หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พรศิริ ธนะสังข์
 
เข้าชม : ๒๐๐๓๑ ครั้ง
วิเคราะห์เปรียบเทียบอาบัติของภิกษุกับภิกษุณีในพระพุทธศาสนาเถรวาท : ศึกษากรณีสังฆาทิเสส
ชื่อผู้วิจัย : พรศิริ ธนะสังข์ ข้อมูลวันที่ : ๑๕/๐๓/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูประวิตรวรานุยุต
  พูนชัย ปันธิยะ
  -
วันสำเร็จการศึกษา : พฤศจิกายน 2559
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์นี้วิเคราะห์เปรียบเทียบอาบัติของภิกษุกับภิกษุณี ในพระพุทธศาสนาเถรวาท ศึกษากรณีสังฆาทิเสสมีวัตถุประสงค์๓ข้อคือ ๑) เพื่อศึกษาสังฆาทิเสสของภิกษุในพระพุทธศาสนาเถรวาท๒) เพื่อศึกษาสังฆาทิเสสของภิกษุณี ในพระพุทธศาสนาเถรวาท๓)เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบ สังฆาทิเสสของภิกษุกับภิกษุณี

    ผลการวิจัยพบว่าอาบัติสังฆาทิเสสของภิกษุในพระพุทธศาสนาเถรวาท เป็นอาบัติที่หนักเรียกว่า ครุกาบัติ แต่ยังเป็นสเตกิจฉา แก้ไขได้ และสังฆาทิเสสทั้งหมดนั้นเป็นหมวดอาบัติที่จำต้องอาศัยสงฆ์เพื่อออกจากอาบัติ ตั้งแต่ต้นจนตลอด คือ เริ่มต้นอยู่ปริวาสจะต้องขอจากสงฆ์ ต่อจากนั้นประพฤติมานัตย่อมต้องอาศัยสงฆ์เป็นผู้ให้ ถ้ามีมูลายปฏิกัสสนา ชักเข้าอาบัติเดิม ย่อมสำเร็จด้วยสงฆ์อีกจนถึงที่สุดคือขออัพภาน ในหมวดอาบัติสังฆาทิเสสทั้ง ๑๓ สิกขาบทจำต้องปรารถนาสงฆ์ในกรรมตั้งแต่เบื้องต้นและกรรมที่เหลือทั้งหมดแม้กระทั่งภิกษุณี ย่อมต้องอาศัยสงฆ์เช่นเดียวกัน

    สังฆาทิเสสฝ่ายภิกษุณีมีจำนวน ๑๗ สิกขาบทมีมากกว่าฝ่ายภิกษุถึง ๔ สิกขาบทสำหรับภิกษุณีต้องอยู่มานัต ๑๕ ราตรี จะปิดอาบัติไว้หรือมิไม่ก็ตาม พระวินัยกำหนดให้ขอและสมาทานมานัตได้เลย ถ้าต้องการอยู่แบบเก็บวัตรก็พึงเก็บวัตร และเก็บมานัตก่อนอรุณขึ้น จึงค่อยสมาทานวัตรประพฤติมานัตอาศัยสงฆ์เช่นกัน แต่ต้องทำสังฆกรรมในสงฆ์ ๒ ฝ่ายเมื่อนำมาเปรียบเทียบแล้ว

    การเปรียบเทียบสังฆาทิเสสของภิกษุกับภิกษุณี ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้ว ต้องอยู่ปริวาสกรรม เมื่ออยู่ปริวาส ๓ ราตรี ควรแก่มานัตนับราตรีอีก ๖ ราตรี จึงอัพภานแต่สำหรับภิกษุณีต้องอยู่มานัต ๑๕ ราตรี กำหนดให้ขอและสมาทานมานัตได้เลยไม่ต้องอยู่ปริวาสเหมือนภิกษุ แต่การปรับอาบัติต้องอาศัยหมู่สงฆ์เช่นเดียวกัน เพียงแต่ภิกษุณีต้องอาศัยสงฆ์ ๒ ฝ่าย ส่วนภิกษุทำสังฆกรรมฝ่ายภิกษุสงฆ์อย่างเดียว เป็นการลงโทษเพื่อให้ลดมานะทิฐิทางใจเช่นเดียวกัน เพื่อความบริสุทธิ์แห่งศีล เมื่อกล่าวตามพุทธประสงค์แล้วแม้จำนวนสิกขาบทแตกต่างกันแต่การบัญญัติเพื่อเป้าหมายเดียวกัน คือประโยชน์ ๑๐ ประการ เพื่อความเป็นอยู่และกฎระเบียบของสงฆ์ที่ดำรงไว้ซึ่งภาวะเครื่องเกื้อหนุนให้ภิกษุและภิกษุณีปฏิบัติตามพระวินัยอย่างได้ผลดีและรักษาพระศาสนาไว้ได้

ดาวน์โหลด

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕