หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระวุฒิชัย ชยวุฑฺโฒ (ศิริน้อย)
 
เข้าชม : ๒๐๐๑๘ ครั้ง
ศึกษาวิธีการสอนพุทธธรรมแบบวัชรยานของ เชอเกียม ตรุงปะ รินโปเช (ปรัชญา)
ชื่อผู้วิจัย : พระวุฒิชัย ชยวุฑฺโฒ (ศิริน้อย) ข้อมูลวันที่ : ๑๓/๐๓/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(ปรัชญา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูสุนทรสังฆพินิต
  วิโรจน์ วิชัย
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๒ มกราคม ๒๕๖๐
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

 

วิทยานิพนธ์ เรื่อง “ศึกษาวิธีการสอนพุทธธรรมแบบวัชรยานของ เชอเกียม ตรุงปะ รินโปเช” มีวัตถุประสงค์ ๒ ประการ คือ ๑)  เพื่อศึกษาพุทธวิธีการสอนพุทธธรรมของพระพุทธเจ้า และ ๒) เพื่อศึกษาวิธีการสอนพุทธธรรมของ เชอเกียม ตรุงปะ รินโปเช  ผลจากการวิจัยนี้พบว่า

วิธีการเผยแผ่พุทธธรรมในครั้งพุทธกาล พระพุทธเจ้าทรงใช้วิธีการเผยแผ่พระศาสนาแบบประยุกต์เข้ากับสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ทางสังคม จารีต ประเพณีในแต่ละท้องถิ่นที่มีความแตกต่างกัน พระองค์ทรงมีหลักการสอน เช่น แยกแยะกลุ่มเป้าหมาย มีลีลาการสอน  เทคนิคการสอน กลวิธีและกุศโลบายประกอบการสอนต่างๆ ได้อย่างยอดเยี่ยมจนได้รับการยกย่องว่าเป็นนักสอนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดและเป็นแบบอย่างให้พระสงฆ์ได้ใช้ถ่ายทอดหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนา

 

การวิเคราะห์วิธีการสอนพุทธธรรมของเชอเกียม ตรุงปะ พบว่า ท่านเป็นวัชราจารย์สมัยใหม่ ที่สามารถนำความรู้ในพระพุทธศาสนาแบบวัชรายานไปเผยแผ่ในดินแดนตะวันตก ดังจะเห็นได้ว่าวิธีการสอนพุทธธรรมและการตีความพุทธธรรมของท่านจึงดูค่อนข้างที่จะแปลกและแหวกแนวไปจากจารีตเดิมมาก โดยทั้งนี้อาจเป็นเพราะท่านได้รับการศึกษาแบบตะวันตกในครั้งที่เคยศึกษาที่ มหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ด ประเทศอังกฤษ ท่านจึงมีแนวคิดว่าการที่ท่านทิ้งรูปแบบภายนอกที่เป็นสัญญลักษณ์ทางศาสนาออกไป แต่ในขณะเดียวกันสิ่งที่ท่านไม่เคยละทิ้งเลยนั้นก็คือ สัจธรรม ด้วยวิธีการสอนพุทธธรรมที่เน้นประสบการณ์โดยตรงและเทคนิคการสอนพุทธธรรมที่ร่วมสมัยอย่าง เช่น แนวคิดเรื่องการปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัย สมาธิภาวนา วิสัยทัศน์ทางสังคม การสอนพุทธธรรมในรูปแบบของศิลปิน เป็นต้น เชอเกียม ตรุงปะยังเป็นผู้ที่ประยุกต์พุทธศาสนาให้เข้ากับสังคมตะวันตก

จึงก่อให้เกิดวิถีการดำรงชีวิตแบบใหม่ขึ้นในโลกตะวันตก จะเห็นได้ว่า เชอเกียม ตรุงปะ ใช้หลักวิธีการสอนที่คล้ายกับพระพุทธเจ้า เช่น  การใช้อุปกรณ์การสอน การทำเป็นตัวอย่างหรือสาธิตให้ดู การใช้ภาษา และใช้คำในความหมายใหม่ การรู้จักจังหวะและโอกาส ความยืดหยุ่นในการใช้วิธีการสอน เป็นต้น ซึ่งเป็นรูปแบบและแนวทางที่ใช้จนกลายเป็นเอกลักษณ์ของท่าน จึงเป็นการเผยแผ่พุทธธรรมที่สอดคล้องกับพุทธวิธีในการสอนอย่างแท้จริง อย่างไรก็ตาม วิธีการสอนของท่านได้มีการวิพากษ์วิจารณ์ทั้งในขณะที่ท่านดำรงชีพอยู่และหลังยุคของท่านอย่างน่าสนใจทีเดียว

 

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕