หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระกิตติพงษ์ จิตฺตคุตฺโต (หอมดอก)
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๕ ครั้ง
การศึกษาเปรียบเทียบแนวคิดการปกครองระบอบประชาธิปไตยต้นแบบกับแนวคิดประชาธิปไตยของไทย (ปรัชญา)
ชื่อผู้วิจัย : พระกิตติพงษ์ จิตฺตคุตฺโต (หอมดอก) ข้อมูลวันที่ : ๑๓/๐๓/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(ปรัชญา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหากฤษณะ ตรุโณ
  ประเวศ อินทองปาน
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

    งานวิจัย เรื่อง “การศึกษาเปรียบเทียบแนวคิดการปกครองระบอบประชาธิปไตยต้นแบบกับแนวคิดประชาธิปไตยของไทย” โดยผู้วิจัยได้แบ่งประเด็นที่สำคัญในการศึกษาออกเป็น ประเด็น คือ () เพื่อศึกษาแนวคิดปรัชญาการปกครองระบอบประชาธิปไตยต้นแบบ  (๒) เพื่อศึกษาแนวคิดปรัชญาการปกครองระบอบประชาธิปไตยของไทย  (๓) เพื่อศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบแนวคิดปรัชญาการปกครองแบบประชาธิปไตยต้นแบบ กับแนวคิดปรัชญาการปกครองระบอบประชาธิปไตยของไทย จากการวิจัยพบว่า

             ประชาธิปไตยต้นแบบ  (Ideal Democracy) หมายถึง  สังคมประชาธิปไตยแบบเสรี คือ สังคมที่ยอมรับความแตกต่าง ความขัดแย้งและการโต้แย้งกันบนพื้นฐานของสันติวิธี บนพื้นฐานการยอมรับในความเสมอภาค เสรีภาพ และความเป็นพี่เป็นน้องกัน ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย ประกอบด้วย ๓ ประเภท คือ ๑. ประชาธิปไตยโดยตรง  ๒. ประชาธิปไตยโดยอ้อมแบบผ่านผู้แทน  ๓. ประชาธิปไตยแบบประชาชนมีส่วนกำหนดด้วยตนเอง  

             ประชาธิปไตยแบบไทย (Thai Democracy) หมายถึง  การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล มีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด และมีหลักการพื้นฐานของประชาธิปไตย  ที่คุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคล  อำนาจที่ประชาชนเป็นเจ้าของ แต่ในทางปฏิบัติประชาชนได้มอบหมายให้ตัวแทนเป็นผู้ใช้แทน

ประชาธิปไตยต้นแบบและประชาธิปไตยแบบไทย มีความเหมือนกัน คือ ประชาธิปไตยที่มีหลักการให้สิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาค  ประชาชนเป็นผู้มีสิทธิเสรีภาพในการออกเสียงการเลือกตั้งผ่านผู้แทน  ความแตกต่างคือสังคมไทยมีพระมหากษัตริย์เป็นพระประมุขแต่อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ และความแตกต่างยังอยู่บนเงื่อนไขเศรษฐกิจที่ไม่ได้เป็นสังคมอุตสาหกรรมแต่เป็นสังคมเกษตรกรรม และสังคมที่ประชาชนมีการปฏิบัติบนจารีตประเพณี ควบคู่กับการมีกฎหมายเป็น
ลายลักษณ์อักษร

 

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕