หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พัฒนา ใจหล้า
 
เข้าชม : ๑๖๘๗๒ ครั้ง
วิเคราะห์เกณฑ์การตัดสินทางพุทธจริยศาสตร์จากการสร้างเครื่องรางในสังคมไทย (ปรัชญา)
ชื่อผู้วิจัย : พัฒนา ใจหล้า ข้อมูลวันที่ : ๑๓/๐๓/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(ปรัชญา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระวิสิทธิ์ ฐิตวิสิทฺโธ
  วิโรจน์ วิชัย
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๒ มกราคม ๒๕๖๐
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

วิทยานิพนธ์ เรื่อง “วิเคราะห์เกณฑ์การตัดสินทางพุทธจริยศาสตร์จากการสร้างเครื่องรางในสังคมไทย” มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ ๑) เพื่อศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับการสร้างเครื่องรางในสังคมไทย  ๒) เพื่อศึกษาเกณฑ์การตัดสินทางพุทธจริยศาสตร์  และ ๓) เพื่อวิเคราะห์เกณฑ์การตัดสินทางพุทธจริยศาสตร์การสร้างเครื่องรางในสังคมไทย ผลการศึกษาพบว่า

แนวคิดการสร้างเครื่องรางในสังคมไทยมีมาช้านานและเชื่อว่ามีความขลังศักดิ์สิทธิ์ เมตตามหานิยม ค้าขายโชคลาภ กลับดวงพลิกชะตา และเลื่อนยศ เป็นอาทิ ในสังคมไทยเครื่องรางเป็นสิ่งที่นับถือและศักดิ์สิทธิ์สามารถให้แคล้วคลาดจากภยันตราย  เครื่องรางแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ (๑)  เครื่องรางตามธรรมชาติ เป็นสิ่งเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ โดยมีความเชื่อว่ามีความศักดิ์สิทธิ์คือเป็นวัตถุอาถรรพ์มีความศักดิ์สิทธิ์อยู่ในตัวมันเอง และ (๒) เครื่องรางที่มนุษย์สร้างขึ้น โดยนำวัตถุมาทำพิธีปลุกเสกด้วยเวทมนต์คาถาต่างๆ ให้เกิดเป็นของสิ่งศักดิ์มีอิทธิฤทธิ์

เกณฑ์การตัดสินทางพุทธจริยศาสตร์ คือ เป็นกระบวนการเพื่อแสวงหาคำตอบ เพื่อพัฒนาการแก้ไขให้ดีขึ้น และกระบวนการที่เข้าไปตัดสินเกณฑ์ทางพุทธจริยศาสตร์ว่า เหมาะ ไม่เหมาะ ถูก ผิด ดี ชั่ว ควร ไม่ควร ในกรณีของการสร้างเครื่องรางในสังคมไทยที่จะต้องวิเคราะห์หลักกระบวนการตัดสินทางพุทธจริยศาสตร์ว่าควรหรือไม่ควร ถูกหรือผิด นั้น เกณฑ์พุทธจริยศาสตร์ที่ว่าการสร้างเครื่องรางไม่เหมาะมีอยู่หลายประการ คือ

(๑) ไม่เหมาะต่อหลักศีล คือ จุลศีล  มัชฌิมศีล   มหาศีล

(๒) ไม่เหมาะต่อหลักมิจฉาอาชีวะ ในฐานะผู้ทำเครื่องรางเป็นพระสงฆ์

(๓) ไม่เหมาะต่อหลักวิชา เพราะเป็นเดรัจฉานวิชาไม่มุ่งไปสู่นิพพาน

(๔) ไม่เหมาะหรือว่าไม่ควรต่อหลักปฏิบัติมุ่งสู่เป้าหมายเพื่อพระนิพพาน

(๕) ไม่เหมาะต่อหลักอัตตัญญุตา คือ อันเป็นที่พึ่งต่อตนเอง การเป็นประทีปส่องสว่าง

จึงสรุปได้ว่า แม้เครื่องรางที่ว่าไม่เหมาะ ไม่ควรดังกล่าวนั้น ในเมื่อสังคมไทยยังมีคนสนใจอยู่ ดังนั้น การสร้างเครื่องรางจึงเป็นกุศโลบายในการเข้าถึงพระพุทธศาสนา กล่าวคือ ให้รักษาศีล ๕เพื่อให้เครื่องรางขลังขึ้น นี้แสดงว่าให้เครื่องรางอยู่ในฐานะเป็นสัญลักษณ์ คือ ให้คำสอนพร้อมกำกับการยึดถือเครื่องรางนั้นด้วย   เป็นเสริมกำลังใจสำหรับคนที่ยังมีปัญญาไม่มั่นคง

ส่วนการใช้เกณฑ์ทางพุทธจริยศาสตร์มาวิเคราะห์ คนที่จิตใจไม่เข้มแข็ง แต่ยังต้องการที่พึ่งอยู่ เครื่องรางโดยมีคำสอนกำกับสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ในสังคมไทย อย่างไรก็ตาม เครื่องรางไม่ใช่ที่พึ่งอันประเสริฐในทางพระพุทธศาสนาเพราะไม่สามารถหลุดพ้นจากความทุกข์อย่างแท้จริง

 

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕