หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระวีรชัย ขนฺติโก (อ่อนแก้ว)
 
เข้าชม : ๑๖๗๕๕ ครั้ง
การพัฒนาชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งยาว อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง (การพัฒนาสังคม)
ชื่อผู้วิจัย : พระวีรชัย ขนฺติโก (อ่อนแก้ว) ข้อมูลวันที่ : ๑๐/๐๓/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ณัฐพงศ์ สังวรวรรณ์
  บัว พลรัมย์
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒ มีนาคม ๒๕๕๙
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ ๑) เพื่อศึกษาการพัฒนาชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งยาว อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง ๒) เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อการพัฒนาชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งยาว อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง และ ๓) เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะในการพัฒนาชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งยาว อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง การศึกษาวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods) โดยการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการแจกแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ ประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งยาว อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง จำนวน ๓๗๐ คน และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เป็นการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) จำนวน ๑๔ คน โดยเลือกแบบเจาะจงจากผู้มีประสบการณ์และผู้ทรงคุณวุฒิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นโปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้ คือ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และทดสอบสมมติฐาน โดยการทดสอบค่าที (t-test) ในกรณีตัวแปรต้นสองกลุ่ม และการทดสอบค่าเอฟ (F-Test) ด้วยวิธีวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) ในกรณีตัวแปรต้นสามกลุ่มขึ้นไป และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการพรรณนาความ (Descriptive Interpretation)

 

 

          ผลการวิจัยพบว่า

๑) ข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงจำนวน  ๒๑๑  คน คิดเป็นร้อยละ ๕๗.๕ มีอายุอยู่ระหว่าง ๓๑๔๐ ปี จำนวน ๑๔๑ คน คิดเป็นร้อยละ  ๓๘.๔ มีการศึกษาระดับมัธยมศึกษา  จำนวน ๑๐๓ คน  คิดเป็นร้อยละ  ๒๘.๑  มีอาชีพเกษตรกรรม จำนวน  ๑๖๕  คน  คิดเป็นร้อยละ  ๔๕.๐  มีรายได้ต่อปีระหว่าง  ๘๐,๐๐๐ – ๑๒๐,๐๐๐ บาท จำนวน  ๑๓๔  คน  คิดเป็นร้อยละ ๓๖.๕

   ๒) ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการพัฒนาชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งยาว อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง  โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (= .๑๐) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน คือ ด้านการคมนาคมและโครงสร้างพื้นฐาน ด้านเศรษฐกิจ ด้านการเมืองการบริหาร ด้านการศึกษา วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และด้านคุณภาพชีวิตและสังคม  อยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน

๓)       ผลเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อการพัฒนาชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งยาว อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่าประชาชนที่มีอายุ การศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อปี  แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการพัฒนาชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งยาว อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง  แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ ๐.๐๑ จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย  และประชาชนที่มีเพศ  ต่างกันมีความคิดเห็นต่อการพัฒนาชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งยาว  อำเภอปะเหลียน  จังหวัดตรัง ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย

๔) ปัญหาและอุปสรรคที่พบ คือ ด้านคมนาคมและโครงสร้างพื้นฐาน ขาดงบประมาณในการซ่อมแซมถนน ด้านเศรษฐกิจ ราคาสินค่าตกต่ำ ด้านการเมืองการบริหาร ไม่สามารถบริหารโครงการต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ด้านคุณภาพชีวิตและสังคม ยาเสพติดยังคงแพร่หลายในชุมชน ส่วนข้อเสนอแนะ ได้แก่ ควรมีการเพิ่มงบประมาณในการซ่อมแซมถนนอย่างเพียงพอ ควรมีการจัดตั้งสหกรณ์ชุมชนเพื่อเป็นศูนย์จำหน่ายสินค้า ควรมีโครงการพัฒนาชุมชนที่เป็นโครงการหลัก ควรมีโครงการเฝ้าระวังและให้โอกาสแก่ผู้ติดยาเสพติดได้อยู่ในสังคมอย่างคนปรกติทั่วไป

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕