หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระวิชิตพงศ์ อมโร (สัตยาภิรมย์)
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๗ ครั้ง
ทัศนคติของพุทธศาสนิกชนต่อชีวิตและความตาย ตำบลปลายบาง อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี (ชีวิตและความตาย)
ชื่อผู้วิจัย : พระวิชิตพงศ์ อมโร (สัตยาภิรมย์) ข้อมูลวันที่ : ๑๒/๐๓/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระสังฆรักษ์เอกภัทร อภิฉนฺโท
  ประยูร สุยะใจ
  เริงชัย หมื่นชนะ
วันสำเร็จการศึกษา : ๓๐ มีนาคม ๒๕๕๘
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงปริมาณ ( Quantitative research )มีวัตถุประสงศ์เรื่อง ทัศนคติของพุทธศาสนิกชนต่อชีวิตและความตาย ตำบลปลายบางอำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี มีวัตถุประสงค์คือ ๑) เพื่อศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับชีวิตและความตายในพระพุทธศาสนาเถรวาท ๒) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบระดับทัศนคติของพุทธศาสนิกชนต่อชีวิตและความตายตำบลปลายบาง อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี จำแนกตามข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง ๓) เพื่อใช้เป็นแนวทางให้พุทธศาสนิกชนตระหนักและประพฤติตนให้เหมาะสมต่อชีวิตและความตายจําแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ทัศนคติของพุทธศาสนิกชนต่อชีวิตและความตาย ตำบลปลายบาง อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรีจํานวน๓๘๔ คนเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นแบบสอบถาม(Questionnaire) เรื่องทัศนคติต่อความตายในพระพุทธศาสนาเถรวาท สถิติที่ใช้ประกอบด้วยความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation ) สถิติที่ใช้การทดสอบสมมติฐาน IndependentSamples,

t-test, F-test,One-way ANOVA

 

ผลการศึกษาพบว่าพบว่า

ทัศนคติของพุทธศาสนิกชนต่อชีวิตและความตายตำบลปลายบาง อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี มีอายุน้อยกว่า ๑๕ ปี จำนวน ๒๔ คน คิดเป็นร้อยละ ๖.๒๕ อายุ ๑๖-๒๐ ปี จำนวน ๑๑๔ คน คิดเป็นร้อยละ ๒๙.๖๙ อายุ ๒๑-๒๕ ปี จำนวน ๑๒๕ คน คิดเป็นร้อยละ ๓๒.๕๕ และอายุมากกว่า ๒๕ ปี จำนวน ๑๒๑ คนคิดเป็นร้อยละ ๓๑.๕๑

 

สรุปผลการวิเคราะห์เกี่ยวกับทัศนคติต่อความตายพบว่า

พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีทัศนคติต่อความตาย โดยรวมทุกด้านมาก (  = ๓.๐๘) และในแต่ละด้านได้แก่ ด้านความรู้สึก (  = ๓.๐๕) และด้านพฤติกรรม (  = ๓.๑๔) อยู่ในระดับดีมากส่วนด้านความรู้คิดอยู่ในระดับปานกลาง (  = ๓.๐๘)

 

ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบทัศนคติพบว่า

พบว่า โดยภาพรวมกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุ, เพศ, วุฒิการศึกษา, สถานภาพอาชีพ,

แตกต่างกัน มีทัศนคติต่อชีวิตและความตายโดยรวมทุกด้านแตกต่างกัน

๑) ด้านความรู้คิดพบว่า โดยภาพรวมกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุ, เพศ, วุฒิการศึกษา, สถานภาพอาชีพ,แตกต่างกันมีทัศนคติต่อชีวิตและความตายโดยรวมทุกด้านแตกต่างกัน

 

๒) ด้านความรู้สึกพบว่า โดยภาพรวมกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุ, เพศ, วุฒิการศึกษา, สถานภาพอาชีพ,แตกต่างกัน มีทัศนคติต่อชีวิตและความตายโดยรวมทุกด้านแตกต่างกัน

๓) ด้านพฤติกรรมพบว่า โดยภาพรวมกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุ,เพศ, วุฒิการศึกษา, สถานภาพอาชีพ,แตกต่างกัน มีทัศนคติต่อชีวิตและความตายโดยรวมทุกด้านแตกต่างกัน

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕