หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » ปรีชญา เทพละออง
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๐ ครั้ง
ศึกษาผลของการเจริญกรรมฐานตามแนวอานาปานสติที่มีต่อสุขภาวะองค์รวม : กรณีศึกษาผู้ที่เข้าปฏิบัติธรรม ณ สำนักสงฆ์เจโตวิมุตติ จังหวัดกาญจนบุรี (ชีวิตและความตาย)
ชื่อผู้วิจัย : ปรีชญา เทพละออง ข้อมูลวันที่ : ๑๒/๐๓/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระสังฆรักษ์เอกภัทร อภิฉนฺโท
  เริงชัย หมื่นชนะ
  -
วันสำเร็จการศึกษา :
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อ  ๑) เพื่อศึกษาระดับสุขภาวะองค์รวม ของผู้ปฏิบัติกรรมฐานตามแนวอานาปานสติ ๒) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ที่มีผลต่อสุขภาวะองค์รวม ของผู้เจริญกรรมฐานตามแนวอานาปานสติ และ ๓) เพื่อศึกษาผลการกรรมฐานตามแนวอานาปานสติที่มีผลต่อสุขภาวะองค์รวม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้เข้าปฏิบัติธรรม ณ สำนักสงฆ์เจโตวิมุตติ    จังหวัดกาญจนบุรี เดือนมีนาคม ๒๕๕๗ ซึ่งได้มาโดยใช้สูตรการคำนวณกลุ่มตัวอย่างสำเร็จรูปของ R.V.Krejcie & D.W.Morgan ที่ระดับความเชื่อมั่น ๙๕% ค่าความคาดเคลื่อน ๐.๐๕ สุ่มจำนวนตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) จากประชากรตามขนาดของกลุ่มตัวอย่างที่กำหนดไว้ ได้กลุ่มตัวอย่าง ๒๑๗ คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ แบบสอบถาม (Questionnaire) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย ( )    ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และทดสอบสมมติฐานด้วยการทดสอบค่าที (t-test) การทดสอบค่าเอฟ (f - test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA)

ผลการวิจัยพบว่า

๑)  กลุ่มตัวอย่าง ข้อมูลทั่วไป ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน ๑๓๓ คน คิดเป็นร้อยละ ๖๑.๓  อายุ ๔๐ ปีขึ้นไป จำนวน ๘๗ คน  คิดเป็นร้อยละ ๔๐.๑ สถานภาพโสด จำนวน ๑๑๒ คน คิดเป็นร้อยละ ๕๑.๖ การศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี จำนวน ๑๑๕ คน คิดเป็นร้อยละ ๕๓.๐ อาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจจำนวน ๑๗๑ คน  คิดเป็นร้อยละ ๗๘.๘ มีรายได้สูงกว่า ๑๕,๐๐๑ บาท จำนวน ๑๐๖ คน คิดเป็นร้อยละ ๔๘.๘  และมีการปฏิบัติธรรมเป็นครั้งแรก จำนวน ๑๐๓ คน คิดเป็นร้อยละ ๔๗.๕

๒)  การเจริญกรรมฐานตามแนวอานาปานสติผู้เข้าปฏิบัติธรรม จำแนกเป็นรายข้อ พบว่ามีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับสูงสุด ๒ ข้อ ได้แก่ การตอบแบบสอบถามข้อที่ว่า ท่านมีความมุ่งมั่นในการทำงาน ( = ๔.๐๐) และท่านได้ตระหนักถึงความรับผิดชอบ ( = ๔.๐๐) รองลงมาได้แก่ ท่านมีจิตอาสา ได้ถือประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก ( = ๓.๘๙) และอยู่ในระดับสุดท้ายได้แก่ท่านควบคุมใจได้ เมื่อถูกสิ่งอื่นมากระทบ ( = ๓.๓๕)

๓)  สุขภาวะองค์รวม ผู้เข้าปฏิบัติธรรม ประกอบด้วย ๔ ด้านคือ กาย จิต สังคม และปัญญา โดยภาพรวม ( = ๓.๙๔) อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าการเจริญกรรมฐานตามแนวอานาปานสติผู้เข้าปฏิบัติธรรม ณ สำนักสงฆ์เจโตวิมุตติ จังหวัดกาญจนบุรี          มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับสูงสุดมี ๒ ด้าน ได้แก่ ด้านสังคม ( = ๔.๐๘) และด้านจิตใจ ( = ๔.๐๘)  รองลงมาคือ ด้านปัญญา ( = ๓.๙๗) และอยู่ในระดับสุดท้ายคือ ด้านกาย( = ๓.๖๖)

๔)  เมื่อเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคล จำแนกตามอายุและการศึกษา พบว่ามีระดับสุขภาวะองค์รวมไม่แตกต่างกัน ส่วนเพศ สถานภาพสมรส อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และจำนวนครั้งที่เข้าปฏิบัติกรรมฐาน พบว่า มีระดับสุขภาวะองค์รวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๑ และ ๐.๐๕

๕)  การวิเคราะห์เปรียบเทียบ ผลการเจริญกรรมฐานตามแนวอานาปนสติที่มีผลต่อสุขภาวะองค์รวม กลุ่มตัวอย่างที่เข้าปฏิบัติธรรม ณ สำนักสงฆ์เจโตวิมุตติ มีระดับสุขภาวะองค์รวมทั้ง ๔ ด้าน กาย ด้านจิต ด้านสังคม และด้านปัญญา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ๐.๐๑

ดาวน์โหลด

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕