หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » เจ้าอธิการประคอง อธิชวโน (เชิดสูงเนิน)
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๗ ครั้ง
การศึกษาอริยมรรค ๘ ที่เหมาะสมกับการพัฒนาเยาวชนไทย
ชื่อผู้วิจัย : เจ้าอธิการประคอง อธิชวโน (เชิดสูงเนิน) ข้อมูลวันที่ : ๑๕/๐๓/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระยุทธนา อธิจิตฺโต
  พระมหาสุพัตร์ วชิราวุโธ
  เกียรติศักดิ์ นาคประสิทธิ์
วันสำเร็จการศึกษา : มีนาคม 2558
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การศึกษาอริยมรรค ๘ ที่เหมาะสมกับการพัฒนาเยาวชน มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ (๑)  เพื่อศึกษาหลักอริยมรรค ๘ ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท  (๒)  เพื่อศึกษาสภาพปัญหาปัจจุบันของเยาวชนไทย  (๓)  เพื่อศึกษาการนำหลักอริยมรรค ๘  มาพัฒนาเยาวชนไทย  ผลการวิจัยพบว่า

             หลักอริยมรรค ๘ ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท เป็นหลักธรรมการแสวงหาความจริงหรือสัจธรรมของพระพุทธเจ้า มรรคคือ แนวทางในการปฏิบัติ หรือแนวทางการดําเนินชีวิตมี ๘ ด้าน คือ สัมมาทิฐิ (ความเห็นชอบ) สัมมาสังกัปปะ (ความคิดชอบ)  สัมมาวาจา (การพูดชอบ) สัมมากัมมันตะ (การทํางานชอบ)  สัมมาอาชีวะ (การประกอบอาชีพชอบ)  สัมมาสติ (ความระลึกชอบ) และสัมมาสมาธิ  (ความตั้งมั่นชอบ)

             ปัจจุบันเยาวชนไทย เยาวชนค่อนข้างเน้นหนักวัตถุนิยมมากกว่าที่จะแสวงหาสัจธรรม ก่อให้เกิดปัญหาขึ้น ลักษณะของปัญหาเกิดจากครอบครัว เพื่อน และสังคมรอบข้าง  และเน้นไปในทางมิจฉาทิฐิในด้านตรงข้ามกับอริยมรรค ๘  กล่าวคือ (๑)  มิจฉาทิฐิ ความไม่รู้ในทุกข์ และไม่เห็นความเป็นจริงจึงเกิดการกระทำความชั่ว  (๒) มิจฉาสังกัปปะ คือ ความดำริในทางกาม  มีเพศสัมพันธ์ก่อนวันอันควร  พยาบาทปองร้ายผู้อื่นและเบียดเบียนซึ่งกันและกัน  (๓) มิจฉาวาจา การใช้วาจาทำร้ายผู้อื่นให้เจ็บซ้ำน้ำใจ  (๔) มิจฉากัมมันตะ คือ ทำการงานไม่ชอบ โดยไม่ประกอบการงานที่ถูกประเพณี ผิดกฎหมาย ผิดศีลธรรม (๕) มิจฉาอาชีวะ คือ การเลี้ยงชีวิตไม่ชอบ ได้แก่ ไม่เว้นจากการเลี้ยงชีพในทางที่ผิด  ติดการพนัน (๖) มิจฉาวายามะ คือ ไม่มีความเพียรในทางที่ชอบ  (๗) มิจฉาสติ คือ ไม่ระลึกชอบ ได้แก่ ไม่ระลึกวิปัฏฐาน การไม่ระลึกในกาย  เวทนา  จิต และธรรม (๘)  มิจฉาสมาธิ คือ ไม่ตั้งใจชอบ ไม่ทำจิตให้สงบ ไม่ระงับจากกิเลสเครื่องเศร้าหมองทั้งปวง

             การนำหลักอริยมรรค ๘ มาพัฒนาเยาวชนไทย อันประกอบไปด้วย (๑) การพัฒนาเยาวชนที่เหมาะสมตามหลักอริยมรรค ๘ ตามพระพุทธศาสนาเถรวาทออกเป็น ๘ ประเด็น คือ (๑) การใช้ปัญญาพิจารณาความดีความชั่ว  (๒) การปฏิบัติตามหลักสัมมาสังกัปปะ ความดำริในการออกจากกาม (๓) การปฏิบัติตามหลักสัมมาวาจา เจตนางดเว้นจากการพูดเท็จ พูดส่อเสียด ๔) การปฏิบัติตามหลักสัมมากัมมันตะ การกระทำชอบหรือการงานชอบ คืองดเว้นจากการฆ่า หรือ การเบียดเบียน (๕) การปฏิบัติตามหลักสัมมาอาชีวะ คือ การประกอบอาชีพที่สุจริต การทำมาหาเลี้ยงชีพในทางสุจริตไม่หลอกลวงหรือโกงคนอื่น (๖) การปฏิบัติตามหลักสัมมาวายามะ คือ เพียรชอบหรือพยายามชอบ เพียรพยายามป้องกันไม่ให้บาปเกิดขึ้นภายในจิต เพียรเพื่อจะละหรือกำจัดอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วให้หมดไป (๗) การปฏิบัติตามหลักสัมมาสติ คือ ให้ใช้สติเป็นเครื่องพิจารณา ๔ ฐาน คือ กาย เวทนา จิต และธรรม เพื่อกำจัดอภิชฌาและโทมนัสออกจากจิต (๘) การปฏิบัติตามหลักสัมมาสมาธิ คือ ให้ปฏิบัติตามหลักกัมมัฏฐาน ๔๐ ฝึกจิตให้ละซึ่งกิเลส  แนวทางการปฏิบัติพัฒนาเยาวชนตามอริยมรรค ๘ คือ ๑)  โดยวิธี ละมุนละม่อม
๒) โดยวิธีรุนแรง ๓) ฝึกผสมทั้งวิธี ละมุนละม่อมและวิธีรุนแรงและผลที่ได้รับจากการปฏิบัติที่เหมาะสมของเยาวชนตามหลักอริยมรรค ๘ จะทำให้เยาวชนในสังคมไทยมีเป้าหมายที่เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปคือ เยาวชนเป็นคนดีและคน เก่งและเป็นที่ยกย่องในสังคม

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕