หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » สุภาพ มั่งสันเทียะ
 
เข้าชม : ๒๐๐๒๑ ครั้ง
การศึกษาวิเคราะห์การแก้ปัญหาความโกรธในสังคมปัจจุบันตามหลักพระพุทธศาสนา
ชื่อผู้วิจัย : สุภาพ มั่งสันเทียะ ข้อมูลวันที่ : ๑๕/๐๓/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระเมธีสุตาภรณ์
  ประสพฤกษ์ รัตนยงค์
  เสฐียร ทั่งทองมะดัน
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์เล่มนี้ มีวัตถุประสงค์ ๓ ข้อ ๑) เพื่อศึกษาการแก้ปัญหาความโกรธตามหลักพระพุทธศาสนา  ๒) เพื่อศึกษาปัญหาที่เกิดจากความโกรธในสังคมปัจจุบัน และ ๓) เพื่อศึกษาวิเคราะห์การแก้ปัญหาความโกรธในสังคมปัจจุบันตามหลักพระพุทธศาสนา เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร

จากการศึกษาพบว่า ความโกรธ หมายถึง ความปองร้าย ความมุ่งร้าย ความขัดเคือง ความขุ่นเคือง ความพยาบาทแห่งจิต ความประทุษร้ายในใจ เมื่อความโกรธเกิดขึ้น ย่อมเผาไหม้จิตใจให้เกิดความเร่าร้อน ส่งผลกระทบต่อการคิด พูด และทำ ความโกรธสามารถแก้ไขได้ด้วยเมตตา ศีล ขันติ โสรัจจะ และด้วยปัญญา หลักธรรมเหล่านี้ สามารถนำมาใช้เพื่อละความโกรธตามหลักพระพุทธศาสนาได้

ปัญหาสังคมที่เกิดจากความโกรธของคนในปัจจุบัน กำลังประสบกับปัญหา อาชญากรรม ปล้นฆ่า การลักทรัพย์ผู้อื่น หลอกลวง ฉ้อโกง คอร์รัปชั่น ปัญหายาเสพติด ปัญหาเศรษฐกิจ สาเหตุของปัญหาต่าง ๆ เริ่มที่ตัวบุคคลเป็นส่วนใหญ่ เป็นเรื่องของการที่บุคคลมุ่งจะเสริมสร้างสถานของตนเองให้เป็นผู้มีอำนาจในที่สุด ก็นำไปสู่ความ โลภ ความโกรธ ความหลง และนำไปสู่สังคมที่กว้างขึ้นยิ่งขึ้นไป ความโกรธเกิดขึ้นแล้ว ก่อให้เกิดการละเมิดศีล ๕ ซึ่งส่งผลกระทบให้บุคคลผู้กระทำและสังคมต้องเดือดร้อน เมื่อมองในแง่ของวงจรปฏิจจสมุปบาท คือ กิเลส กรรม วิบาก จะพบว่า กิเลสคือความโกรธเป็นเหตุให้โกรธได้ในทางที่ผิดศีลธรรม กรรมเป็นส่วนของการกระทำทุจริต และวิบากเป็นส่วนที่ต้องรับผลของการกระทำ เช่น ถูกจับดำเนินคดีตามกฎหมาย

จากการศึกษาหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา พบว่าองค์ธรรมที่สามารถนำมาปรับประยุกต์ใช้เป็นการแก้ปัญหาเรื่องความโกรธในสังคม คือ เมตตา ความปรารถนาดีต่อผู้อื่นเพื่อป้องกันความโหดร้าย ศีล เป็นข้อห้ามทางกาย วาจาเพื่อการไม่ละเมิดในทรัพย์สินและบุคคลที่เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้อื่น สันโดษ คือความยินดีพอใจในสิ่งของที่ตนมีและสิ่งที่ตนพึงได้ในทางชอบธรรมเป็นองค์ธรรมสำหรับปิดกั้นความโกรธ ความเห็นแก่ตัว ด้วยอำนาจตัณหาอุปาทาน ขันติ ความอดทน ต่อการอยากได้ของผู้อื่นและการทำชั่วในทางที่ผิดศีลธรรม ปัญญา ซึ่งเป็นองค์ธรรมที่สูงสุดทางพระพุทธศาสนาแบ่งเป็น ๓ ลักษณะ คือ กำหนดรู้โทษความโกรธ การพิจารณาและการละความโกรธ

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕