หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » อาทิตยา สุขมาก
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๑ ครั้ง
การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุตามหลักไตรสิกขา : กรณีศึกษาสถานสงเคราะห์คนชราเฉลิมราชกุมารี (หลวงพ่อเปิ่นอุปถัมภ์) (ชีวิตและความตาย)
ชื่อผู้วิจัย : อาทิตยา สุขมาก ข้อมูลวันที่ : ๑๒/๐๓/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  สิริวัฒน์ ศรีเครือดง
  ประยูร สุยะใจ
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๓๐ มีนาคม ๒๕๕๙
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

 

 

การศึกษาวิจัยเรื่องการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุตามหลักไตรสิกขา กรณีศึกษา : สถานสงเคราะห์คนชราเฉลิมราชกุมารี (หลวงพ่อเปิ่นอุปถัมภ์)  มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทราบ  ๑ ) ศึกษาการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุตามหลักไตรสิกขา ของสถานสงเคราะห์คนชราเฉลิมราชกุมารี  (หลวงพ่อเปิ่นอุปถัมภ์) ๒ )  ศึกษาเปรียบเทียบการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุตามหลักไตรสิกขา ของสถานสงเคราะห์คนชราเฉลิมราชกุมารี (หลวงพ่อเปิ่นอุปถัมภ์)

 

การวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ   เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม  ศึกษาผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในสถานสงเคราะห์คนชราเฉลิมราชกุมารี (หลวงพ่อเปิ่นอุปถัมภ์) จำนวน ๓๑ คน โดยใช้สูตรทาโรยามาเน่  เพื่อตอบสมมติฐาน  สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย  ร้อยละ  การทดสอบ t-test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และ LSD  ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

ข้อมูลทั่วไปจากประชากรผู้สูงอายุ พบว่า เพศหญิงส่วนใหญ่ มีอายุ ๗๐–๗๙ ปี ผู้สูงอายุจำนวน ๑๕ คน  มีสถานภาพหม้าย จำนวน ๑๓ คน  ระดับการศึกษามัธยมศึกษาหรือต่ำกว่า  จำนวน  ๓๐ คน สถานภาพการทำงานอื่นๆ  (แม่บ้าน,ทำนา,ทำสวน)  จำนวน ๒๒ คน  และส่วนใหญ่มีความถี่

ในการนัดพบแพทย์ ๖ เดือนครั้ง จำนวน ๑๑ คน    

ระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุตามหลักไตรสิกขา  พบว่า  ผู้สูงอายุ  ของสถานสงเคราะห์คนชราเฉลิมราชกุมารี (หลวงพ่อเปิ่นอุปถัมภ์) มีการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักไตรสิกขาโดยรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย ๔.๐๕)  และเมื่อพิจารณาแยกเป็น ด้านศีล อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย ๔.๓๔) เป็นอันดับหนึ่ง รองลงมา ด้านสมาธิ อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย ๔.๐๑) และด้านปัญญา อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย ๓.๘๐) เป็นลำดับสุดท้าย

การเปรียบเทียบความแตกต่างการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุตามหลักไตรสิกขา  พบ

ว่าผู้สูงอายุที่มีอายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษาสูงสุด แหล่งรายได้หลัก และความถี่ในการนัดพบแพทย์แตกต่างกัน   ไม่เป็นปัจจัยให้คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ  ส่วนสถานภาพการทำงานแตกต่างกัน  มีส่วนทำให้การพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักไตรสิกขาแตกต่างกัน  อย่างมีนัย

สำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๑

สถานสงเคราะห์คนชราเฉลิมราชกุมารี (หลวงพ่อเปิ่นอุปถัมภ์) มีระบบการบริหารจัดการที่เอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักไตรสิกขา ด้านศีล  ทั้งนี้เนื่องจากสถานสงเคราะห์คนชรานี้ ตั้งอยู่ในบริเวณวัด  และมีโครงการหมู่บ้านศีล ๕ ตั้งอยู่  ซึ่งเอื้อต่อการปรับตัวทางสังคมในช่วงท้ายของชีวิต ช่วยให้การดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข ซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญมาก เป็นสิ่งที่นำไปสู่การมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี อันจะนำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดี

ผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์คนชราเฉลิมราชกุมารี (หลวงพ่อเปิ่นอุปถัมภ์)  ยังยึดติดกับความผิดพลาดในอดีต และหวนระลึกอยู่บ่อยครั้ง   ผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์คนชราเฉลิมราชกุมารี (หลวงพ่อเปิ่นอุปถัมภ์)  เมื่อพบอุปสรรค  หรือปัญหาในการดำรงชีวิตจึงไม่สามารถจัดการหรืออยู่ร่วม

กับปัญหาเหล่านั้นได้อย่างเรียนรู้และมีความสุข

 

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕