หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » สุภาพ สิทธิพานิช
 
เข้าชม : ๒๐๐๑๖ ครั้ง
แนวทางการประยุกต์ใช้หลักฆราวาสธรรมในการทำงานของบุคลากรสำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชื่อผู้วิจัย : สุภาพ สิทธิพานิช ข้อมูลวันที่ : ๑๔/๐๓/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  เทพประวิณ จันทร์แรง
  พระครูสิริปริยัตยานุศาสก์
  -
วันสำเร็จการศึกษา : 2560
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง แนวทางการประยุกต์ใช้หลักฆราวาสธรรมในการทำงานของบุคลากร
สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
นี้ มีวัตถุประสงค์ของงานวิจัย ๓ ประการ ๑. เพื่อศึกษาหลักฆราวาสธรรมในพระพุทธศาสนา . เพื่อศึกษาบริบทการทำงานของสำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  ๓. เพื่อศึกษาแนวทางการประยุกต์ใช้หลักฆราวาสธรรมในการทำงานของบุคลากรสำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

การดำเนินการวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative) Research) เก็บข้อมูลจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key Informant) มีผู้บริหารและบุคลากรสำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ จำนวน ๒๒ คน โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) และการสนทนากลุ่มย่อย ผลการวิจัยพบว่า  

หลักฆราวาสธรรมในพระพุทธศาสนา คือ ธรรมสำหรับครองเรือนหรือธรรมสำหรับผู้อยู่ครองเรือน มี ๔ อย่าง คือ สัจจะ ความซื่อสัตย์  ทมะ การฝึกตน  ขันติ ความอดทนอดกลั้น จาคะ การเสียสละ การแบ่งปัน มีน้ำใจ  

บริบทการทำงานของบุคลากรสำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นองค์กรที่มีภารกิจมุ่งเน้นให้บริการวิชาการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศแก่นักศึกษา บุคลากร ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย เพื่อให้สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้เกิดประโยชน์ต่อการปฏิบัติงาน และงานการเรียนการสอนในทุกระดับให้มีประสิทธิภาพ

แนวทางการประยุกต์ใช้หลักฆราวาสธรรมในการทำงานของบุคลากรสำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ ผู้วิจัยได้นำเอาวิสัยทัศน์ พันธกิจ และค่านิยมร่วม ในการบริหารจัดการองค์กร เพื่อทราบบริบทและปัญหาในการทำงานของบุคลากร พร้อมทั้งวิเคราะห์หลักฆราวาสธรรม ๔ สำหรับเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหา พบว่า พันธกิจที่ให้บริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและหน่วยสนับสนุนพันธกิจ ส่วนใหญ่ยึดหลักขันติ ความอดทน เนื่องจากมีการติดต่อประสานงานกับบุคคลภายนอกองค์กรที่มีพฤติกรรมแตกต่างกัน บุคลากรต้องจัดการกับข้อร้องเรียนของผู้รับบริการด้วยความอดทน หลักสำคัญอีกประการหนึ่งคือ หลักจาคะ ความเสียสละ สำนักฯ สนับสนุนนโยบายและพันธกิจระดับมหาวิทยาลัย ดังนั้น บุคลากรในองค์กรถือได้ว่ามีความเสียสละอย่างสูง มิเช่นนั้น การทำงานจะไม่บรรลุเป้าหมายและไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ผู้บริหารควรให้ความสำคัญและทบทวนกิจกรรมการพัฒนาคุณภาพจิตใจของบุคลากรโดยยึดหลักฆราวาสธรรม ๔ อย่างต่อเนื่องต่อไป

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕