครอบคลุมใน ๕ ด้าน ได้แก่ ด้านบวกสำหรับด้านชีวิตความเป็นอยู่   มีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นจากการประกอบธุรกิจต่างๆ และการขยายตัวทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น ด้านสังคมมีการเปลี่ยนแปลงทางความสัมพันธ์เป็นความสัมพันธ์เชิงธุรกิจ ด้านประเพณีและวัฒนธรรมมีการการอนุรักษ์และฟื้นฟูประเพณีดั้งเดิม ด้านการศึกษามีการพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้นมีคุณภาพการศึกษาดีขึ้น และด้านสิ่งแวดล้อมมีส่วนที่ดีอยู่เนื่องมีพื้นที่ควบคุม พื้นที่สีเขียว ในขณะที่ด้านลบด้านความเป็นอยู่ ประชากรเพิ่มจำนวนมากขึ้น ทำให้มีความหนาแน่นของที่อยู่อาศัยเกิดการแก่งแย่งผลประโยชน์มากขึ้น ด้านสังคม ความสัมพันธ์แบบเอื้อเฟื้อเพื่อแผ่ดูแลกันลดลง ด้านการศึกษา มีการแก่งแย่งแข่งขันในเรื่องของผลประโยชน์ของสถานศึกษา ด้านประเพณีและวัฒนธรรม มีการเปลี่ยนแปลงค่านิยมบางอย่างทำให้เกิดความแตกแยกในชุมชน และด้านสภาพสิ่งแวดล้อมในบ้างพื้นที่เกิดความเสียและถูกทำลายเนื่องจากการขยายตัวของชุมชน มีการบุกรุกพื้นที่สาธารณประโยชน์ อากาศมีความเปลี่ยนแปลงมีมลพิษมาขึ้น

๓) จากการศึกษาปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ พบว่า ด้านความเป็นอยู่ ควรมีการส่งเสริมให้มีการจัดที่อยู่อาศัยของประชาชนให้สวยงาม และจัดการแบ่งปันผลประโยชน์ของประชาชน ด้านสังคม ควรมีการส่งเสริมความสัมพันธ์แบบเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ดูแลกัน ด้านการศึกษา ควรมีหน่วยงานกำกับดูแลด้านการแก่งแย่งแข่งขันในเรื่องของผลประโยชน์ของสถานศึกษา ด้านประเพณีและวัฒนธรรม ควรมีการส่งเสริมชุมชนแห่งความปองดองให้เกิดขึ้นอย่างครอบคลุม และด้านสภาพสิ่งแวดล้อม ควรส่งเสริมฟื้นฟูพื้นที่เสียหายจากการขยายตัวของชุมชน และควรมีการป้องกันการบุกรุกพื้นที่สาธารณประโยชน์ และร่วมใจกันปลูกต้นไม้เพื่อเป็นการลดมลพิษในอากาศ

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕