หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » ศราพร หาญยุทธกร
 
เข้าชม : ๑๖๗๖๐ ครั้ง
การศึกษาผลของรูปแบบการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน ตามแนวทางของพระภาวนาเขมคุณ วิ. (สุรศักดิ์ เขมรํสี)
ชื่อผู้วิจัย : ศราพร หาญยุทธกร ข้อมูลวันที่ : ๑๕/๐๓/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระสุธีธรรมานุวัตร
  แม่ชีกฤษณา รักษาโฉม
  -
วันสำเร็จการศึกษา : มีนาคม 2559
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ ๓ ข้อ (๑) เพื่อศึกษาการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานในพระพุทธศาสนาเถรวาท (๒) เพื่อศึกษาการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานตามแนวทางของพระภาวนาเขมคุณ วิ. (สุรศักดิ์ เขมรํสี) (๓) เพื่อศึกษาผลของรูปแบบการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานที่มีต่อพุทธศาสนิกชนที่ปฏิบัติตามแนวทางของพระภาวนาเขมคุณ วิ. (สุรศักดิ์ เขมรํสี) เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้การศึกษาจากเอกสารและการศึกษาภาคสนามด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก

               ผลจากการวิจัยพบว่า มุ่งศึกษาถึงความหมายของวิปัสสนากัมมัฏฐานในพระไตรปิฎก เช่น หมายถึงการรู้ในอริยสัจ ๔ ประการ คือ รู้ทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ ความดับทุกข์ และหนทางดับทุกข์ เป็นต้นและความหมายที่นักเขียนประพันธ์ไว้ เช่น พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ) โดยใจความ ก็คือ หมายถึง การรู้แจ้ง เห็นจริงในสรรพสิ่งและสภาวะธรรมทั้งปวง โดยปัญญาอันแจ่มแจ้ง บริสุทธ์ ปราศจากมลทินใดๆ

               ประเภทของสมถะและวิปัสสนากรรมฐานที่ปรากฏในพระไตรปิฎก เช่น การปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน คือ อุบายทำให้เกิดปัญญา มีวิปัสสนาภูมิ ๖ เป็นอารมณ์กรรมฐาน การปฏิบัติกัมมัฏฐานมีหลักปฏิบัติ ๔ แบบ คือ ๑) วิธีการเจริญสมถะนำหน้าวิปัสสนา ๒) วิธีการเจริญวิปัสสนานำหน้าสมถะ ๓) วิธีการเจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป ๔) วิธีการปฏิบัติเมื่อจิตเกิดสภาวะแห่งวิปัสสนูปกิเลสต้องกำหนดรู้ด้วยปัญญา และการปฏิบัตินี้ต้องปฏิบัติกัมมัฏฐานตามหลักมหาสติปัฏฐาน ๔ คือ กาย เวทนา จิต ธรรม

               ศึกษาการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานตามแนวทางของพระภาวนาเขมคุณ วิ. (สุรศักดิ์ เขมรํสี) พบว่า วิปัสสนากัมมัฏฐานล้วน ๆ จัดเข้าในสัมมาสติ ระลึกชอบ ได้แก่ ระลึกชอบในสติปัฏฐาน ๔ มีดังนี้ ๑) กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือการพิจารณาร่างกายของตนเองและบุคคลอื่น ทั้งที่เป็นภายใน ทั้งที่เป็นภายนอก ๒) เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือการพิจารณาเวทนาที่เป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง ๓) จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือการพิจารณาเห็นจิตในจิต ๔) ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือการพิจารณาตามเห็นธรรม ทั้งที่เป็นกุศลและอกุศลที่บังเกิดกับใจ

               ศึกษาผลของรูปแบบการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานที่มีต่อพุทธศาสนิกชนที่ปฏิบัติตามแนวทางของพระภาวนาเขมคุณ วิ. (สุรศักดิ์ เขมรํสี) พบว่า มี ๕ ขั้นตอนการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน คือ ขั้นตอนที่ ๑ กำหนดรู้บัญญัติ  ขั้นตอนที่ ๒ กำหนดรู้ปรมัตถ์ เจาะจง (เฉพาะที) ขั้นตอนที่ ๓ กำหนดรู้ปรมัตถ์ทั่วไป ขั้นตอนที่ ๔ รู้ ละ วาง ขั้นตอนที่ ๕ วิมุตติ คือ สภาพความหลุดพ้น

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕