หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » ปัญจพัฒน์ สิริกรวัฒนกุล
 
เข้าชม : ๒๐๐๑๔ ครั้ง
อิทธิพลของพุทธจักรวาลวิทยาที่มีต่อการวางผังสร้างวัดในล้านนา
ชื่อผู้วิจัย : ปัญจพัฒน์ สิริกรวัฒนกุล ข้อมูลวันที่ : ๑๕/๐๓/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระโกศัยเจติยารักษ์
  สายัณห์ อินนันใจ
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๘ มีนาคม ๒๕๕๙
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

 

 

การวิจัยในครั้งนี้วัตถุประสงค์ ๑.เพื่อศึกษาแนวคิดจักรวาลวิทยาที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนา ๒. เพื่อศึกษาแนวคิดจักรวาลวิทยาตามคติของชาวล้านนา  ๓. เพื่อศึกษาอิทธิพลของพุทธจักรวาลวิทยาที่มีต่อการวางผังสร้างวัดในล้านนา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาจากพระไตรปิฎก อรรถกถา คัมภีร์ล้านนา เอกสาร ตำรา งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์เชิงลึก จากกลุ่มประชากรจำนวน ๘ รูป/คน ซึ่งคัดเลือกมาแบบเจาะจง ที่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิด้านพระพุทธศาสนาในล้านนา

 

ผลการวิจัยพบว่า

๑. แนวคิดจักรวาลวิทยาที่ปรากฎในคัมภีร์พระพุทธศาสนาพบว่าจักรวาลวิทยาส่วนใหญ่     นำมาจากพระสูตรที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ในพระไตรปิฎก บางพระสูตรตรัสเรื่องจักรวาลโดยตรง บางพระสูตรให้นัยแฝงไว้ ต้องอาศัยการตีความบ้าง พระสูตรที่ใช้ศึกษาเรื่องจักรวาลวิทยาในพระพุทธศาสนาก็มีอยู่ ๓ พระสูตร คือ อัคคัญญสูตร จักกวัตติสูตร และสุริยสูตร ทำให้ได้ทราบรายละเอียดของจักรวาลวิทยาในพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะประเด็นสำคัญเรื่องของความไม่เที่ยงของสังขารของสรรพสัตว์ สรรพสิ่งทั้งหลาย แม้จะยิ่งใหญ่เพียงใดก็ต้องแตกทำลายหมด เราควรจะเบื่อหน่าย คลายจากความยึดมั่นถือมั่น หมั่น ฝึกฝนอบรมตนให้พ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด ตาม                พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

 

             ๒. แนวคิดจักรวาลวิทยาตามคติของชาวล้านนา พบว่า แนวคิดจักรวาลวิทยา ได้รับการปลูกฝังผ่านการใช้อำนาจของพระมหากษัตริย์โดยมีการสร้างวัด สร้างบ้าน สร้างเมือง ตามแนวคิดจักรวาลวิทยา โดยเนื้อหาหลักของแนวคิดดังกล่าวเป็นคติในการสร้างความสมดุลระหว่างโลกมนุษย์กับจักรวาล โดยเชื่อว่าหาก จักรวาลเล็ก ซึ่งหมายถึง โลกเกิดความสมดุลกับจักรวาลใหญ่แล้วจะเกิดความอุดมสมบูรณ์และความสงบสุขขึ้นใน โลกมนุษย์

          . อิทธิพลของพุทธจักวาลวิทยาที่มีต่อการวางผังสร้างวัดในล้านนา พบว่า แนวคิดเรื่องจักรวาลวิทยาได้มีบทบาทอิทธิพลต่อการวางผังในการสร้างวัดในล้านนา กล่าวคือ การสร้างเจดีย์ หรือว่าพระธาตุถูกสร้างไว้ศูนย์กลางของวัด ส่วนแนวคิดเรื่องการสร้างวิหารนั้นต้องสร้างในทิศตะวันออกของเจดีย์ซึ่งถือว่าได้รับอิทธิพลมาจากพุทธจักวาลวิทยาเช่นกัน ดังนั้น การสร้างเจดีย์และการสร้างวิหารของชาวล้านนาจะนิยมสร้างตามแบบแนวคิดที่ได้รับอิทธิพลมาจากพุทธจักรวาลวิทยา

 

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕