หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระอุดร ฐานรโต (กิ่งแก้ว)
 
เข้าชม : ๑๖๕๙๐ ครั้ง
การศึกษาเปรียบเทียบเรื่องความตายตามทัศนะของพุทธทาสภิกขุและอัลแบร์ กามูส์
ชื่อผู้วิจัย : พระอุดร ฐานรโต (กิ่งแก้ว) ข้อมูลวันที่ : ๑๓/๐๓/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(ปรัชญา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระยุทธนา อธิจิตฺโต
  สุรพงษ์ คงสัตย์
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๘
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

              การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการศึกษา คือ (๑) ศึกษาความตายตามทัศนะของพุทธทาสภิกขุ (๒) ศึกษาความตายตามทัศนะของอัลแบร์ กามูส์ และ (๓) ศึกษาเปรียบเทียบความตายของพุทธทาสภิกขุและอัลแบร์ กามูส์ และการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงเอกสาร โดยศึกษาข้อชั้นปฐมภูมิและข้อมูลชั้นทุติยภูมิ แล้วนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบตามหลักวิชาการซึ่งผลการวิจัยพบว่า 

             พุทธทาสภิกขุ  มองว่าชีวิตคือการปฎิบัติหน้าที่ความตายคือจิตว่างจากอุปาทาน ดังนั้น ความตายไม่มี องค์ประกอบของความตายคือกาย จิต วิญญาณ ประเภทคือตายตามธรรมชาติ และตายผิดธรรมชาติ คุณค่าของความตายมีทั้งภายในและภายนอก ชีวิตหลังความตายขึ้นอยู่กับกิเลส ถ้าจิตมีกิเลสก็จะเวียนว่ายตายเกิดตามหลักของสังสารวัฏ

 

   อัลแบร์  กามูส์ (Albert Camus) มีความเห็นว่าชีวิตคือการแสดงของตัวละครให้เห็น

ภาพการดำเนินชีวิตประจำวันของมนุษย์และเป็นนามธรรม ความตายเป็นสสารนิยม องค์ประกอบของความตายเป็นการสร้างสารัตถะขึ้นมา เพื่อสร้างคุณค่าของตนเอง อัลแบร์ กามูส์ไม่ได้กล่าวถึงประเภทของความตายโดยตรง เพียงแต่ว่าสภาวะของมนุษย์ไม่มีสารัตถะที่แน่นนอนตายตัว และมนุษย์มีความผูกพันกับเวลาและความสุขอันเป็นคุณค่าที่แสดงความสัมพันธ์มนุษย์กับโลก และสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัวมนุษย์เองเท่านั้น

             ชีวิตมนุษย์ตามทัศนะของพุทธทาสภิกขุกับอัลแบร์ กามูส์ มีความสอดคล้องกัน คือ การทำประโยชน์ให้ดีที่สุด เป็นหน้าที่ของคนที่มีชีวิตอยู่ และมีความแตกต่างกันตามธรรมชาติ ความตายเป็นสิ่งหนึ่งของชีวิตและอัลแบร์ กามูส์กล่าวว่าความตายเป็นนามธรรม ใช้จุดหมาย ไม่มีแก่นสาร องค์ประกอบของความตายคือ กาย จิต วิญญาณ และอัลแบร์ กามูส์เห็นว่าย่อมไม่ตาย แต่อัลแบร์ กามูส์ กล่าวว่า  การทำหน้าที่ของมนุษย์ไม่มีที่สิ้นสุด

          โดยสรุป ความตายตามทัศนะทั้ง  ๒ ท่าน เป็นเรื่องนามธรรมไม่มีตัวตนเป็นการเข้ามายึดถือโดยจิตของมนุษย์เท่านั้นและทำหน้าที่ของความเป็นมนุษย์เท่านั้นที่อยู่บนโลกและตอบสนองความต้องการตามสภาพแวดล้อมรอบๆ ตัวเองในแต่ละวันสุดท้ายแล้วมนุษย์ต้องตายเป็นต้น

 

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕