หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูภาวนาปัญญาคุณ (สมพงษ์ กรุณา)
 
เข้าชม : ๑๖๗๖๔ ครั้ง
การพัฒนาจริยธรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาทของ สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดแพร่แห่งที่ ๑ (ธรรมยุต) วัดป่าเวียงทอง อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่
ชื่อผู้วิจัย : พระครูภาวนาปัญญาคุณ (สมพงษ์ กรุณา) ข้อมูลวันที่ : ๑๗/๐๓/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูภาวนาเจติยานุกิจ
  พระครูโสภณพัฒนานุยุต
  พระครูสังฆรักษ์บุญเสริม กิตฺติวณฺโณ
วันสำเร็จการศึกษา : มีนาคม 2559
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

             การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาหลักจริยธรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาท  ๒) เพื่อศึกษาการพัฒนาจริยธรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาทของสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดแพร่แห่งที่ ๑ (ธรรมยุต) วัดป่าเวียงทอง อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ ๓) เพื่อศึกษาแนวทางของการพัฒนาจริยธรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาทของสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดแพร่แห่งที่ ๑ (ธรรมยุต) วัดป่าเวียงทอง อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ เป็นการทำวิจัยในเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) จากการวิจัย        เชิงเอกสาร (Documentary Research) และทำการสัมภาษณ์เชิงลึก (In - depth Interview) จากกลุ่มตัวอย่างผู้เข้าปฏิบัติธรรมในสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดแพร่แห่งที่ ๑ (ธรรมยุต) วัดป่าเวียงทอง จำนวน ๑๖ คน อดีตเจ้าอาวาสผู้ก่อตั้งวัดป่าเวียงทอง จำนวน ๑ รูป และประชุมสนทนากลุ่มย่อย   (Focus Group Discussion) ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน ๕ รูป/คน ผลการศึกษาพบว่า

             ๑.หลักจริยธรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาทมี ๓ ระดับ คือ ๑)หลักการพัฒนาจริยธรรมระดับตนเปนลักษณะ  ที่ตองละเวนการประพฤติชั่วทางกายวาจาเรียกวา เบญจศีล ศีลแปลวา ปกติการรักษากายและวาจาใหเรียบรอย คนที่มีศีลเปนปกติจะไมถูกกิเลสครอบงํา ศีล ๕ จึงเปนพื้นฐานของศีลทั้งปวง ๒) หลักการพัฒนาจริยธรรมระดับกลาง เปนหลักคําสอนที่ควรประพฤติปฏิบัติ ใหกระทําดีเพราะมีเหตุมีผลในตัวเอง เปนหลักปฏิบัติที่สูงกวาหลักจริยศาสตรขั้นตนซึ่งไดแก่ กุศลกรรมบถ ๑๐               ๓) หลักการพัฒนาจริยธรรมระดับสูง เปนหลักและวิธีการปฏิบัติเพื่อใหบรรลุ  ความสิ้นทุกข อันเปน  จุดหมายสูงสุดของพุทธศาสนาเถรวาท ผูปฏิบัติจะตองอาศัยสติปญญาและความมานะพยายามอยาง    แรงกล้าจึงจะสําเร็จตามปรารถนา คืออริยสัจ ๔ ประการ

             ๒. การพัฒนาจริยธรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาทของสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดแพร่แห่งที่ ๑ (ธรรมยุต) วัดป่าเวียงทอง อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ พบว่า สำนักปฏิบัติประจำจังหวัดแพร่แห่งที่ ๑ วัดป่าเวียงทอง ได้นำเอาหลักไตรสิกขามาพัฒนาจริยธรรมให้กับผู้ปฏิบัติได้แก่ด้านศีล ด้านสมาธิ ด้านปัญญา ผู้ปฏิบัติได้นำหลักศีลไปปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ได้พัฒนาจริยธรรมด้านศีล มีการรักษาศีล ๕ และอุโบสถศีลในวันพระ วันสำคัญในทางพระพุทธศาสนา เช่น วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอัฏฐมีบูชา วันอาสาฬหบูชา โดยมีกิจกรรมคือ ๑) รักษาศีลในวันธัมมัสสวนะ ๒) ทำวัตรสวดมนต์ในวันธัมมัสสวนะ    /วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ๓) การรณรงค์รักษาศีล ๕ ปล่อยปลา ปล่อยสัตว์ ๔) การอบรมจริยธรรมในลด ละ เลิกอบายมุข พัฒนาจริยธรรมด้านสมาธิ โดยมีกิจกรรมคือ ๑) จัดอบรมปฏิบัติธรรมนำชีวิตให้แก่ผู้ปฏิบัติเป็นประจำทุกวันธัมมัสสวนะ ๒) จัดให้มีการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานให้แก่ผู้ปฏิบัติและผู้สนใจทั่วไปทุกวันธัมมัสสวนะ พัฒนาจริยธรรมด้านปัญญาโดยมีกิจกรรมคือ ๑) อบรมธรรมบรรยายให้กับผู้ปฏิบัติธรรมได้เข้าใจในการปฏิบัติที่ถูกต้อง ๒) เปิดเครื่องกระจายเสียงเกี่ยวกับวิธีการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานให้กับผู้ปฏิบัติธรรมทุกเช้าเย็น ๓) จัดให้ผู้ปฏิบัติวิปัสสนาให้ปฏิบัติธรรมด้วยตนเอง เพื่อให้ผู้ปฏิบัติได้ฝึกฝนให้เกิดความชำนาญในการปฏิบัติธรรม ๔) ทดสอบอารมณ์ในการปฏิบัติเพื่อให้เกิดสติและปัญญา ในส่วนผลการพัฒนาจริยธรรมในด้านศีลเป็นผู้มีศีลเพิ่มขึ้น สนใจในการสวดมนต์ สามารถนำศีลไปรักษาได้ สามารถลด ละ เลิกอบายมุขได้ในระดับหนึ่ง ส่วนด้านสมาธิหลังจากที่เข้าอบรมปฏิบัติธรรมนำชีวิตสามารถนำสมาธิไปปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานที่บ้านได้ และด้านปัญญาได้รับความรู้ความเข้าใจในหลักธรรมที่ถูกต้องจากการที่เข้ามาอบรมและได้ยินได้ฟังธรรมะที่ทางวัดเปิดอยู่เป็นประจำ ทำให้เกิดสติปัญญาสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันและแก้ไขปัญหาทำให้ความทุกข์เบาบางลงได้

             ๓.แนวทางการพัฒนาจริยธรรมของสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดแพร่แห่งที่ ๑ (ธรรมยุต) ควรมีนโยบายเกี่ยวกับการพัฒนาจริยธรรมแก่บุคคลกรของสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด ตลอดจนคณะสงฆ์ในเขตปกครอง ควรเน้นสร้างองค์ความรู้ด้านพระพุทธศาสนา ด้านวิปัสสนาหลักสูตร หลักการ วิธีการ นำไปประยุกต์ใช้การพัฒนาจริยธรรมแก่บุคคลากร พระวิปัสสนาจารย์ และผู้ปฏิบัติธรรมในองค์กรให้เป็นรูปธรรม ให้มีความยั่งยืนต่อการพัฒนาจริยธรรมต่อไป

ดาวน์โหลด

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕